๘๕๕. เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน


เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน

จากการได้ทราบถึงประเภทของบุคลากรที่ทำงานของภาครัฐมาจากบันทึก ข้าราชการไทย แล้ว ท่านจะทราบว่า สาเหตุของข้าราชการได้รับเงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ดังนี้

เงินประจำตำแหน่ง คือ ค่าตอบแทนกำหนดขึ้นสำหรับข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด เช่น ตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะด้านการบริหารซึ่งมีความรับผิดชอบทั้งด้านการบริหารแผนงาน แผนเงิน และแผนคนในองค์กร รวมทั้งตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางด้านอาชีพ เป็นต้น ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการกำหนดเงินประจำตำแหน่งนั้น ก็เพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนของภาคราชการกับอัตราตลาด และเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียกำลังคนในภาคราชการในขณะนั้น

ค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน คือ ค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นด้วยเหตุผลในลักษณะคล้ายคลึงกับเงินประจำตำแหน่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนภาคราชการกับอัตราตลาด และเพื่อรักษาไว้ซึ่งกำลังคนคุณภาพในภาครัฐซึ่งในขณะนั้นมีการสูญเสียไปสู่ภาคเอกชนจำนวนมาก โดยข้าราชการที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งจะได้รับเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนเท่ากับเงินประจำตำแหน่ง ยกเว้นตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ จะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนนี้ และข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ที่ไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่งจะได้รับค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนในอัตรา ๓,๕๐๐ บาทต่อเดือน

หากท่านต้องการทราบเกี่ยวกับกฎหมายของเงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ โดย Click ได้จากที่นี่...เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน 

ที่มา : https://www.ocsc.go.th/compens...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาในบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

หมายเลขบันทึก: 686959เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2020 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2021 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท