KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๔)


KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๔)


7. การจัดมหกรรม เป็นกิจกรรมหนึ่งในการดำเนินเพื่อส่งเสริมให้คนวงนอกเครือข่าย รู้จักการทำเกษตรปลอดสารพิษ  ชมรมเกษตรธรรมชาติเป็นผู้จัด กำหนดจัดขึ้นปี ละ 1 ครั้ง โดยเริ่มต้นการจัดตั้งแต่ปี 2544 – 2546
 (1) วัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อ สร้างกระแสให้คนทั่วไปสนใจและหันมาลด เลิกการใช้สารเคมี สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและเครือข่ายในชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ ยกย่องภูมิปัญหาชาวบ้านในจังหวัดพิจิตร
 (2) เนื้อหาและกิจกรรมภายในงาน คือ ปี 2544 เป็นงานแสดงของดีและภูมิปัญญาแต่ละเครือข่าย และเยี่ยมชมวนเกษตร ของนายมี สำแดงเดช เครือข่าย โพทะเลร่วมใจพัฒนา และฟังบรรยายเรื่องแนวทางการเกษตรในอนาคต จากคุณสมหมาย ยอดกลาง จากศูนย์การเรียนรู้ของชาวบ้าน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา  ปี 2545 เน้นการยกย่องปราชญ์ชาวบ้าน โดยการจัดพิธีรดน้ำดำหัวปราชญ์พิจิตร มีการแสดงผลงานเกษตรปลอดสารพิษของแต่ละกลุ่มเครือข่าย  การละเล่นพื้นบ้าน เช่นมอญซ่อนผ้า โยนลูกช่วง และฟังการบรรยาย เรื่องการจัดการธุรกิจชุมชนที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง โดยนายอาคม ภูติภัทธิ์ จากเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์จังหวัดตราด   ปี 2546 ยังคงเน้นการยกย่องปราชญ์ชาวบ้าน โดยมีการสนทนาแนวทางการพึ่งตนเอง โดยปราชญ์พิจิตรจำนวน 5 คน คือ นายบำรุง วรรณชาติ ลุงจวน  ผลเกิด ลุงสมบัติ จันทร์เชื้อ นายน้ำพอง เปียดี นายสมพงษ์  ธูปอ้น  มีกิจกรรมการรดน้ำดำหัวปราชญ์ชาวบ้านและผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร และ แสดงของดีของแต่ละกลุ่มที่อยู่ในเครือข่ายเกษตรธรรมชาติฯ
 (3) รูปแบบและสถานที่ การจัดงานเน้นบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ จึงมีการเลือกจัดงาน คือ ปี
2544 จัดที่ สวนป่า วนเกษตร ลุงมี สำแดงเดช กิ่งอำเภอบึงนาราง ปี 2545และ2546 จัดที่วัดโพธิ์ประทับช้างอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งสถานที่ทั้งสองแห่งมีต้นไม้ร่มรื่น
 (4) กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่าย คือ การจัดนำเสนอผลงาน พร้อมกับการสาธิตภูมิ
ปัญญาการพึ่งตนเองของกลุ่มหรือเครือข่าย การช่วยกัน ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่นเพื่อมาทำพิธีรดน้ำดำหัว แต่ละเครือข่ายทำอาหารกันมาเอง โดยชมรมฯจะเหมาจ่ายค่าอาหารต่อหัวให้ แต่ละกลุ่มจัดการการเดินทางมาร่วมงานกันเองโดยชมรมฯจะช่วยค่าน้ำมันบางส่วน  รวมทั้งการส่งตัวแทนเข้ามาร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้น
 (5) ผลการจัดงาน  พบว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน ทั้ง 3 ครั้ง ครั้งแรก ปี 2544  และ ครั้งที่
สอง ปี 2545 ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 200 และ 300 ตามลำดับ แต่การจัดงานครั้งที่สาม ปี 2546 ตั้งเป้าไว้ 500 คน แต่มีคนเข้าร่วมจำนวน 300 คน  ต่ำกว่าเป้าหมายไว้  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม พบว่าเป็นกลุ่มที่อยู่ในเครือข่ายเกษตรธรรมชาติฯเกือบทั้งหมด มีคนนอกที่เข้ามาร่วมน้อยมาก การจัดงานถือได้ว่ามีการสร้างความสัมพันธ์ได้มาก เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่รู้จักกันมาจากการเรียน วปอ.ภาคประชาชนด้วยกัน และสัมพันธ์กันมากขึ้นจากกิจกรรมการแข่งขันการละเล่นพื้นบ้าน  และการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและปราชญ์ชาวบ้าน
 (6) ปัญหาอุปสรรค พบว่าคนนอกเข้ามาร่วมงาน น้อย เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ เนื้อหาการจัดงานเน้นคนภายในเครือข่ายค่อนข้างมาก เช่น การรดน้ำดำหัวปราชญ์พิจิตร ซึ่งคนที่รู้จักหรือเรียนกับปราชญ์บ้านจึงจะสนใจ คนนอกที่ไม่เคยรับรู้และไม่เคยมาสัมผัสการทำงานของเครือข่ายจึงไม่สนใจ และคิดว่าไม่น่าจะได้ประโยชน์จากการร่วมงาน และสถานที่การจัดงานไกล ทำให้คนนอกไม่สะดวกในการเข้าร่วม

7. กลุ่มและองค์กรในระดับอำเภอและตำบล ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเกษตรปลอดสารพิษ
การเข้ามาเป็นกลุ่มเครือข่ายชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ กลุ่มองค์กรเหล่านี้ มี 2 ลักษณะ คือ เป็นกลุ่มองค์กรที่ทำงานพัฒนาอยู่แล้ว เช่นกลุ่มเกษตรยั่งยืนตำบลบางลาย เครือข่ายโพทะเลร่วมใจพัฒนา และบางกลุ่ม เป็นกลุ่มใหม่ที่ ชมมฯเข้าไปสนับสนุน ให้มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทส่งเสริมการเกษตรปลอดสารพิษในแต่พื้นที่ โดยพัฒนาการมาจากปัจเจกบุคคล ที่มีความสนใจหรือทำเกษตรปลอดสารพิษอยู่แล้ว แนวคิดเบื้องหลังการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มในระดับพื้นที่มาจาก ความเชื่อที่ว่าถ้าเป็นกลุ่มองค์กรที่อยู่ในพื้นที่ การส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษจะเกิดผลสำเร็จและมีความยั่งยืนกว่า องค์กรภายนอกพื้นที่ เนื่องจากบุคคลที่เข้ามาเป็นกรรมการและสมาชิกกลุ่ม อยู่ในพื้นที่และเป็นเจ้าของปัญหา
7.1 การเสริมพลังให้แต่ละกลุ่ม  ในระดับตำบลและอำเภอ
(1) การเชื่อมแหล่งทุน และให้ทุนกลุ่มองค์กรทำงาน  แหล่งทุนเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ชมรมฯ
ประสาน ติดต่อ และเชื่อมให้กับแกนนำเกษตรกร ซึ่งในช่วงแรก แกนนำเกษตรกร ยังไม่รู้จักการบริหารจัดการ และการเขียนโครงการ ชมรมฯมีบทบาทในการช่วยเขียนนำข้อมูลและความต้องการของกลุ่ม (จากการจัดประชุมและการซักถามพูดคุยกับแกนนำ ) ซึ่งเมื่อได้รับโครงการแกนนำเกษตรกรจะได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับเกษตรปลอดสารพิษในพื้นที่ โดยแกนนำเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม และจัดการเงิน  กิจกรรมในช่วงแรกจะมีลักษณะเป็นกิจกรรมระยะสั้น ซึ่งวิธีการนี้ผู้นำได้ทดลองฝึกการจัดการการเงิน และ เป็นการพิสูจน์การทำงานของแกนนำเกษตรกรคนดังกล่าวทั้งการบริหารจัดการการเงินและทำกิจกรรม เมื่อ ชมรมฯ เห็นว่าดำเนินการได้ จึงแสวงหาแหล่งทุนและขอโครงการให้กลุ่มดำเนินการโดยตรง หรือบางครั้งกลุ่มองค์กร ก็ได้ประสานกับแหล่งทุนในช่วงไปร่วมงาน ภายนอกจังหวัด และประสานขอโครงการภายหลังจากนั้น  ซึ่งกรณีนี้ชมรมได้ทำหน้าที่ “ เชื่อม ” ให้
(2)  การพัฒนาในการเป็นวิทยากร  การดำเนินงานชมรมเกษตรธรรมชาติในการขยายแนว
คิดการทำงาน ส่วนใหญ่จะใช้วิทยากรภายในจังหวัดพิจิตร ซึ่งชมรมฯ มีข้อมูลทำเนียบแกนนำเกษตรกรที่ชำนาญในแต่ละเรื่อง จัดทำข้อมูลเป็นแผ่นพับชื่อและที่อยู่ของแกนนำเกษตรกรแต่ละคน แหล่งที่ใช้วิทยากรคือ
• กลุ่มองค์กรในระดับพื้นที่ ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม กลุ่มองค์กร
เหล่านี้มีความต้องการวิทยากรการทำเกษตรปลอดสารพิษ  เช่น เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำนาปลอดสารพิษ การทำผักปลอดสารพิษ ชมรมฯจะให้รายชื่อหรือประสานให้ การใช้วิทยากรที่เป็นเกษตรกรที่มีความชำนาญในแต่ละเรื่องนั้น ไม่ได้แสดงว่าในพื้นที่ไม่มีผู้รู้หรือชำนาญ แต่ในหลายพื้นที่ พบปรากฎการณ์ที่ว่า  “ คนภายใน ไม่เชื่อถือกันเอง ” จึงเกิดการแลกเปลี่ยนวิทยากร ในขณะเดียวกันชมรมฯเชื่อในความยั่งยืนคนภายในพื้นที่ด้วยกันเอง ดังนั้นการจัดประชุม จึงให้โอกาสเกษตรกรที่มีความรู้ในพื้นที่ เป็นวิทยากรหรือตอบคำถามร่วมด้วย สร้างการยอมรับกันเองในอนาคตข้างหน้า ผลการทำงานดังกล่าว แกนนำเกษตรกรหลายคนเริ่มเป็นที่ยอมรับในพื้นที่ของตนเอง จากการมีเวทีการแสดงออกในพื้นที่ กลุ่มจึงเริ่มให้การยอมรับ ต่อมาจึงไม่ต้องใช้วิทยากรต่างพื้นที่ ตัวอย่างเช่น นายน้ำพอง  เปียดี แกนนำเกษตรกรตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ
• บางครั้งการเชิญเป็นวิทยากร อาจมีหน่วยงานราชการ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์ สำนักงานเกษตร ประสานขอวิทยากร ชมรมก็จะประสานหรือให้รายชื่อกับหน่วยงานที่ประสานมา
• การรจัดอบรม วปอ.ภาคประชาชน มีการเชิญแกนนำเกษตรกรที่ผ่านการเรียน
วปอ.ภาคประชาชนและนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง เกิดผลสำเร็จพอที่จะเป็นตัวอย่างให้กับผู้อื่นได้  ทางชมรมจะเชิญมาเป็นวิทยากรช่วยในแต่ละฐานการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากแกนนำเกษตรกรผู้นั้นจะภาคภูมิใจ แล้วยังได้รับความรู้ใหม่จากการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมในแต่ละรุ่น ที่ไม่ซ้ำหน้ากัน  แกนนำเกษตรกรที่พัฒนาขึ้นมานั้น เช่น คุณผดุง เครือบุปผา ซึ่งเป็นนักเรียน วปอ.ภาคประชาชนรุ่นที่ 4 พัฒนาตนเองจนสามารถทำนาปลอดสารพิษและทำพันธุ์ข้าวได้ จึงเชิญให้มาเป็นวิทยากรในเรื่องการทำนาปลอดสารพิษ 
(3) การเชิญให้ออกรายการวิทยุ  เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ชมรมฯ ใช้เพื่อ ใช้เป็นช่องการ สื่อสารให้กับเครือข่าย โดยรายการวิทยุนี้จะมีแกนนำเกษตรกรและสมาชิกหมุนเวียนกันออกอากาศ เนื้อหาหลัก ๆ เป็นเรื่องกิจกรรมของกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรปลอดสารพิษ หรือ การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง โดยแกนนำเกษตรกรและสมาชิกเป็นผู้กำหนดรายละเอียดในการนำเสนอ ซึ่งดีเจจะทำหน้าที่ในการถามตามเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งจะมีการเตรียมการก่อนนำเสนอประมาณครึ่งชั่วโมง
(4) การโทรศัพท์ซักถาม สารทุกข์สุขดิบ จากผู้ประสานงานชมรมฯ การส่งเอกสาร
หรือ วีซีดี ความรู้และแนวคิดเกษตรยั่งยืนในด้านต่าง ๆ ไปให้ ศึกษา รวมทั้งนำสื่อเหล่านี้ไปใช้เมื่อมีการจัดกิจกรรมของกลุ่ม 
   
(เก็บข้อมูลจากการสรุปบทเรียนการทำงาน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2546 ณ เครือข่าย
โพทะเลร่วมใจพัฒนา ข้อมูลเอกสาร และกระบวนการทำงาน )  
7.2 รายชื่อกลุ่ม ที่อยู่ผู้ประสานงาน กิจกรรม สมาชิ และผลที่เกิดขึ้น ในเครือข่ายชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ (รายชื่อเหล่านี้อาจ มีการปรับเปลี่ยน ตามสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น กลุ่มมีมติเปลี่ยนผู้ประสานงาน )

ที่  ชื่อกลุ่ม  ผู้ประสานงาน  ที่อยู่ 

โทรศัพท์

 1  กลุ่มรวมพลังปลอดสาร   1.1นายแสน เขียวเทียน 114/1 ม. 5 ต.ทับหมัน
อ.ตะพานหิน   
 056-687055
     1.2นายสมาน แจ่มสว่าง 140 ม. 1 ต.ทับหมัน
อ.ตะพานหิน
056-687090 
2   กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลหนองพยอม  นายสินชัย บุญอาจ  132 ม.1 ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ   01-7077810 
3    กลุ่มเกษตรธรรมชาติอำเภอทับคล้อ  นายบำรุง วรรณชาติ  129 ม.8 ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ  056-654063 
4   กลุ่มพลังใจ  1.1 นายคำภา  พิลึกเรืองเดช   47 ม. 6 ต.เนินปอ อ.สามง่าม ****   
    1.2 นายบุญมา ศรีทองคำ   145 ม. 2 ต.หนองโสน อ.สามง่าม   
5   กลุ่มพึ่งตนเอง กิ่งอำเภอดงเจริญ  1.1. นายแหลม จันทร์ป้อม  6/1 ม.1 ต.ห้วยพุก กิ่ง อ.ดงเจิญ     
    1.2 นางจารุพร  ไชโย    75/29 ม.12 ต.ห้วยร่วม กิ่ง อ.ดงเจริญ    09 – 5652787  
6   เครือข่ายปลอดสารพิษอำเภอบางมูลนาก  นายณรงค์ แฉล้มวงศ์   7 หมู่ 3 ต.วังตะกู
อ.บางมูลนาก
03 - 8398213 
7   เครือข่ายพัฒนาโพทะเล นายประกาศิต  แจ่มจำรัส   80 ม.2 ต.ท้ายน้ำ
อ.โพทะเล 
01 - 0468173 
8   เครือข่ายโพทะเลร่วมใจพัฒนา***    นายสมบัติ จันทร์เชื้อ  237 ม. 7 ต.ห้วยแก้ว
 กิ่งอ.บึงนาราง 
09 - 8567124 
9   ชมรมเรารักษ์ดงเสือเหลือง***   1.1 นายนิสิทธิ์ ฉันทธรรมสกุล   67 ม. 1 ต.ดงเสือเหลือง อ.โพธิ์ประทับช้าง    01- 3948127 
    1.2 นางใจมา มีบุญ   202 ม.7 ต.ดงเสือเหลือง อ.โพธิ์ประทับช้าง   01 - 8335277 
10   กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษอำเภอโพธิ์ประทับช้าง   นายไพทูรย์  เสรีพงษ์    ต.ไผ่รอบ  อ.โพธิ์ประทับช้าง  01 - 8908184 
 11  เครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษสากเหล็ก   1.1 นายประทิว  แก้วจันทร์   อบต.ท่าเยี่ยม ต.ท่าเยี่ยม  กิ่ง อ.สากเหล็ก  01- 6743878 
    1.2 นางกุลธิดา ดิษฐ์เจริญ  สอ.หนองหญ้าไทร กิ่งอ.สากเหล็ก  01 - 9539011 
12   กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูอำเภอเมือง   นายสมชาย แก้วกำพล    4 ม. 6 ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง  09 – 9071198 
 13  กลุ่มสุขภาพอำเภอวชิรบารมี นายไพรัช มั่นอนุรักษ์    26 ม. 8 ต.วังโมกข์ อ.วชิรบารมี    01 – 0389425
 
    นายวรพล เลือดทหาร   สอ.หนองสะเดา ต.บ้านนา อ.วชิรบารี   
14   กลุ่มเกษตรปลอดสาร ต.เขาเจ็ดลูก   นายน้ำพอง เปียดี   61 ม. 3 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ    09 – 9281736 
 15  กลุ่มเกษตรย้อนยุค  นายจำรัส   มาเนียม  ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน  01 – 6741698 
    นายพัด  สิงห์ทอง  รพ.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน   
16   กลุ่มเกษตรพัฒนาตำบลคลองคูณ  นายผดุง  เครือบุปผา  242 ม.6 ต.คลองคูณ อ.ตะพานหิน  01 – 9975553 
 17   กลุ่มผู้สูงอายุ โพธิ์ไทรงาม นายจวน  ผลเกิด  143 ม. 3 ต.โพธิ์ไทรงาม กิ่งอ.บึงนาราง  01 - 1964378 
18   กลุ่มเกษตรยั่งยืน ***   นายมนูญ มณีโชติ   81 / 1 ม. 2 ต.บางลาย อ. บึงนาราง     
       

 หมายเหตุ  *** หมายถึง มีลักษณะเป็นกลุ่มมาก่อน ชมรมฯ ภายหลังมูลนิธิฯชักชวนกลุ่มเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมเรื่องเกษตรปลอดสารพิษ ร่วมกัน
  ตาราง  แสดงกลุ่มและเครือข่ายที่ประสานกับชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ

จำนวนสมาชิก กิจกรรมและผลที่เกิดขึ้น
ที่ ชื่อกลุ่ม จำนวน
สมาชิก กิจกรรมที่ทำและผลที่เกิดขึ้น
1 กลุ่มรวมพลังปลอดสาร  35 ออมทรัพย์ ทำสารทดแทนสารเคมีร่วมกัน มีกลุ่มปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว มีจุดกระจายกากน้ำตาล
2 กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลหนองพยอม
 138 ทำสารทดแทนสารเคมี มีกลุ่มปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว
3 กลุ่มเกษตรธรรมชาติอำเภอทับคล้อ 992 ทำธุรกิจโรงสีชุมชนรับซื้อข้าวปลอดสาร ทำสารทดแทนสารเคมี ศูนย์กระจายกากน้ำตาล
4 กลุ่มพลังใจ
 28 มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ทำสารทดแทนสารเคมี จุดกระจายกากน้ำตาล
5 กลุ่มพึ่งตนเอง กิ่งอำเภอดงเจริญ
 450 ทำสารทดแทนสารเคมี จุดกระจายกากน้ำตาล
ที่ ชื่อกลุ่ม จำนวน
สมาชิก กิจกรรมที่ทำและผลที่เกิดขึ้น
6 เครือข่ายปลอดสารพิษอำเภอบางมูลนาก
 700 ทำธุรกิจชุมชนปุ๋ยชีวภาพ  จุดกระจายกากน้ำตาล ส่งเสริมปลอดสารพิษทั่วไปและในโรงเรียน
7 เครือข่ายพัฒนาโพทะเล
 350 ทำธุรกิจชุมชน ปุ๋ยชีวภาพ จุดกระจายกากน้ำตาล  ส่งเสริมการทำเกษตรปลอดสารพิษ ทำกิจกรรมป้องกันปัญหายาเสพติด
8 เครือข่ายโพทะเลร่วมใจพัฒนา*** 84 ทำกลุ่มปลดหนี้ กลุ่มเกษตรผสมผสาน ส่งเสริมการทำสารทดแทนสารเคมี มีจุดอนุรักษ์ปลาในคลอง
9 ชมรมเรารักษ์ดงเสือเหลือง*** 68 ทำกลุ่มออมทรัพย์ มีจุดอนุรักษ์ปลาในคลอง  ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษในโรงเรียน
10 กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษอำเภอโพธิ์ประทับช้าง 350 กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ จุดกระจายกากน้ำตาล
11 เครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษสากเหล็ก 35 ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ มีการสร้างกลุ่มอาชีพในเยาวชน ทำกลุ่มออมทรัพย์
12 กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูอำเภอเมือง 262 ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ ทั่วไปและในโรงเรียน มีกลุ่มปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว
13 กลุ่มสุขภาพอำเภอวชิรบารมี  400 มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษทั่วไปและในโรงเรียน จุดกระจายกากน้ำตาล
14 กลุ่มเกษตรปลอดสาร ต.เขาเจ็ดลูก  67 ออมทรัพย์ ทำอาชีพไม้กวาดร่วมกัน ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ ทั่วไปและในโรงเรียน  มีกลุ่มคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าว จุดกระจายกากน้ำตาล
15 กลุ่มเกษตรย้อนยุค  850 ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษทั่วไปและในโรงเรียน จุดกระจายกากน้ำตาล
16 กลุ่มเกษตรพัฒนาตำบลคลองคูณ-วังหว้า 28 ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษทั่วไปและในโรงเรียน จุดกระจายกากน้ำตาล ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว

17 กลุ่มผู้สูงอายุ โพธิ์ไทรงาม  35 ออมทรัพย์ มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ วัฒนธรรมการหล่อเทียน ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษทั่วไปและในโรงเรียน จุดกระจายกากน้ำตาล มีกลุ่มปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว
18 กลุ่มเกษตรยั่งยืน *** 125 ออมทรัพย์ มีการอนุรักษ์ปลาในแม่น้ำยม ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษทั่วไปและในโรงเรียน จุดกระจายกากน้ำตาล มีกลุ่มปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว

(จากการประชุมและสอบถามแกนนำที่ทำหน้าที่ประสานเกษตรปลอดสารพิษในแต่ละอำเภอ เมื่อ วันที่ 5 ม.ค. 2546)
ตาราง แสดงจำนวนสมาชิก กิจกรรม และผลที่เกิดขึ้น ในเครือข่ายชมรมเกษตรธรรมชาติ


         เห็นพลังของการรวมกลุ่มกันเรียนรู้จากการปฏิบัติ  และขยายเป็นเครือข่ายไหมครับ    การดำเนินการอย่างนี้ต้องการ “คุณอำนวย”    ที่พิจิตรมี “คุณอำนวย” จำนวนมากมาย ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ตค. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6863เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2005 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท