การจัดการความรู้สู่... นวัตกรรมในองค์กร


การจัดการความรู้สู่... นวัตกรรมในองค์กร

        ความหมายการจัดการความรู้ เรียวโกะ โทยามา (Ryoko Toyama อ้างถึงใน พัชรีพร คุณาวุฒิ, ออนไลน์) เป็นการจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ นั่นคือ นวัตกรรมที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

         องค์กร ในที่นี้ หมายถึง สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ส่วนคำว่า ความรู้นั้น หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการทำงานภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานก็ต้องมีส่วนร่วมในการให้ความรู้นั้น ทำให้ความรู้ที่กระจัดการจายอยู่นำมาแลกเปลี่ยน แล้วนำมาจัดเก็บจัดเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบเหล่านี้เรียกว่า การจัดการความรู้

         กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการหนึ่งที่บุคลากรในองค์กรสามารถจะช่วยให้เกิดพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

         1) การบ่งชี้ความรู้ เป็นการระบุเกี่ยวกับความรู้ที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ได้แก่ ความรู้เรื่องอะไรบ้าง ความรู้อะไรที่มีอยู่แล้ว อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

         2) การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างความรู้ จากการแสวงหาความรู้ของบุคลากรให้ความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

         3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการนำความรู้ที่ได้มาจัดวางโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เช่น กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ กำหนดวิธีการจัดเก็บ เพื่อสะดวกแก่การนำไปใช้

         4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน กลั่นกรองความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์

         5) การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้ใหม่นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้โดยง่ายและสะดวก เช่น ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นต้น

        6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้งที่เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge และความรู้ที่ฝังในตัวคน Tacit Knowledge เพื่อให้ได้เทคนิคการทำงานใหม่ ๆ เทคนิคการแก้ปัญหาใหม่ ๆ

         7) การเรียนรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น นั่นคือ ถือได้ว่าเกิดองค์ความรู้ใหม่ เหล่านี้หากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็ถือได้ว่า มีการพัฒนานวัตกรรมจากการทำงานในองค์กรนั่นเอง

แหล่งอ้างอิง

ดัดแปลงจากพัชรีพร คุณาวุฒิ เข้าถึงใน http://203.131.209.219/km/admin/new/011118_101207.pdf

ดัดแปลงจากสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เข้าถึงใน http://www.okmd.or.th/upload/pdf/chapter1_kc.pdf

หมายเลขบันทึก: 689045เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท