พัฒนาตนเองได้ด้วย MOHO


― พัฒนาตนเองได้ด้วย MOHO ― ◡̈ ⸍꙳

อันดับแรก เราต้องมาทำความรู้จักกับ Model of Human Occupation หรือที่นิยมเรียกกันว่า “MOHO”

MOHO คือหลักการทางกิจกรรมบำบัดที่นำมาใช้เพื่อเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก หรือการกระทำระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้เข้ารับบริการ เป็นการประเมิณชีวิตผู้เข้ารับบริการแบบเปิดใจ เพื่อให้นักกิจกรรมบำบัดเข้าใจผู้เข้ารับบริการอย่างลึกซึ้ง และเข้าถึงกระบวนการคิดของผู้เข้ารับบริการ 

การใช้หลัก MOHO ในการบำบัดรักษาผู้เข้ารับบริการนั้นจะเป็นการประเมิณ แยกแยะ เพื่อตั้งเป้าหมายในการบำบัดรักษา โดยจะประเมิณจาก

1. Assets คือสิ่งดีๆในตัวผู้เข้ารับบริการ ที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้ ความเข้าใจ 

2. Liabilities คือสิ่งที่ผู้เข้ารับบริการหามาได้ เป็นรูปธรรม เช่น ทรัพย์สิน รางวัล ที่ดิน

3. Performance คือความสามารถของผู้เข้ารับบริการที่แสดงออกมา

4. Influence คือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวรา ซึ่งมีผลมาจากสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

ใน Blog นี้ เราจะมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของหลัก MOHO ต่อการพัฒนาตนเอง

การบำบัดรักษาด้วยหลัก MOHO จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความสามารถของผู้เข้ารับบริการ ในการแสดงบทบาทที่มีความหมายในชีวิต โดยใช้สิ่งรอบตัวเป็นสื่อในการพัฒนาความสามารถให้แก่ผู้เข้ารับบริการ ให้สามารถปรับตัวได้ตามช่วงวัยที่เหมาะสม หรือเป็นการสร้างทักษะชีวิตใหม่ สร้างนิสัยใหม่ และบทบาทใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองเพื่อที่จะสามารถทำกิจกรรมที่มีความหมายและมีคุณค่าต่อผู้เข้ารับบริการ และเพื่อให้การดำรงชีวิตของผู้เข้ารับบริการมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยขั้นตอนของ MOHO จะเป็นการตั้งคำถามจากนักกิจกรรมบำบัดเพื่อนำข้อมูลของผู้เข้ารับบริการมาประเมิณและวิเคราะห์ ในกรณีที่จะใช้หลัก MOHO ในการพัฒนาตนเอง อาจเปลี่ยนจากการถามผู้เข้ารับบริการ เป็นถามตนเองแทน โดยคำถามที่ใช้จะทำให้เรารู้ถึงความต้องการหรือความสนใจในการทำกิจกรรม และความสามารถในการทำกิจกรรมของเรา รู้ว่าทักษะหรือนิสัยใดบ้างที่ควรมีในการทำกิจกรรมที่ต้องการ และทักษะหรือนิสัยใดบ้างที่ต้องได้รับการฝึกฝนเป็นประจำหรือต้องสร้างขึ้นมาใหม่ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของตัวเราเป็นสำคัญ เหล่านี้จะทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น และนำข้อมูลเหล่านั้นมาตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง เพื่อหากิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด และที่สำคัญต้องเป็นกิจกรรมที่เรามีความต้องการหรือมีความสนใจที่จะทำ ซึ่งเป้าหมายในการบำบัดรักษานี้ คือทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น รู้ถึงเจตจำนงในการทำกิจกรรม รู้ถึงความบกพร่องของตนเองที่ควรแก้ไข รู้วิธีแก้ไข และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง เพื่อนำไปสู่การทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการหรือกิจกรรมที่ตนเองสนใจตามความสามารถและศักยภาพสูงสุดที่ตนมี เพื่อที่กิจกรรมเหล่านั้นจะมาช่วยเติมเต็มการดำรงชีวิตของตัวเราเอง ให้เราได้เห็นคุณค่าของตนเองมากยิ่งขึ้น และเห็นความหมายและคุณค่าของกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างการตั้งคำถามตามหลักการ MOHO

    1. Occupational Identity คือคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อยากทำอะไร เพราะอะไร

      คำถาม : อยากเรียนกิจกรรมบำบัดจริงไหม เพราะอะไรถึงเลือกเรียนสาขานี้ เรียนแล้วเข้าใจไหม ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองหรือเปล่า

      2. Occupational Competency คือศักยภาพ หรือความสามารถสูงสุดในการทำกิจกรรม 

      คำถาม : การเรียนกิจกรรมบำบัดนี้ช่วยให้เรามีศักยภาพมากขึ้นหรือไม่ อย่าไร ต้องอาศัยความสามารถใดบ้างในการเรียนสาขานี้ เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับตัวต่อการเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ

      3. Participation คือการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม                                                                                           

      คำถาม : ขณะเรียนวิชากิจกรรมบำบัด รู้สึกมีส่วนร่วมในการเรียนไหม อย่างไร หรือแค่เรียนไปวันๆ

      4. Performance คือความสามารถที่แสดงออกมาในการทำกิจกรรม ทำอะไรได้บ้าง ทำอะไรไม่ได้บ้าง

      คำถาม : เราสามารถแสดงความสามารถอย่างจริงจังอะไรได้บ้างในการเรียนวิชากิจกรรมบำบัด


      5. Skills คือทักษะ หรือความสามารถย่อยๆที่เกิดจากการฝึกฝนเป็นประจำ มีดังนี้ Communication skill (ทักษะด้านการสื่อสาร) Motor skill (ทักษะด้านการเคลื่อนไหว) Process skill (ทักษะด้านการคิด)                                                          

      คำถาม : การเรียนกิจกรรมบำบัดต้องมีทักษะด้านใดบ้าง อย่างไร ทักษะใดบ้างที่เรามีอยู่แล้ว และมีทักษะใดบ้างที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ


      6. How ***สำคัญที่สุดในหลัก MOHO***

      6.1 Volition คือเจตจำนง เจตนา ความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ

      คำถาม : เจตนาที่เราเลือกเรียนกิจกรรมบำบัดคืออะไร มีความตั้งใจในการเรียนสาขานี้มากน้อยแค่ไหน

      6.2 Habituation คือพฤตินิสัย (พฤติกรรม+อุปนิสัย) ขณะทำกิจกรรม

      คำถาม : มีการทบทวนบทเรียนบ้างไหม ทบทวนเป็นประจำจนเป็นนิสัยเลยไหม รู้สึกท้อเมื่อต้องทบทวนบทเรียนบ้างหรือเปล่า

      6.3 Performance capacity คือความสามรถสูงสุดของบุคคลที่แสดงออกมา

      คำถาม : การทบทวนบทเรียนในแต่ละวัน ทำเต็มที่แล้วหรือยัง เมื่อไม่เข้าใจบทเรียน กลับมาหาข้อมูลอย่างเต็มที่ไหม หรือถ้าไม่เข้าใจก็ปล่อยผ่าน

      7. Environment คือผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตัวเรา

      คำถาม : สิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว บ้าน สัญญาณอินเตอร์เน็ตสนับสนุนหรือขัดขวางการเรียนกิจกรรมบำบัดไหม คิดว่าสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่จะช่วยให้การเรียนกิจกรรมบำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

      จะเห็นได้ว่า คำถามตามหลัก MOHO ทำใหเรารู้จักตนเองมากขึ้น เห็นถึงความสามารถและความบกพร่องของตนเอง ทำให้เราคิดหาวิธีแก้ไขหรือกำจัดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างเป็นขั้นตอน และที่สำคัญจะทำให้เราเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น และเห็นถึงคุณค่าและความหมายของกิจกรรมที่เราต้องการที่จะทำอีกด้วย เพื่อที่เราจะได้พัฒนาตนเองให้ไปถึงศักยภาพสูงสุด ดังตัวอย่าง เรามีบทบาทเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด ที่ไม่ใช่แค่เรียนไปวันๆ แต่เราอยากเรียนกิจกรรมบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อที่อีก 4 ปีข้างหน้าจะได้เป็นนักกิจกรรมที่มีคุณภาพ และสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับสังคม และยังทำให้การดำรงชีวิตของเรานั้นจะได้เป็นไปอย่างราบรื่น มีสุขภาวะที่ดี และสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย ― ◡̈ ⸍꙳

      หมายเลขบันทึก: 685192เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (0)

      ไม่มีความเห็น

      อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท