ชีวิตที่พอเพียง 3976. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของลุ่มแม่น้ำน่าน พ.ศ. ๒๓๙๘ - ๒๕๐๔


 

               หนังสือ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของลุ่มแม่น้ำน่าน พ.ศ. ๒๓๙๘ - ๒๕๐๔  เขียนโดย ธีรพร พรหมมาศ และ วิลุบล สินธุมาลย์    เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยชุด ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยในปริทรรศประวัติศาสตร์   ที่มี ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เป็นหัวหน้าโครงการ   เป็นเอกสารลำดับที่ ๑๒ ของโครงการ

 การเปลี่ยนแปลงใหญ่มี ๓ ช่วงคือ

  • หลังสนธิสัญญาเบาวริง พ.ศ. ๒๓๙๘   เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ เป็นระบบค้าเสรี    เกิดการเกษตรส่งออก โดยเฉพาะข้าว   ทำให้ลุ่มน้ำน่านตอนล่างบริเวณจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์เป็นแหล่งปลูกข้าว อุตสาหกรรมโรงสี   ส่วนกิจการป่าไม้ดำเนินการโดยคนต่างชาติ    โดยก่อนหน้านั้นสินค้าสำคัญจากลุ่มน้ำน่านคือ เกลือ  ไม้ท่อน  และเหล็กน้ำพี้    การเปลี่ยนรบบการค้าอันเนื่องจากสนธิสัญญาเบาวริง ทำให้เกิดชนชั้นนายทุน (ชาวต่างชาติและชาวจีน)  ชนชั้นแรงงาน (ชาวพื้นเมือง)   กับคนในบังคับของต่างชาติคืออังกฤษกับฝรั่งเศส (ขมุ  ตองสู้ เงี้ยว  ข่า)    และต่อมาเมื่อมีการเลิกทาส เกิดแรงงานเสรี
  • หลังเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. ๒๔๓๗    ชนชั้นสูงเปลี่ยนจากเจ้านายชั้นสูงในล้านนา เป็น “กลุ่มคนกลุ่มใหม่ในล้านนา” (น. ๘๓) ได้แก่ มิชชันนารีอเมริกัน  ข้าราชการอังกฤษ  นักธุรกิจต่างชาติ  และข้าราชการไทย    กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความหลากหลายขึ้น
  • หลังทางรถไฟไปถึงพิษณุโลกในปี พ.ศ. ๒๔๕๐    ทำให้แหล่งชุมชนย้ายจากริมแม่น้ำมาอยู่ริมทางรถไฟ    (และต่อมาย้ายมาอยู่ริมถนน)   กิจการค้ารุ่งเรืองยิ่งขึ้น เพราะขนส่งสะดวกกว่าทางเรือ    ช่วงนี้เองเกลือทะเลจากจังหวัดชายทะเลขึ้นไปตีตลาดเกลือจากบ่อเกลือในจังหวัดน่าน    ทางรถไฟนี้มีผลให้กิจการค้าของลุ่มน้ำน่านใกล้ชิดกรุงเทพ แทนสภาพเดิมที่ใกล้ชิดกับมะละแหม่งของพม่า

ในทุกช่วง เราจะเห็นบทบาทของพ่อค้าหรือนักธุรกิจชาวจีน   แม้ว่าในช่วงรัฐบาลจอมพล ป. จะมีการกีดกัน   ชาวจีน 

ผมได้เรียนรู้ว่าสมัยรัฐบาลจอมพล ป. มีการตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อทำลายการผูกขาดของต่างชาติ (น. ๙๐)    และมีการก่อตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙   เข้าใจว่าขณะนี้คือ มรภ. อุตรดิตถ์   

ได้เรียนรู้ว่า ก่อนสนธิสัญญาเบาวริง เมืองน่านเป็นศูนย์กลางการค้า โดยมีสินค้าจากต่างเมือง ๓ แหล่งหลักคือ (๑) จากกรุงเทพ  (๒) จากเชียงตุง ยูนนาน  (๓) จากมะละแหม่ง       

 ขอขอบคุณ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ที่กรุณามอบหนังสือเล่มนี้   

วิจารณ์ พานิช

๒๑ พ.ค. ๖๔   

 

 

หมายเลขบันทึก: 691054เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2021 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2021 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท