ซอฟต์แวร์จัดการความรู้ Obsidian


เมื่อ ๒ วันก่อนไปเจอคลิปพูดถึงซอฟต์แวร์จัดการความรู้ส่วนตัวตัวใหม่อันหนึ่ง (personal knowledge management / PKM) ชื่อว่า Obsidian. เมื่อวานผมใช้เวลาตามไปดูคลิปอีกมากเกี่ยวกับตัวนี้ ซึ่งหลายคลิปมีคนดูถึง ๒ แสนคน. ตัวนี้เป็นซอฟต์แวร์ใหม่ ออกมาปีที่แล้วนี่เอง แต่ดูเหมือนนักศึกษารุ่นใหม่ นักเรียนปริญญาเอก นักคิด สนใจใช้กัน เริ่มมากขึ้น แม้ยังเป็นเพียงเบต้า. ฟรีครับ.   มีทั้ง Mac & Windows แต่ยังไม่มีใน iPad / iOS 

เขาว่ามันเหมาะกับนักคิด ช่วยเชื่อมโยงความรู้ได้ดีมาก ถ้าใครเขียนบันทึกจดความรู้ด้วยการ์ดหรือใน note software เป็นพันๆ แบบผม จะพบว่า ลำพังค้นหาด้วย คำหลัก อย่างเดียวไม่พอ มันดูขาดอะไรไปบางอย่าง

แต่แรกนั้น ผมคิดจะใช้ Notion แต่นั่นเหมาะกับ team collaboration มากกว่า. ส่วนบางตัว เช่น  Evernote ก็เน้นพฤติกรรมให้คนไปคลิปเนื้อหาจากแหล่งอ้างอิงมาสะสมไว้เป็นจำนวนมาก เสียมากกว่า.

แต่แรกผมใช้ Notes ใน iPad/iOS/Mac เพราะเก็บบันทึกนับพันในเรื่องสารพันของผมไว้ใน iCloud แต่ก็พบว่ายังมีข้อจำกัด เช่น ตอนนี้ยังอ่านลายมือภาษาไทยไม่ออก (เดาว่าปีหน้า หรืออีกสองปี หวังว่าจะมา) 

Obsidian ดียังไง ?

 ๑. เขาเก็บข้อมูลเราในคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่เก็บบนเน็ต ซึ่งถ้าเซอร์ฟเวอร์ล่มก็ใช้งานไม่ได้ แต่คนสนใจจะซื้อคุณลักษณะการ sync ข้อมูลก็ทำได้ ตอนนี้ในราคาพิเศษเดือนละ $4 ถ้าไม่ใช้ ใช้แค่ซอฟต์แวร์ก็ฟรี. ๒. เก็บข้อมูลแบบ plain text ไม่ใช้ฟอร์แมตพิเศษที่มักมีลิขสิทธิ์ทางการค้ามาจำกัด ดังนั้น เราแน่ใจได้ว่า เราสามารถเอาข้อมูลของเราออกมาได้ง่าย ถ้าต้องการ แค่ลากแฟ้มออกมาจาก folder ก็เสร็จ. ๓.   มีคุณลักษณะที่สามารถทำ tags และ เชื่อมโยง คำหลัก keywords ทั้งโยงไปยังแฟ้มอื่นๆ และยังสามารถโยงย้อนกลับมายังแฟ้มต้นกำเนิดที่แรกโยงไปได้ด้วย จนครบทั้งระบบได้โดยอัตโนมัต ในระบบ mark down.  คล้ายวิกิ ๔. สามารถวาดกราฟได้ visualization ความสัมพันธ์ตามคำหลักหรือ แท็ก แล้วสร้างภาพออกมาแสดงเป็น knowledge graph ให้ดูได้. ๕. มีคนกำลังช่วยพัฒนา plugins อีกแยะมาก เพื่อเพิ่ม features ต่างๆ นอกเหนือจากคุณลักษณะปกติ และมีประชาคมนักพัฒนา และ ผู้ใช้ ที่มีคนจำนวนมากพอควร สามารถไปร่วมได้

ต้องบอกก่อนว่าผมยังเพิ่งเริ่มทดลองใช้แค่วันเดียว ที่เล่ามาส่วนมากเอาคำของฝรั่งมาขยายเล่าให้ฟัง แล้วจะลองใช้ แต่ตอนนี้คิดว่าดี เลยมาเขียนบันทึกนี้เพื่อบอกเล่า.

ลองไปใช้ดูนะครับ.

 

 

หมายเลขบันทึก: 691735เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2021 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2021 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท