กลุ่มพลวัติ แก้ปัญหาได้อย่างไร?


ขอบพระคุณสำหรับความตั้งใจในการจัดกลุ่มพลวัติของนักศึกษากิจกรรมบำบัดปีที่ 3 รวม 8 กลุ่ม ขอจงอดทนและฝึกฝนทักษะประสบการณ์ให้เปิดใจสภาวะจิตคิดบวกนะน้องรักทุกท่าน ขอจงตั้งสติสอบถามความรู้ความเข้าใจก่อนจะไม่มีผู้รู้ในห้องเรียนที่ปลอดภัย

หลักการจัดกลุ่มสำหรับผู้ที่มีการรู้คิดระดับ 5.4 คือ การสำรวจเรียนรู้ลองผิดลองถูกและตกผลึกความรู้ความเข้าใจจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ร่วมกลุ่ม และถ้าจะปรับระดับให้พัฒนาขึ้นไปเป็นการรู้คิดระดับ 6.0 ได้ใช้เวลาในการทำกลุ่มพลวัติอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 20 ชั่วโมง และประกอบด้วยการตั้งคำถามสะท้อนคิดอิง PERMA ดังต่อไปนี้

  • Positive emotion ลองทำด้วยวิธีใหม่ดู ยิ้มสู้กัน ใจเย็นๆ รอฟังเพื่อนกัน รู้สึกยาก จะทำอย่างไรให้แก้ปัญหาได
  • Engagement มาเรามาช่วยแก้ปีญหากัน ไม่แบ่งนักกิจกรรมบำบัดกับคนไข้ มาเรียนรู้ลองผิดลองถูก สู้ๆนะเราจะผ่านอุปสรรคไปด้วยกัน
  • Relationship ลองฝึกคิดร่วมกัน ทุกอย่างมีทางออก เราไม่เน้นทำให้เสร็จไวๆ เราเน้นกระบวนการช่วยเหลือกัน เห็นใจกัน จะทำอย่างไรให้เราเข้าใจความคิดของทีม มาเขียนบนกระดาษว่ามีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง เราไม่จำทุกข้อมูล เราจะฝึกเขียนทำความเข้าใจ
  • Meaning ถ้าเปรียบของที่เราเล่นอยู่คือปัญหาจริงในชีวิต มันคือปัญหาอะไร เราจะแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
  • Achievement กิจกรรมในวันนี้สนุกเพราอะไร เราได้ทำงานเป็นทีมได้อย่างไร เราตกลงกติกาเองหรือผู้บำบัดคิดแทนเรา 

กลุ่มหนึ่งมีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน จะเกิดความสำเร็จอะไร ใครรับผิดชอบอะไร มีการถามความคาดหวังและความเชื่อมั่นของกลุ่มก่อนลงมือทำกิจกรรม นักศึกษากิจกรรมบำบัดสาธิตและขยับกลุ่มไปทีละฐานรวม 3 ฐาน ทำให้เกิดความไว้วางใจให้รู้สึกปลอดถัย

ข้อควรปรับปรุง เพิ่มการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมแบบ Engagement ให้มี Meaning ของ "การต่อแก้ว" นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตจริง ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง

กลุ่มสองมีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน มีป้ายเขียนใบ้คำเป็น Visual Cueing สร้างบรรยากาศการแข่งขันได้อย่างเป็นมิตร ให้ข้อเสนอแนะรายบุคคลแบบพี่เลี้ยงดี

ข้อควรปรับปรุง เพิ่มความไวในการรับรู้ภาษากายและสื่อสารจัดการพฤติกรรม Hyper/Hypoactivity ด้วยเทคนิค Match & Mirror และเพิ่ม Rapport Building ด้วย Non-verbal Prompting ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง 

กลุ่มสามมีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน มีป้ายเขียนใบ้คำเป็น Visual Cueing สร้างบรรยากาศการแข่งขันได้อย่างเป็นมิตร ให้ข้อเสนอแนะรายบุคคลแบบพี่เลี้ยงดี มีการตั้งคำถามได้ดีจากผู้นำกลุ่ม 

ข้อความปรับปรุง เพิ่มการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมแบบ Engagement ให้มี Meaning ของ "การต่อลูกโป่ง" นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตจริง ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง จะดีมากถ้าผู้นำกลุ่มเป็นผู้รับบริการเอง มีการแบ่งทีมร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและนักศึกษากิจกรรมบำบัด สื่อสารด้วยความเป็นเพื่อนร่วมทีม (Team Building Communication) มากกว่าการสั่งการกำกับดูแล

กลุ่มสี่มีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน มีภาพตัวอย่างในจอ IPad เป็น Visual Cueing สร้างบรรยากาศการแข่งขันได้อย่างเป็นมิตร ให้ข้อเสนอแนะรายบุคคลแบบพี่เลี้ยงดี มีการร่วมแรงร่วมใจผ่านสื่อการขยับเชือกกับยางบังคับตรงกลางได้สร้างสรรค์

ข้อควรปรับปรุง เพิ่มความไวในการรับรู้ภาษากายและสื่อสารจัดการพฤติกรรม Hyper/Hypoactivity ด้วยเทคนิค Match & Mirror และเพิ่ม Rapport Building ด้วย Non-verbal Prompting ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง

กลุ่มห้ามีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน มีการทำกระดาษเป็นสื่อเขาวงกตเป็น Visual Cueing สร้างบรรยากาศการแข่งขันได้อย่างเป็นมิตร ให้ข้อเสนอแนะรายบุคคลแบบพี่เลี้ยงดี มีการร่วมแรงร่วมใจผ่านการขยับเชือกได้สนุก

ข้อควรปรับปรุง เพิ่มความไวในการรับรู้ภาษากายและสื่อสารจัดการพฤติกรรม Hyper/Hypoactivity ด้วยเทคนิค Match & Mirror และเพิ่ม Rapport Building ด้วย Non-verbal Prompting ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง

กลุ่มหกมีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน สร้างบรรยากาศการแข่งขันได้อย่างเป็นมิตร มีการตั้งคำถามได้ดีจากผู้นำกลุ่ม และมีการให้เวลาระดมแก้ปัญหาในผู้รับบริการได้ต่อเนื่องตลอดกลุ่มพลวัติ 

ข้อความปรับปรุง เพิ่มการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมแบบ Engagement ให้มี Meaning ของ "การเดินเหยียบกระดาษไม่ให้เท้าแตะพื้น" นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตจริง ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง จะดีมากถ้าผู้นำกลุ่มเป็นผู้รับบริการเอง มีการแบ่งทีมร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและนักศึกษากิจกรรมบำบัด ควรมีนักศึกษากิจกรรมบำบัดให้ข้อเสนอแนะรายกลุ่มแบบพี่เลี้ยงเพิ่ม Achievement & Tactile Cueing ที่มี Solution & Demonstration ได้ดีกว่า "ความคิดวนกับทางแก้ไขเดิมและการรับรู้สึกที่ยาก จบกลุ่มแล้วก็ยังไม่รู้คำตอบจริง" 

 
กลุ่มเจ็ดมีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน มีการใช้หลอดเป็นสื่อ Tactile & Visual Cueing สร้างบรรยากาศการแข่งขันได้อย่างเป็นมิตร มีการร่วมแรงร่วมใจผ่านการต่อหลอดได้สนุก 

ข้อควรปรับปรุง เพิ่มความไวในการรับรู้ภาษากายและสื่อสารจัดการพฤติกรรม Hyper/Hypoactivity ด้วยเทคนิค Match & Mirror และเพิ่ม Rapport Building ด้วย Non-verbal Prompting ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง ควรมีนักศึกษากิจกรรมบำบัดให้ข้อเสนอแนะและให้เวลาระดมสมองรายกลุ่มแบบพี่เลี้ยงเพิ่ม Achievement ที่มี Solution ได้ดีกว่า "ความคิดวนกับทางแก้ไขเดิมและการรับรู้สึกที่ยาก จบกลุ่มแล้วก็ยังไม่รู้คำตอบจริง" เพิ่มการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมแบบ Engagement ให้มี Meaning ของ "การต่อหลอดให้สูง" นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตจริง


กลุ่มสุดท้ายมีความดีต่อใจ บอกเป้าหมายการทำงาน จะเกิดความสำเร็จอะไร ใครรับผิดชอบอะไร มีการถามความคาดหวังและความเชื่อมั่นของกลุ่มก่อนลงมือทำกิจกรรม นักศึกษากิจกรรมบำบัดสาธิตและขยับกลุ่มไปทีละฐานรวม 3 รูปแบบความท้าทายจากอุปกรณ์ที่มีจำกัด ใช้ Tactile & Visual Cueing จากตะเกียบ ลูกปิงปอง ช้อน ได้สนุก สร้างสรรค์ ทำให้เกิดความไว้วางใจให้รู้สึกปลอดถัย

ข้อควรปรับปรุง เพิ่มการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมแบบ Engagement ให้มี Meaning ของ "การส่งต่อลูกปิงปอง" นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตจริง ลดการชี้นำรูปแบบจาก Semi-structured Activity & Verbal Prompting เป็น Unstructured Activity & Freedom of Transformative Learning ภายในกลุ่มผู้รับบริการเองบ้าง

ดังนั้น การฝึกฝนทักษะการจัดกลุ่มพลวัติจะสังเคราะห์กระบวนการกลุ่มให้มีความหมายของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาวะผู้นำภายในตัวผู้รับบริการโดย "เพิ่มเวลาสัก 5-10 นาทีกับการระดมสมองแก้ปัญหาจริงจัง 1 เรื่อง (End Process)" ส่วนบทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่ดีงามคือ การสร้างพลังกลุ่มโดยเป็นพี่เลี้ยงมากกว่าการเป็นผู้นำกลุ่มทุกขั้นตอน ลองเป็นผู้ตามบ้างจะลดการคิดไปเองและเพิ่มการสังเกตพฤติกรรมการกล้าคิดบวกของผู้รับบริการมากขึ้น เพราะถ้าเราคิดแทนแบบสั่งการผู้รับบริการในหลายขั้นตอน ก็จะเป็นแค่มุ่งทำกิจกรรมให้เสร็จ (End Product) แต่ไม่ได้ทักษะคิดแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตจริง"

หมายเลขบันทึก: 687184เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2020 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2020 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท