การพัฒนากลุ่มเปราะบางด้วย MoHo


นอกจาก  MoHo จะสามารถพัฒนาคนทั่วๆไปอย่างเราได้แล้ว (สามารถเข้าชมบันทึก พัฒนาตัวเราได้ด้วย "MoHo" ได้ที่https://www.gotoknow.org/posts... ) ยังสามารถช่วยพัฒนาคนกลุ่มเปราะบางได้ด้วยนะคะ ในที่นี้จะหมายถึงกลุ่มเปราะบางทางกาย เช่นผู้สูงอายุที่มีอาการปวดแขน บางคนหรือแม้แต่พวกเขาเองอาจจะคิดว่า คงไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจไปค่ะ พวกเขายังสามารถทำหลายๆอย่างได้มากกว่าที่คุณคิด

ทบทวนกัน

MoHo หรือ Model of Human Occupation คือ แบบแผนในการช่วยประเมิน วิเคราะห์แยกแยะปัญหาและช่วยตั้งเป้าหมายที่เหมาะกับแต่ละบุคคลร่วมกับผู้รับบริการ เพื่อที่จะช่วยเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการให้สามารถแสดงบทบาทที่มีความหมายต่อการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการได้อย่างเต็มที่

แบบประเมินของ MoHo

1. Occupational Identity > กิจกรรมอะไรที่คุณรู้สึกว่ามีคุณค่าและอยากทำ

2. Occupational Competence > กิจกรรมที่เราหรือสังคมคาดหวังหรือตั้งเกณฑ์ไว้กำหนดความสามารถที่เราจะทำได้ โดยปรับเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันได้

3. Participation > การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน

4. Performance > ความสามารถต่างๆทั้งที่ทำได้ และอยากทำได้

5. Skill > ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะของกระบวนการคิด

6. Volition/ Habituation/ Performance Capacity **ทั้ง 3 สำคัญมาก** > เจตจำนงหรือความตั้งใจมุ่งหมาย/ พฤตินิสัย(พฤติกรรม+นิสัย)/ ความสามารถสูงสุดในการทำกิจกรรมต่างๆ

7. Environment > ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา

  ตาม MoHo แล้วอาจดูเยอะไปหน่อยใช่ไหมคะ มาลองตั้งคำถามถามตัวเราเองง่ายๆดูค่ะ หรือนำไปถามผู้สูงอายุที่บ้านดูก็ได้นะคะ

  • ตอนนี้อยากทำอะไรมากที่สุด ? ที่รู้สึกว่ามันมีค่าต่อตัวเราและทำให้เรารู้สึกมีคุณค่า โดยสามารถทำตามศักยภาพของเราได้
  • คุณมีความตั้งใจมุ่งหมายในการทำกิจกรรมนั้นๆอย่างไร ?
  • พฤติกรรมหรือนิสัยของคุณมีผลต่อการทำกิจกรรมนั้นอย่างไร และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างไร ?
  • สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวคุณ รวมถึงผู้คนและสถานที่ มีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมนั้นอย่างไร และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างไร ?
  • แล้วคุณคิดว่าจะทำอย่างไรให้สามารถทำกิจกรรมนั้นได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุดของคุณ (เต็มความสามารถ) ?

คนที่เคยอ่านบันทึก พัฒนาตัวเองได้ด้วย “MoHo” คงคิดในใจว่าบันทึกนี้เหมือนมากใช่ไหมคะ ใช่ค่ะ เหมือนกันเลย เพราะเราใช้หลักการรักษาผู้รับบริการที่เหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันตรงที่การประเมินและพัฒนาคนกลุ่มเปราะบางนั้นต้องใช้ “เวลา” ที่มากกว่าค่ะ การพูดคุย เอาใจใส่อยู่เรื่อยๆจะทำให้เราสามารถเข้าใจพวกเขาได้อย่างลึกซึ้งมากที่สุดและช่วยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาให้พวกเขาได้อย่างแม่นยำมากที่สุดค่ะ  

สุดท้ายนี้อย่างให้หลายๆคนเข้าใจค่ะว่า คนกลุ่มเปราะบางไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สามารถพัฒนาได้แล้ว แต่รอการเข้าไปช่วยเหลือในการช่วยพัฒนาพวกเขามากกว่า พวกเขาสามารถทำอะไรๆได้หลายอย่างค่ะ ตามศักยภาพที่พวกเขามี และยิ่งหากทำด้วยใจที่มุ่งมั่นตั้งใจแล้วล่ะก็ พวกเขาก็จะยิ่งพัฒนาตามที่พวกเขาต้องการได้แน่นอนค่ะ



นางสาวคณิตา ฉัตรธนพงศ์ นักศึกษา คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด 2563

หมายเลขบันทึก: 686742เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2020 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2020 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท