คนที่ทำผิดควรได้รับการให้อภัย


บันทึกไว้

จากบันทึก https://www.gotoknow.org/posts/686902ได้เกิดการสะท้อนคิดซ้ำไปอีก...ว่า

เมื่อไหร่ก็ตามถ้าเราไปแตะเรื่องการทุจริต คอรัปชั่น ฉ้อฉล หรือเกี่ยวกับความถูกต้อง หรือความเป็นธรรมต่างๆ นั่นย่อมหมายถึงเราต้องไปเผชิญกับพลังมืดของคนกลุ่มหนึ่งที่ยังมองเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ

“คนที่ทำผิดควรได้รับการให้อภัย”....

ถ้าเราคิดกันเช่นนี้ กฎ กติกา ระเบียบ และบทลงโทษต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้นมี

การทำผิดแล้วให้อภัยและการให้โอกาส มันเป็นเรื่องที่ควรมีอยู่แล้ว

แต่...กฎ กติกา ระเบียบ และบทลงโทษต่างๆ มันก็จะต้องมีเหมือนกัน..

ดังเช่นเรื่องการปลอมแปลงเอกสารกู้เงินที่มีเกิดขึ้นในองค์กร ... มันเป็น "ความผิดอาญาแผ่นดิน"

จึงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องเพิกเฉย...

จบแค่การเอาเงินมาคืน แล้วทำให้เรื่องมันเงียบ

ถ้ามองในแง่ของการประกาศต่อสู้กับเรื่องทุจริตคอรัปชั่นตามนโยบายของรัฐแล้ว ยิ่งไม่ควรมีการปกปิดหมกเม็ด

06-11-63

หมายเลขบันทึก: 686917เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2020 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2020 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Yes. Agree on the issue.**But there is a consideration for ‘whistle blowers protection - safety and …’. **Thailand needs anti-corruption culture, a protection authority and perhaps a independent corruption court so that corruption is not left with ‘supervisory considerations’.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท