921.Upskill/Reskill องค์กรด้วย Appreciative Inquiry



Upskill/Reskill ด้วย Appreciative Inquiry

โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์
ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กรแนว Appreciative Inquiry

ความรู้มีความสำคัญมากๆ กับทุกคน ความรู้ เคยเจอไหมครับ บางร้าน ถามพนักงานเรื่องสินค้า เช่นไปซื้อกางเกง เราลองแล้วบอกว่าคับ พนักงานก็ยินยันว่าเดี๋ยวมันจะขยายเอง ที่สุดเผลอซื้อมาก็ทนใส่ไม่ได้  ความรู้แปลว่าประสบการณ์ ประสบการณ์มาจากการลองผิดลองถูก ความรู้ทำให้คนมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เรียกว่าทำให้ได้เปรียบ  ไปไกลกว่าถ้าผมดูเครื่องคอมพิวเตอร์ McBook ที่ผมใช้ก็สร้างมาจากความรู้ทั้งนั้น ความรู้มีหลายแบบเช่นความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ ความรู้เรื่องลูกค้า ความรู้เรื่องกระบวนการการทำงาน ความรู้จึงสำคัญกับคนทุกกลุ่ม ในยุคสมัยที่เกิดโรคระบาดแบบนี้ ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม ความรู้เดิมๆ ก็ไม่อาจให้คุณมีชีวิตที่ดีเหมือนเดิม คุณต้องการความรู้ใหม่ๆ  ความรู้ใหม่ๆ นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ  สำหรับในองค์กรสมัยนี้มีการพูดถึงการ Upskill Reskill การ Upskill เช่นผมอยู่ในสายพัฒนาองค์กร ที่มีเครื่องมือจำนวนมหาศาล ผมก็ต้องเพิ่มความรู้ให้ล้ำกว่าคู่แข่ง ส่วน Reskill หมายถึงคุณต้องเรียนอะไรที่นอกเหนือจาก Field เดิมของคุณ เช่นตอนนี้ผมต้องไปเรียนการทำ Zoom หรือ CH และใช้งานมันให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะลูกค้าตอนนี้เราเจอกัน Online    ถ้าคุณเห็นปัญหาและโอกาสเรื่องของการ Upskill Reskill เราก็มาพัฒนาองค์กรเพื่อให้คนมา Upskill Reskill

มาทำ Appreciative Inquiry ที่เน้นการตั้งคำถามเชิงบวก ที่เชื่อว่าถ้าเราตั้งคำถามเชิงบวกกับทุกคน  แล้วบอกด้วยว่าในตัวเรา ทุกคนมีเรื่องดีๆ ซ้อนเร้นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบเดินไปด้วยดี  โดยการเริ่มจาก Define อยากทำอะไรให้ดี Discovery ตอนที่ทำเรื่องนั้นได้ดีที่สุดคุณทำอย่างไร  ถามทุกคนในองค์กร แล้วมาสรุปเป็น Positive Core สาเหตุความสำเร็จ  เอามาสร้างฝันร่วมกัน Dream แล้วมาร่วมออกแบบ Design แล้วเอามาลงมือทำจริง Destiny ที่อาจเจออุปสรรค ก็หาทางคิดแก้ไปล่วงหน้า แล้วประเมินผลปรับเปลียนเป็นระยะ

ข้างล่างผมเขียนให้ดู อันนี้มาจากประสบการณ์ของผมเอง ถ้าหลายคนก็เอามายำรวมกัน เป็น mission ของกลุ่ม หรือองค์กรไป

เรื่มเลย

ปัญหา การ Upskill/Reskill ให้ล้ำกว่าคู่แข่ง

Define  ทำอย่างไรเราจะ Upskill/Reskill จนคู่แข่งเห็นเราแล้วนับถือไปเลย  (ตั้งโจทย์ใหม่ ต่อให้ลบต้องเป็นโจทย์ทิศทางบวก แล้วให้เร้าพลัง ให้ฮึกเหิมหน่อย)

Discovery  

นึกถึงการ Upskill (ต่อยอดในอาชีพ) ของคุณเร็วๆนี้ คุณ Upskill ในเรื่องอะไร เกิดขึ้นอย่างไรที่ไหน   เวลา Upskill คุณให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร

ผมไปเรียนเรื่อง Visualized Theroy U มาเป็นหลักสูตรที่ผมอยากเรียนอยู่แล้ว ค่อนข้างจะไปลงผิด แต่ก็ได้ประโยชน์ เพราะเป็นหลักสูตรสำหรับ Facilitator ที่ให้ประโยชน์มากๆ ทำให้ผมมั่นใจในเรื่อง Theory U มากขึ้น กลายเป็นว่ากระบวนการที่ทำในหลักสูตรนั้นเป็นกระบวนการที่ผมไม่เคยทำ ก็เลยได้แนวทางไปต่อยอด กลายเป็นหลักสูตรที่ล่าสุดไปสอนให้คณะวิศวะลาดกระบัง กลายเป็นโอกาสใหม่ๆ   ตอนนี้กำลังออกแบบหลักสูตรแนวเดียวกันแล้วชวนเพื่อนไปทำ Consulting ต้องขอบคุณหลักสูตรนี้เลย

เวลา Upskill คุณให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร  ผมให้ความสำคัญกับความเป็น Original อยากเรียนกับคนคิดค้นทฤษฎีนั้นโดยตรงจะได้ รู้ฐานคิดของเขาด้วยว่าเขาคิดยังไง แถมได้รู้ Update ล่าสุดว่าที่ทำจริงๆ ทำไปถึงไหน ซึ่งโคดีได้เรียนกับ Otto Scharmer คนคิดที่คิดค้นเรื่อง Theory U

 

นึกถึงการ Reskill (ต่างไปเลยไม่อยู่ในอาชีพเดิม)  ของคุณเร็วๆนี้ คุณ Reskill ในเรื่องอะไร เกิดขึ้นอย่างไรที่ไหน  เวลา Reskill คุณให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร

สักสามสี่เดือนหลัง เนื่องจาก WFH ก็เลยมีเวลาเล่น CH เห็นโอกาสการใช้ CH เป็นช่องทางการพัฒนาตนเอง โดยได้เริ่มศึกษาปรัชญา ประวัติบุคคลสำคัญที่สอนเรื่องเกี่ยวกับความสุข หรือการค้นหาตัวตน แล้วนำมาจัด CH เพื่อเอาความรู้ชั้นหนึ่ง คือจากประสบการณ์ เช่นเมื่อวานศึกษาเรื่อง Nunchi แนวคิดการอ่านใจอ่านสถานการณ์แบบคนเกาหลี ก็เอามาออกแบบโดยผสมผสานการตั้งคำถามเชิงบวกแบบ Appreciative Inquiry แล้วมาถามขอประสบการณ์ตรงๆ จากคนใน CH ก็ได้ความรู้ใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมมาก เรียกว่าทำมาสามเดือนโจทย์ไม่ซ้ำ ได้ Reskill ตัวเองไปในตัว บางครั้งก็ Upskill ไปด้วย อย่าง Nunchi ทำให้ได้ความรู้แนวความฉลาดทางสังคม ที่ผมเองก็มีไม่มาก ทำให้มั่นใจในตัวเองมากขึ้น

เวลา Reskill คุณให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร  การผสมผสานความรู้ที่รู้มาด้วย Appreciative Inquiry แล้วไปดึงจากประสบการณ์จริงๆ คือไม่ใช่รู้เฉยๆ แล้วพยายามไปทดลองต่อด้วย


Positive Core เห็นภาพรวมอะไร ดูแล้ว ผมเหมือนหาความรู้เพื่อไปทำให้งานตัวเองดีขึ้น ที่สำคัญเกิดผลพลอยได้คือได้โอกาสใหม่ๆ


พรสามประการณ์ที่เราอยากให้เกิด

ได้โอกาสใหม่ๆ ไปสอนตปท ความรู้ไปทำให้คนดีขึ้น

Dream ในสามปี เราจะเป็นที่สนุกกับการแก้ปัญหาให้องค์กรที่หลากลายด้วยชุดความรู้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น แล้วสนุกกับการไปสอนปตท.  


Design อะไรที่ต้องทำแตกต่างออกไป
สอนเป็นภาษาอังกฤษ
ต่อยอดใน Field เดิมไปอีก เป้าหมายต่อไปจะเป็นเรื่องสุนทรียสนทนาที่เป็น ต้นตอของTheory U  เรียนจากไทยและตปท ด้วย
Reskill เรื่องการตลาด 
Reskill เรื่องการสอนในปตท 
อาจต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่ม โดยเฉพาะคนในตปท  
ทดลองเป็น CH แล้วทำ Workshop เป็นภาษาอังกฤษ 50

Destiny

เริ่มเลยแรงต้านอาจมีคืออาจพับไปก่อนเพราะไม่ง่าย อาจต้องหาลูกศิษย์ที่ถนัดเรื่องภาษาอังกฤษ หรือจีน (เพราะจะไปจีนด้วย)  อาจลองหาหลายๆ ชนชาติ


นี่ครับการใช้ Appreciative Inquiry มาค้นหาแนวทางเพื่อให้ยกระดับความรู้ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน คุณจะได้ประโยชน์จาก workshop นี้ หลายอย่างเช่น
เห็นว่าคนในองค์กรกำลังทำอะไรอยู่  
เขามี skill อะไรเพิ่มขึ้นมา หรือมีอะไรใหม่ๆ 
สิ่งที่คนหนึ่งเรียนรู้ไปอาจสร้างการพลิกผันให้ทั้งองค์กร เพราะอาจเป็น Trend ใหม่ๆ 
คุณอาจได้ผู้รู้เพิ่มขึ้น ดึงให้เขามาเป็นครูคนอื่นไปเลย ยกระดับคนทั้งองค์กรร่วมกัน
คุณจะเห็น style การเรียนรู้ของคน เช่นผม คุณจะเห็นว่าผมชอบเรียนแล้วเอาไปทำ หรือต้องเน้นประสบการณ์จริง 
เกิดบรรยากาศการทำงานที่ดีมีพลังขึ้นมา
เกิดทิศทางใหม่ๆ ในองค์กร

 

นี่เป็นวิธีการเอา Appreciative Inquiry ไปแก้ปัญหา Upskill/Reskill ลองไปทอดลองใช้ดู ติดปัญหา inbox มาถามกันได้

เขียนไว้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

สงวนลิขสิทธิ์บทความ @ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2564
 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#upskill#reskill
หมายเลขบันทึก: 692003เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2021 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2021 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท