สุขภาวะที่ดี กิจกรรมบำบัดช่วยได้


    ​สวัสดีค่ะ ดิฉันในฐานะนักศึกษาสาขากิจกรรมบำบัด ขอเสนองานของกิจกรรมบำบัดให้ผู้สนใจได้ทราบว่างานของกิจกรรมบำบัดสามารถขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยได้อย่างไรบ้าง

    ​​​​นักกิจกรรมบำบัดได้นำหลักการและเทคนิคมากมายมาใช้ในการบำบัดและรักษา ในที่นี้ขอกล่าวถึง 2 หลักการสำคัญที่นักกิจกรรมบำบัดคำนึงถึงเป็นอย่างมากคือ

​​​​​​1. Client - centred practice การบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางไม่มีการชี้นำ เกิดจากความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งเป้าหมายของหลักการนี้ เพื่อส่งเสริมการเข้าใจตนเองดียิ่งขึ้น ลดความรู้สึกผิด ความไม่มั่นคงในใจ การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นดีขึ้น รวมไปถึงแรงจูงใจในการบำบัด ความภาคภูมิใจในตนเอง

 ​​​​​​​​​​​​​2. Holistic approach เป็นการมองผู้รับบริการแบบไม่แยกส่วนทั้ง จิตใจ ร่างกาย และ จิตวิญญาณ ซึ่งก็คือ ร่างกายแข็งแรง จิตใจก็ต้องแข็งแรงด้วยนั่นเอง 

    Model of Human Occupation (MoHo) เป็นกิจกรรมบำบัดอย่างหนึ่งที่เน้นการประกอบอาชีพ มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายแง่มุมการมีส่วนร่วมในการประกอบอาชีพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยและความพิการโดยเน้นที่ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มองว่า บุคคลมีความแตกต่างกัน และการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เกิดขึ้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยถือว่าบุคคลเป็นระบบเปิดที่พัฒนาและดำเนินไปในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสภาพแวดล้อมภายนอก   ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดภายในนั้นเป็นแบบไดนามิก เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งเปลี่ยนไป (ทักษะ ค่านิยม บทบาท นิสัย สิ่งแวดล้อม) พลวัตทั้งหมดอาจเปลี่ยนไปในทางที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่ดีต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล  ส่วนประกอบภายในตัวบุคคลที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กัน 3 ส่วน คือ เจตจำนง (volition) อุปนิสัย (habituation) และความสามารถในการประกอบกิจกรรม(performance capacity) โดยมีการพัฒนาแบบประเมินขึ้น ซึ่งรูปแบบของการประเมิน เป็นการให้ผู้รับบริการประเมินตนเอง ที่แสดงถึงการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรม และการให้คุณค่าหรือความสำคัญของกิจกรรมที่ตนเองทำ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ต่อความสามารถในการทำกิจกรรมและการให้ความสำคัญหรือคุณค่าต่อกิจกรรมนั้นๆ นำไปสู่การวางแผนและให้การบำบัดรักษา และใช้ผลของการประเมินเพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาได้ 

ประโยชน์ของ MoHo ต่อการพัฒนาตนเอง (ในฐานะนักกิจกรรมบำบัด) 

    1. MoHo เป็นกรอบในการทำความเข้าใจความต้องการของบุคคลว่าต้องการอะไร เพื่อวางแผนการบำบัดให้เหมาะสม  

    2. MoHo ช่วยทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ของบุคคล ทำให้ได้รายละเอียดที่มากขึ้น

    3. MoHo ช่วยให้การประเมินบุคคลมีความแม่นยำมากขึ้น สามารถเข้าใจความซับซ้อนในความต้องการการประกอบอาชีพของบุคคลนำไปสู่การวางแผน การให้การบำบัดรักษา การติดตามและสรุปผลการบำบัดรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ของผู้รับบริการ

    4. MoHo เน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการในกระบวนการบำบัดรักษา ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการทำให้ทราบถึงการรับรู้ และความต้องการในมุมมองของผู้รับบริการต่อการให้บริการของนักกิจกรรมบำบัด อันจะนำไปสู่ ความร่วมมือระหว่างผู้รับบริการและนักกิจกรรมบำบัด และในที่สุดจะส่งผลดีต่อความก้าวหน้าในการบำบัดรักษา

    5. MoHo ช่วยให้สามารถค้นลึกถึงสาเหตุและวิธีการที่ผู้รับบริการใช้ชีวิตในการทำงานและมีสภาพแวดล้อมอย่างไรทำให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถเข้าใจได้ดีขึ้นว่าอะไรสำคัญสำหรับพวกเขา (เช่นอาชีพของพวกเขา) และนำสิ่งที่ได้มาผสมผสานในการปฏิบัติงานของนักกิจกรรมบำบัด

    6. MoHo ทำให้เข้าใจความสามารถในการประกอบอาชีพและอัตลักษณ์ของผู้รับบริการทั้งในอดีตและในสภาพแวดล้อมปัจจุบันของพวกเขา ซึ่งข้อมูลที่ได้ทำให้นักกิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการสามารถพัฒนาโปรแกรมการบำบัดที่มีความหมายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของผู้รับบริการ

สำหรับวันนี้ดิฉันขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาวะที่ดีด้วย MoHo เพียงเท่านี้ก่อนค่ะ 

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ


แหล่งอ้างอิง :

https://occupationaltherapyot.com/model-of-human-occupation-moho-frame-of-reference/

https://www.gotoknow.org/posts...

หมายเลขบันทึก: 685117เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท