การศึกษา ๔.๐



WEF ริเริ่มโครงการ Education 4.0 (1) รองรับโลกอนาคต    เสนอเปลี่ยนใหญ่ (transform) ๘ ด้าน ของระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในเอกสาร Schools of the Future (2)   ได้แก่

  1. 1. ทักษะการเป็นพลเมืองโลก   พัฒนาความตระหนักถึงความเป็นไปในโลก   ความสำคัญของความยั่งยืน   และการมีบทบาทต่อสังคมโลก  
  2. 2. ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม    ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนานวัตกรรม  แก้ปัญหาซับซ้อน   คิดวิเคราะห์  คิดสร้างสรรค์  และวิเคราะห์เชิงระบบ 
  3. 3. ทักษะด้านเทคโนโลยี    ฝึกเขียนโปรแกรม   ฝึกการใช้เทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบ  
  4. 4. ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล    ให้นักเรียนได้ฝึกความฉลาดทางอารมณ์ที่ใช้ในปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ได้แก่  เข้าใจผู้อื่น  การร่วมมือ  การต่อรอง  ภาวะผู้นำ  และความตระหนักด้านสังคม
  5. 5. ระบบการเรียนเฉพาะตัวและตามอัตราเร็วของตนเอง    เปลี่ยนจากจัดการเรียนตามมาตรฐานแก่นักเรียนทุกคนเหมือนๆ กัน    เป็นจัดตามความเหมาะสมต่อแต่ละคน    มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะให้นักเรียนแต่ละคนเรียนตามความเร็วที่เหมาะต่อตนเอง     ผมคิดว่าข้อนี้ท้าทายที่สุด
  6. 6. ระบบการเรียนรู้ที่ทุกคนเข้าถึงได้    ซึ่งหมายความว่า คนที่ไม่ไปโรงเรียนก็เข้าถึงการศึกษาได้  
  7. 7. การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเรียนแบบร่วมมือกัน   เปลี่ยนการเรียนรู้จากเรียนเนื้อหาด้วย process-based ไปเป็น project-based และ problem-based    โดยนักเรียนร่วมมือกันทำงานที่เลียนแบบงานที่ตนจะไปประสบในอนาคต
  8. 8. การเรียนตลอดชีวิตและแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ    ชีวิตคนสมัยใหม่เปลี่ยนจากรูปแบบเดิม ที่การเรียนรู้เข้มข้นในช่วงต้นของชีวิต    ไปเป็นเข้มข้นต่อเนื่องตลอดชีวิต    มีการยกระดับทักษะเดิม และเรียนรู้ทักษะใหม่ ตามความจำเป็นของชีวิต

เขาบอกว่า นี่คือระบบการศึกษาสำหรับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ ๔   

การเรียนการสอนจะมีลักษณะเปลี่ยนไปจากปัจจุบันใน ๕ ประเด็นใหญ่ๆ คือ

  1. 1. การเรียนรู้มีลักษณะเล่นสนุกมากขึ้น (playful)  เช่นเรียนผ่านเกม
  2. 2. เรียนปฏิบัติ(experiential)   เรียนสาระผ่านกิจกรรม project-based  หรือ inquiry-based
  3. 3. ใช้คอมพิวเตอร์ (computational)  โดยเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร
  4. 4. เรียนโดยฝังตัวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม (embodied)  
  5. 5. เรียนให้ได้การเรียนรู้หลายด้านในขณะเดียวกัน (multiliteracies)

เขาไม่ได้บอกหลักการเฉยๆ ยังมีเรื่องราวสั้นๆ ของการวิจัยเพื่อพัฒนาประเด็นนั้นๆ ในประเทศต่างๆ นักวิชาการด้านการศึกษาไทยน่าจะได้เข้าไปอ่านรายละเอียด   

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ก.พ. ๖๔

  

หมายเลขบันทึก: 689357เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2021 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2021 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท