การเล่นแร่แปรธาตุของความใจบุญ: ว่าด้วยชนชั้นและพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย ตอนสุดท้าย


การเล่นแร่แปรธาตุของการให้: อำนาจนำและการต่อต้าน

นักวิชาการที่ศึกษาด้านการให้ของขวัญตระหนักรู้กันมานานแล้วว่าการให้ของขวัญแบบไม่เท่าเทียมกันนำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำ ดังที่ T.O. Beidelman ได้ถกเถียงว่า “การแลกเปลี่ยนแบบไม่สมดุลกันเกี่ยวข้องจากความเท่าเทียมไปสู่ความไม่เท่าเทียมขึ้น” ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสังคมแบบเท่าเทียมกันโดยเสมอภาค แต่การแลกเปลี่ยนเป็นวิธีการหนึ่งในการให้อำนาจไปควบคุมผู้คน และการควบคุมเหนือทรัพยากร” ส่วนใหญ่ของการมีประสิทธิภาพของการให้ของขวัญเชื่อมโยงไปสู่ความกตัญญู ดังที่ Sahlins อธิบาย

ของขวัญที่ยังไม่ตอบแทนเป็นอันดับแรก “สร้างบางสิ่งบางอย่างกับผู้คน” มันก่อให้เกิดความต่อเนื่องของความสัมพันธ์, ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อย่างน้อยก็คือพันธะของผู้รับต้องระบายออก อันดับสอง เนื่องมาจากการปกปิดของการเป็นหนี้ ผู้รับจะต้องกังวลใจเพราะต้องจ่ายให้กับผู้ให้ คนที่ได้รับของขวัญจะอยู่ในลักษณะสงบสุข การเอางานเอางาน ระแวดระวัง และรับผิดชอบต่อผู้ให้เสมอ

ในขณะที่ Sahlins และคนอื่นๆ คุณลักษณะของความกตัญญจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็ตาม แต่สำหรับ Bourdieu แล้ว ความรู้สึกของการเป็นหนี้ของผู้รับได้เปลี่ยนแปลงการให้ของขวัญไปสู่รูปแบบพื้นฐานของการครอบงำ “โดยการกดดันความมีอิสระของลูกหนี้ และทำให้เขาไปสู่เจตคติของความสงบ การเอาใจเอางาน รอบคอบ เพราะ Bourdieu สังเกตถึง “การเล่นแร่แปรธาตุทางสังคม” ของของขวัญและความใจกว้าง เขาจึงให้ข้อสังเกตถึงการขูดรีดที่ซ่อนเร้นและทำแบบนุ่มนวลที่มนุษย์ทำการกดขี่มนุษย์โดยที่การกดขี่แบบโหดร้ายทารุณและเปิดเผยให้เห็นไม่สามารถกระทำได้ ดังที่การวิเคราะห์ของฉันกับเรื่องการให้ของขวัญของ Bourdieu จึงสรุปว่า สายตาอันกว้างไกลของเขาในเรื่องของการครอบงำในสังคมที่สลับซับซ้อนก็มีเหมือนกัน

วรรณกรรมที่มีอยู่ในเรื่องการสร้างสถาบันของการใช้อำนาจนำโดยปกติแล้วมักจะเน้นไปที่สถาบันทางวัฒนธรรมกับสังคม เช่นระบบศาสนาและโรงเรียน ดังที่ Stuart Hall เรียกมันว่าสามประสานของ “ครอบครัว/ โรงเรียน/ และสื่อ” ถึงแม้ว่าการแลกเปลี่ยนในสังคมที่ให้และหวังจะได้คืนจะมีความสำคัญ แต่บทความนี้ได้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบของการให้แบบทั่วไป (โดยเฉพาะในการทำบุญ) นำเสนอข้อคิดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ถึงแม้ว่าจะมีความหมายในเชิงการเมืองอันเด่นชัดในเรื่องสถาบันทางการเมือง นับตั้งแต่การบริจาคส่วนบุคคล การบริจาคที่ไม่เห็นแก่กำไรส่วนบุคคล เช่นบริจาคให้กรรมการทางการเมือง และการช่วยเหลือจากต่างประเทศ แต่นักมานุษยวิทยาต่างละเลยในเรื่องดังกล่าวในสังคมที่ซับซ้อน ความหมายของการให้ของขวัญในเศรษฐศาสตร์การเมืองของสังคมที่ซับซ้อนสมควรศึกษากันต่อไป

ถึงแม้ว่าการให้บริจาคให้ข้อคิดในยุทธวิธีของการครอบงำของชนชั้นสูงในสังคมซับซ้อน แต่การวิเคราะห์ของมันให้การท้าทายถึง 3 ประการ อันดับแรก ถึงแม้ว่าการบริจาคจะเป็นแบบทั่วไปหรือเฉพาะบุคคล เมื่อการบริจาคอยู่ในบริบทของสังคมที่แบ่งชนชั้น ที่มีการขูดรีดนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมทางชนชั้นเกิดขึ้น แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบ่งชี้การให้แบบเฉพาะตนของผลประโยชน์โดยเปรียบเทียบ ดังเช่น Terence Turner ให้ข้อคิดไว้ว่า “การแลกเปลี่ยนที่ดำรงอยู่ไม่ว่าในสังคมแบบไหนก็ตาม จะต้องเข้าใจโดยกระบวนการทั้งหมดของการผลิตทางสังคม การแจกจ่าย และการผลิตซ้ำของสิ่งที่ปรากฏอยู่” ในสังคมที่ซับซ้อน สิ่งที่ปรากฏเพียงชั่วขณะหนึ่ง ที่เป็นการแลกเปลี่ยนแบบต่างตอบแทนในไม่ช้าจะถูกเปลี่ยนแปลงไปสู่การขูดรีด ในลักษณะขู่เข็ญว่าจะได้

อันดับสอง การให้หรือการบริจาคอาจไม่เป็นไปตามทางเลือกเสมอไป Jonathan Parry เสนอว่า “ในอุดมการณ์ของการให้ของขวัญที่บริสุทธิ์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาในสังคมระดับรัฐด้วยการแบ่งแยกกรรมกรในระดับสูงกับภาคส่วนของการค้าขาย” แต่เมื่อเขาเห็นการให้ของขวัญในระดับสังคมซับซ้อน เพราะว่าเป็นการให้โดยสมัครใจมากกว่า ยังคงตั้งข้อสังเกตว่า “ความตึงเครียดเชิงอุดมการณ์ที่ดำรงอยู่ในตัวตนของความเป็นเจ้าของตลาดนำไปสู่คำแก้ต่างของการให้ที่มากเกินไปกับความรับผิดชอบที่มันต่างปฏิเสธ” การกระทำกุศลจะไม่ถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบหลักของกลไกทางสังคมในเรื่องอำนาจนำและความไม่เท่าเทียมกัน ในการมองว่าการบริจาคเป็นทางเลือก นักวิชาการต่างถูกทำให้หลงเสน่ห์จากสิ่งที่ Maurice Bloch ได้พรรณนาไว้ว่า ดุมการณ์ระหว่างการค้าและการกุศล

ถึงแม้ว่า Parry และคนอื่นๆจะเน้นไปที่บทบาทของศาสนากับความมีใจกว้างก็ตาม แต่คำถามก็คือจะมีใครที่จะให้มากมายแบบนั้น หากจุดประสงค์ของเขาเป็นไปเพื่อโลกหน้าอย่างเดียว ดังที่ Bronislaw Malinowski ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ “เมื่อใดก็ตาม ที่ชาวบ้านต่างหลบหลีกหนี้หรือพันธะที่ต้องให้ โดยที่ไม่สูญเสียการนับถือจากสังคม หรือไม่ได้สิ่งใดเพิ่มเติมเข้ามา เขาจะทำสิ่งนั้น และชนชั้นสูงก็ทำสิ่งนั้น การประกอบกุศลของคนไทยภาคเหนือไม่ใช่ทำโดยสมัครใจเท่านั้น แต่ทำเพราะมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ ในสังคมที่แบ่งแยกเป็นชนชั้น ที่เน้นไปที่ความยากจนที่มีความสำคัญ

อันดับสาม การมีใจกว้างไม่เกี่ยวกับความกตัญญู ในหลายๆกรณีที่ผู้ให้ตั้งจะเป็นคนใจกว้าง แต่ผู้รับมองว่าการที่มีใจกว้างนั้นผสมกับการเห็นแก่ตัว

แปลและเรียบเรียงจาก

Katherine A. Bowie. The Alchemy of Charity: Of Class and Buddhism in Northern Thailand.

หมายเลขบันทึก: 691092เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2021 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2021 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท