ร่วมเดินทางไปกับนักกิจกรรมบำบัด เพื่อสุขภาวะที่ดี


    สวัสดีค่ะ…วันนี้เรามาร่วมเดินทางไปทำความรู้จักกับเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัด ได้แก่ Model of Human Occupation (MoHo) ซึ่งเป็นกรอบความคิดหรือแบบจำลองของการปฏิบัติ หรือ การนำปรัชญาและการจัดระบบแนวคิดต่าง ๆ สู่การปฏิบัติทางวิชาชีพ การประเมิน และหาแนวทางการรักษา

    ในแต่ละวันนักกิจกรรมบำบัดต้องตอบคำถามหลายคำถาม เช่น  อะไรคือความต้องการด้านอาชีพของผู้รับบริการรายนี้, จะสนับสนุนผู้รับบริการให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ได้ดีที่สุดอย่างไร, ผู้รับบริการต้องการบรรลุเป้าหมายอะไร,   จะช่วยให้ผู้รับบริการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อตอบคำถามเหล่านี้และคำถามอื่น ๆ นักกิจกรรมบำบัดจำเป็นต้องมีวิธีการที่ครอบคลุมในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของผู้รับบริการ​  MoHo เป็นทฤษฎีที่อธิบายปัญหาอาชีพและการประกอบอาชีพที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยและความพิการ โดยพิจารณา แรงจูงใจในการประกอบอาชีพ   รูปแบบประจำของการปฏิบัติงาน  ลักษณะทักษะของการปฏิบัติงาน และ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการประกอบอาชีพ


    ​ทฤษฏี Model of Human Occupation (MoHo) มองว่าบุคคลมีความแตกต่างกัน และการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เกิดขึ้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยภายในตัวบุคคลที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กัน 3 สัดส่วน คือ เจตจำนง (volition) อุปนิสัย (habituation) และความสามารถในการประกอบกิจกรรม (performance capacity) การพัฒนาแบบประเมินนี้ยังได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของการบริการที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (client-centered practice) รูปแบบของการประเมิน เป็นการให้ ผู้รับบริการประเมินตนเอง ที่แสดงถึงการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรม และการให้คุณค่าหรือความสำคัญของกิจกรรมที่ตนเองทำ MoHo ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ คือ 

แบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิต คำถาม ตามกรอบแนวคิด Model of Human Occupation (MoHoซึ่งมีเป้าหมายให้คนเปราะบางทางร่างกาย ได้สร้างคุณค่าของตนตามความมุ่งหมาย

1. ยอมรับความซับซ้อนของอาชีพมนุษย์ ​​​​​​​​​MoHoตระหนักดีว่าอาชีพหรือการทำงาน ได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัยทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของบุคคลเชื่อมโยงกันเป็นพลวัตทั้งหมด เพื่อที่จะยอมรับความซับซ้อนนี้ ทฤษฎีของ MoHo จึงเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาชีพ รวมถึงกรอบในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้รับบริการ สร้างความเข้าใจในจุดแข็งและข้อจำกัดในการประกอบอาชีพของผู้รับบริการ  นอกจากนี้ MoHo ยังมองว่าการบำบัดเป็นกระบวนการที่ผู้รับบริการได้รับความช่วยเหลือในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อกำหนดความสามารถในการประกอบอาชีพและอัตลักษณ์ทางอาชีพ 

2. ส่วนประกอบของบุคคล   ​​​​​​​​​​

    MoHoกำหนดแนวคิดของผู้รับบริการที่เชื่อมโยงกัน 3 ประการ คือ ความมุ่งมั่น ความเคยชิน และ สมรรถนะการทำงาน

           ​​​​​​​​​​​1. ความมุ่งมั่น  มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่จะประกอบอาชีพ ความมุ่งมั่นประกอบด้วยความคิดและความรู้สึกซึ่งเกี่ยวข้องกับ สาเหตุส่วนบุคคล  ค่านิยม  และ ความสนใจ ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เราได้รับแรงบันดาลใจให้ทำกิจกรรมใด  ประสบการณ์ ความเจ็บป่วยและความทุพพลภาพสามารถจะแทรกแซงให้เกิดความผันผวนในความมุ่งมั่นได้  นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องประเมินและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องช่วยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีความหมายอย่างตั้งใจ​​​
           2. ความเคยชิน  การกระทำที่เคยชินถูกควบคุมโดยนิสัยและบทบาท     ​​​​ 

          ​             2.1 นิสัย  นิสัยทำให้เราทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย นิสัยเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปนิสัยที่คุ้นเคยก็อาจใช้ไม่ได้ต่อไป  หากเราต้องพบกับการสูญเสียความสามารถใด ๆ นิสัยของเราก็จะสลายไปด้วย ​​​​​​​​

                       2.2 บทบาท  บทบาททำให้เรารู้สึกถึงตัวตนและรู้สึกถึงสิ่งที่เราต้องทำ เช่น บทบาทของการเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นนักเรียน เป็นผู้ปกครอง เป็นต้น การมีความบกพร่องสามารถลดการมีส่วนร่วมในบทบาทชีวิตที่มีความหมาย จุดมุ่งหมายของกิจกรรมบำบัดจึงควรสนับสนุนให้ผู้รับบริการสามารถมีส่วนร่วมในบทบาทที่สำคัญที่สุดหรือจำเป็นสำหรับเขา​​​​​​​​

            3. สมรรถนะการทำงาน   ความสามารถในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสถานะของระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกระบบประสาทระบบหัวใจและปอดและระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนั้นหากระบบดังกล่าวเกิดปัญหา สมรรถนะการทำงานย่อมลดลงหรือหมดไป 

3. สภาพแวดล้อม​​​​​​​​​​

    สภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมอาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบอย่างมากมายต่อคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ ขึ้นอยู่กับ ค่านิยม ความสนใจ สาเหตุส่วนบุคคล บทบาท นิสัย และความสามารถในการปฏิบัติงาน เนื่องจากแต่ละคนมีความแตกต่างกันในสภาพแวดล้อม จึงได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน


ประโยชน์ของ MoHo ต่อการพัฒนากลุ่มเปราะบาง

​​​​​​    1. MoHo เป็นกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดที่ช่วยผู้รับบริการ เข้าใจความสามารถ และความบกพร่องในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของตน   ​​​​​

    2. MoHo ทำให้เข้าใจความสามารถในการประกอบอาชีพและอัตลักษณ์ของผู้รับบริการ ทั้งในอดีตและในสภาพแวดล้อมปัจจุบันของพวกเขา ซึ่งข้อมูลที่ได้ทำให้นักกิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการ สามารถพัฒนาโปรแกรมการบำบัดที่มีความหมายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของผู้รับบริการ

    ​​​3. MoHo ช่วยให้นักกิจกรรมบำบัดเข้าใจความสามารถในการประกอบอาชีพภายใต้สภาพแวดล้อมของผู้รับบริการ ช่วยให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถกำหนดสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้ผู้รับบริการแต่ละคนสามารถประกอบอาชีพได้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและอำนวยความสะดวกในการฟื้นตัว ​​

    4.MoHo เป็นการบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ทำให้ผู้รับบริการเข้าใจตนเองได้ดียิ่งขึ้น สามารถประกอบอาชีพได้ ตามความต้องการและความถนัดของแต่ละคน  เป็นการค้นหาศักยภาพและสร้างคุณค่าในตนเอง ลดความรู้สึกผิดและความไม่มั่นคงในใจ มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นดีขึ้น นำไปสู่ความสุขและความสำเร็จในชีวิต​

สำหรับวันนี้หวังว่าคงพอเข้าใจหลักการของ MoHo กันบ้างแล้ว พบกันใหม่ในโอกาสต่อไปค่ะ

แหล่งอ้างอิง :

https://www.gotoknow.org/posts/684287

https://musculoskeletalkey.com...

หมายเลขบันทึก: 685130เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 02:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท