ชีวิตที่พอเพียง ๓๘๘๒. สยามสมัย ร. ๕



หนังสือ รายงานการตรวจราชการหัวเมืองของไทยสมัยรัชกาลที่ ๕   ภาพสะท้อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุค “สยามใหม่”  (๑)  โดย เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์    เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยชุด ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยในปริทรรศประวัติศาสตร์   ที่มี ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เป็นหัวหน้าโครงการ    ผมอ่านเพื่อจับความว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร  

จับความได้ว่า เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงด้านการปกครอง    ที่ใช้ระบบเทศาภิบาล ปกครองมณฑล ซึ่งดูและกลุ่มจังหวัด    รายงานจึงเน้นการปกครอง  ความเป็นอยู่ของราษฎร  การอาชีพ  ภาษี   

ขอยกตัวอย่างภาษีอากรที่เก็บได้จากเมืองตากในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (น. ๑๑๔) ในหน่วยเป็นบาท ดังนี้ ค่านา ๓,๒๖๓,  ตอไม้ ๑๙,๓๖๐,  บ่อนเบี้ย ๓๖,๘๐๐,  สุรา ๑๖,๔๐๐,  ยาฝิ่น ๑,๔๐๐,  สุกร ๓,๓๖๐,  จันอับ ๕๖๐,  น้ำอ้อย ๙๒๐,  โรงร้าน ๔๐  รวม ๘๒,๑๐๓   จะเห็นว่าภาษีอากรส่วนใหญ่ได้จากอบายมุข คือ บ่อนเบี้ย  สุรา  ยาฝิ่น รวม ๕๔,๖๐๐  คิดเป็นร้อยละ ๖๗ ของภาษีอากรทั้งหมด    ตัวเลขนี้สะท้อนสภาพเศรษฐกิจสังคมอย่างไรบ้าง?     

สาระในหนังสือเน้นนำเสนอข้อมูลจากการตรวจราชการ    สะท้อนภาพความเป็นอยู่ของผู้คน    ซึ่งก็ทำเกษตรกรรมเป็นหลัก    การค้าก็เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม    เมืองชายฝั่งทะเลก็ทำประมงชายฝั่ง    การเกษตรที่มีการส่งเสริมคือ ทำนา  ไร่ยาสูบ  ไร่อ้อย    ทางใต้มีการส่งเสริมการทำสวนยาง 

    อีกอย่างหนึ่งที่หนังสือสะท้อน คือการทุจริตในหน้าที่ราชการ    และข้าราชการมีมากล้นงาน

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ธ.ค. ๖๓

     

หมายเลขบันทึก: 688691เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท