การบริการจัดการชั้นเรียนเชิงบวกคืออะไร


ในช่วงที่เตรียมกับการประเมินรอบ 4 ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เขียนถูกผู้บริหารและคุณครูถามกันเยอะว่าห้องเรียนเชิงบวกคืออะไร

ก็พอจะแบ่งได้ว่าห้องเรียนเชิงบวกนั้นเกิดจากการสร้างบรรยากาศให้เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของสถานศึกษาและครูประจำชั้น รวมทั้งครูผู้สอนโดยผู้บริหารพิจารณาจากเรื่องของการให้นโยบาย ทั้งองค์ประกอบด้านกายภาพ  ซึ่งก็คงพิจารณาไปตามเกณฑ์การพิจารณาห้องเรียนคุณภาพของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งพิจารณาจากงานสารสนเทศช้ั้นเรียน นอกจากนี้ก็จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 3-4 ประเด็นนั้นคือ องค์ประกอบด้านสังคม องค์ประกอบด้านการจัดการศึกษา(ตรงนี้น่าจะหมายรวมถึงสารสนเทศชั้นเรียนด้วย) และบรรยากาศทางจิตวิทยา อันประกอบไปด้วยบรรยากาศที่ท้าทาย บรรยากาศที่มีอิสระ บรรยากาศที่มีการยอมรับ บรรยากาศที่มีความอบอบอุ่น บรรยากาศแห่งการควบคุม บรรยากาศแห่งความสำเร็จ

องค์ประกอบด้านกายภาพหมายถึงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในชั้นเรียนจัดให้มีไว้อย่างเพียงพอ พร้อมใช้งานตลอดเวลา ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน กระดานดำ บอร์ดสำหรับจัดนิรรศการ เป็นต้นทั้งนี้รวมหมายถึงการจัดห้องเรียนให้มีคุณภาพ ซึ่งตามเกณฑ์กำหนดรายการประเมินไว้ดังนี้

รายการประเมิน                                 

ความเป็นระเบียบของห้องเรียน                                                                                                                       
ประเด็นพิจารณา
๑ .มีป้ายชื่อชั้นเรียน
๒. มีป้ายชื่อครูประจ าชั้น
๓. มีป้ายสถิติแสดงการมาเรียนของนักเรียน
๔. มีป้ายแสดงข้อมูลเพื่อนร่วมชั้นเรียน
๕. มีป้ายข้อมูลแสดงน้ าหนักส่วนสูงของนักเรียน

แหล่งสืบค้นข้อมูลและแหล่งเรียนรู้

ประเด็นพิจารณา

๑ มีมุมส่งเสริมการอ่าน มุมบัณฑิตน้อย
๒ มีสื่ออุปกรณ์การสืบค้นโดยใช้ระบบ ICT
๓ มีสื่อการเรียนรู้ที่จัดหาไว้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
๔ มีมุมเกมการศึกษา/สาระการเรียนรู้
๕ มีสมุดบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้

การตกแต่งห้องสะอาดเรียบร้อบ

ประเด็นพิจารณา
๑ มีสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๒ มีป้ายคำขวัญของห้องเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิด
๓ มีป้ายข้อตกลงของห้องเรียน
๔ มีมุมสำหรับสุขนิสัย เช่น ที่แขวนแก้วน้ า แปรงสีฟัน
๕ มีชั้นวางรองเท้าและมีพรมเช็ดเท้า

บรรยากาศเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้
ประเด็นพิจารณา
๑ มีความสะอาด การจัดโต๊ะครู/นักเรียนเป็นระเบียบและมีความ
เหมาะสม
๒ มีแสงสว่างเพียงพอ
๓ ไม่มีเสียงรบกวนผู้เรียน
๔ ไม่มีกลิ่นรบกวนผู้เรียน
๕ มีที่เก็บเครื่องมือท าความสะอาด อย่างเรียบร้อย และสวยงาม

ป้ายนิเทศให้ความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์
ประเด็นพิจารณา
๑ มีมุมประสบการณ์ที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดท า
๒ มีป้ายนิเทศตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
๓ มีป้ายนิเทศแสดงผลงานนักเรียน
๔ มีป้ายนิเทศให้ความรู้ที่ทันเหตุการณ์
๕ มีป้ายนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้มากกว่า ๑ กลุ่มสาระการเรียนร

วัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียน
ประเด็นพิจารณา
๑ มีนาฬิกาประจำห้องเรียนที่ใช้ได้
๒ มีตารางสอนประจำห้องเรียน
๓ มีตู้ลิ้นชักไว้เก็บอุปกรณ์
๔ มีปฏิทินแสดงรายละเอียดที่เป็นปัจจุบัน
๕ มีเครื่องเล่นVCD ,TV,สื่อเทคโนโลยีที่จำเป็นและเหมาะสม

การนำหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในห้องเรียน

ประเด็นพิจารณา
๑ มีตารางเวรรับผิดชอบความสะอาด
๒ มีสมุดบันทึกความดี
๓ มีสมุดบันทึกการออมทรัพย์
๔ มีการน าวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาประยุกต์ใช้อีก
๕ มีสมุดบันทึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์

การนำเสนอผลงานเด่นของห้องเรียน
ประเด็นพิจารณา
๑ มีการนำเสนอผลงานนักเรียนดีเด่นประจำสัปดาห์
๒ มีการนำเสนอผลงานนักเรียนดีเด่นประจำเดือน
๓ มีการนำเสนอผลงานระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
๔ มีการนำเสนอผลงานระดับเขตพื้นที่
๕ มีการนำเสนอผลงานที่ครูและนักเรียนร่วมกัน
จากภายในและภายนอกสถานศึกษา

องค์ประกอบด้านสังคม หมายถึง การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในรูปแบบต่างๆ ตามกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ผู้สอนกับผู้เรียนได้ช่วยกันทำงาน ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม ผู้สอนสาธิตให้ผู้เรียนได้ศึกษาสังเกต

องค์ประกอบด้านการศึกษา หมายถึง กำารจัดลำดับเนื้อหาสาระ ความรู้ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน พร้อมทั้ังให้ผู้เรียนมีการวางแผนการเรียนร่วมกับผู้สอน และให้ผู้เรียนได้ตระหนักในคุณค่าของความรู้ ควยามสามารถที่ได้รับจากผู้สอน หรือการศึกษาค้นคว้าตามที่ได้รับมอบหมายให้เต็มตามอัตภาพ
องค์ประกอบด้านบรรยากาศที่พึงปราถนาในชั้นเรียนมี 6 ประเภทคือ

๑. บรรยากาศที่ท้าทาย (Chalenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียน เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
๒.บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
๓.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และเกิดความอยมรับนับถือตนเอง
๔.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
๕.บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) บรรยากาศของการฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่ควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียน และฝึกให้นักเรียนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
๖.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลวเพราะการที่คนเราคำถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น


ความหน้าจะรวบรวมข้อมูลการจัดห้องเรียนในรายละเอียดปลีกย่อยมาให้อ่านกันอีก แน่นอนย่อมส่งผลต่กการจัดชั้นเรียนเชิงบวกที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมผู้เรียน เพราะความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียนส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งผลในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะที่อยู่ในชั้นเรียนและมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติของรายวิชานั้น อีกทั้งช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักในเรื่องของวินัยในชั้นเรียน ช่วยป้องกันสิ่งรบกวนที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมต่างๆของผู้เรียน








ที่มา http://www.lp2.go.th/supervise...
       https://www.google.co.th/searc...

       การบริหารชั้นเรียน ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ 2560

หมายเลขบันทึก: 687153เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2020 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2020 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท