ไทยไปดวงจันทร์ (ตอน๑)


ไทยไปดวงจันทร์ (ตอน๑)

ได้รับทราบข่าวว่ามีกลุ่มนักวิชาการกำลังรณรงค์ให้รัฐมีนโยบายให้ไทยไปดวงจันทร์ภายใน ๗ ปี เรา..ในฐานะผู้ที่ผ่านการทำงานด้านวิจัยกับองค์การนาสามา ๑๒ ปี..ใคร่ขอแสดงความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะเราขาดเงินและวิชาการ เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

.

ได้ยินกลุ่มนักวิชาการพูดว่า ใช้เงินน้อยมาก ประมาณ ๓๐๐๐ ล้านบาทต่อปี คิดเป็นปซ. ร้อยละประมาณ ๐.๐๑ของgdp เท่านั้น นี่ก็แสดงว่ากลุ่มนักวิชาการไม่รู้ว่า จะใช้ gdp เป็นหลักไม่ได้ ต้องใช้งประมาณเป็นหลัก ซึ่งไทยเราเก็บภาษีได้เพียงประมาณ ๑๗ ปซ.ของ gdp เท่านั้น ในขณะที่อารยะประเทศเขาเก็บได้ ๓๕ เรียกว่า ๒ เท่าของเราเลยนะ

.

อีกทั้งงบดำเนินการของประเทศไทยสูงกว่าอารยประเทศมาก เหลืองบลงทุนเพียงไม่มากพอที่จะเอาไปทำสนุกเล่น ในขณะที่การเกษตรก็ยังล้าหลัง คนไทยอีสานส่วนมากยังหุงข้าวด้วยฟืนเพราะไม่มีเงินซื้อถ่าน..เรื่องเหล่านี้นักวิชาการหอคอยงาช้างไม่เคยได้รับรู้ มัวแต่ไปฝันลมๆ แล้งๆ

.

เรื่องเบอร์๕บ้าเห่อต้องยกให้คนไทย..เช่นมีหลายมหาลัยหลายแห่งเปิดหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน มีเด็กเก่งๆสมัตรเรียนกันมากเสียด้วย ทั้งที่ประเทศไทยไม่มีอุตสาหกรรมอากาศยานรองรับ.ส่วนใหญ่จบไปก็ไปทำงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล

.

ถ้าจะเอาดีทางด้านนี้ เราควรต้องมีฐานรากของวิศวกรรมอากาศยาน ก่อนจะกระโดดไปวิศวกรรมอวกาศยาน..ซึ่งเราได้เสนอไว้นานปีในหลายโพสต์ว่า ควรเริ่มต้นด้วยการผลิตเครื่องเจ็ทขนาดเล็ก (สัก ๕๐ที่นั่ง) จนขายได้ดีมีกำไร สะสมประสบการณ์ไปพร้อมกัน นี่ไม่มีฐานรากอะไรเลยจู่ๆจะไปอวกาศ ดังเด็กแบเบาะลุกขึ้นวิ่งได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการคลานหรือการเดิน

.

องค์การนาสาที่โด่งดังนั้น ชื่อเต็มเขาคือ National Aeronautic and Space Administration (NASA) จะเห็นว่าเขาเอาคำว่า  Aeronautic (อากาศยาน) มาก่อน Space (อวกาศยาน) คือคุณต้องมีอากาศยานเป็นฐานรากก่อน ก่อนที่จะก้าวไปสู่อวกาศ

.

มีชาติที่มีศักภาพจำนวนมาก แต่เขาก็ไม่เห่อไปอวกาศกันหรอกนะ เช่นเยอรมันนี, สวีเดน, อิตาลี ถึงไปก็เจียมตนอยู่แต่การส่งดาวเทียมไปยังวงโคจรใกล้โลก (Low earth orbit) เพื่อหากำไร

เรื่องนี้ยาว น่าจะสัก ๕ตอนจบ วันนี้เหนื่อย/ง่วงแล้ว ไปละ

-----คนถางทาง..๑๔มีค.๖๓

คำสำคัญ (Tags): #ไทยไปดวงจันทร์
หมายเลขบันทึก: 689490เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2021 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2021 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท