MOHO กับการพัฒนา กลุ่มเปราะบาง "พิการทางด้านร่างกายแต่กำเนิด"


การใช้หลักการMOHO ต่อการพัฒนากลุ่มเปราะบาง

“สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกคน ยังจำกันได้ไหมเอ่ย?? คราวที่แล้วเราพูดถึงประโยชน์ของMOHO กับการพัฒนาตนเอง และในวันนี้ ดิฉันก็จะมาพูดถึงประโยชน์ของMOHO กับการพัฒนากลุ่มเปราะบาง ในบทความนี้จะขอยกเอากลุ่มเปราะบางด้านร่างกาย “พิการแต่กำเนิด” มาเป็นตัวอย่างในการใช้หลักการMOHO ต่อการพัฒนากลุ่มเปราะบางกันนะคะ แต่เอ๊ะ!! ทุกคนสงสัยไหมเอ่ยว่าการพัฒนาทั้งสองกลุ่มนี้เขามีเป้าหมาย หรือการประเมินเหมือนกันไหมนะ?? จะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย………”

  MOHO หรือ (Model of Human Occupation) เป็นเหมือนกรอบการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดที่จะนำมาใช้ในการประเมินกิจกรรมการดำเนินชีวิตของตัวผู้รับบริการสอบถามข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายการรักษา จากปัจจัยต่างๆดังนี้ Assets (สิ่งดี ๆ ในตัวเรา) Liabilities (สินทรัพย์-หนี้สินที่เรามี) Performance (ความสามารถที่แสดงออกมา) Influence (สิ่งที่มีผลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต(Occupational Behavior) เพื่อเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการในการแสดงบทบาทที่มีความหมายในชีวิตใช้สิ่งรอบตัว (PEO) เป็นสื่อในการพัฒนา (Development) + ปรับตัวตามช่วงวัย (Transition)  + สร้างทักษะชีวิต – นิสัยและบทบาทใหม่ (New Normal – Habits & Roles) อ่านมาถึงตรงนี้เราก็จะรู้ได้เลยว่าหลักการและกรอบการใช้นั้นจะเหมือนกับการใช้MOHOเพื่อพัฒนาตนเองเลย  โดยองค์ประกอบที่จะนำมาใช้ในการประเมินก็มีด้วยกัน 7 หัวข้อหลักเหมือนกัน ซึ่งในวันนี้ ดิฉันก็จะขอยกตัวอย่างการใช้หลักการทั้ง 7 ข้อนี้ มาใช้ในการพัฒนากลุ่มเปราะบาง “พิการแต่กำเนิด” จะเป็นยังไงเราไปทำความเข้าใจกันเลยค่ะคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกคน^^

1.Occupational Identity (การแยกแยะคุณลักษณะของบุคคลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต)

ตัวอย่างคำถาม: คุณ ก. (นามสมมติ) อยากจะทำอะไรคะ ในกรณีที่แขนและขาทั้งสองข้างอ่อนแรง ไม่สามารถใช้งานได้สะดวกตามปกติ แต่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่เป็นบางเรื่อง

>>คำถามนี้คือต้องการให้ผู้รับบริการได้มองหาสิ่งที่ตนเองสนใจอยากจะทำหรือให้คุณค่ากับสิ่งนั้น ถึงแม้จะมีความพิการทางด้านร่างกายแต่กำเนิด การที่ผู้รับบริการได้ค้นหาความสามารถของตนเอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการตัดสินใจในการลงมือทำสิ่งต่างๆที่อยู่ในแผนของชีวิต เพื่อให้ผู้รับบริการมีแรงบัลดาลใจในการจะใช้ชีวิตต่อไป

2.Occupational Competence (ศักยภาพหรือความสามารถสูงสุด)

ตัวอย่างคำถาม: คุณ ก. (นามสมมติ) มีความสามารถทำอะไรได้บ้างคะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่จะเกิดปรับตัวต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้จริง (Occupational Adaptation)

>>คำถามนี้จะถามถึงศักยภาพและความสามารถของผู้รับบริการว่าสามรถทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการบำบัดรักษาฟื้นฟูสิ่งที่สามารถทำได้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้จะพิการบกพร่องทางร่างกายแต่กำเนิดแต่ก็ยังมีส่วนอื่นๆที่ยังพอที่จะพัฒนาศักยภาพและความสามารถไปได้

3.Participation (การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม)

ตัวอย่างคำถาม:คุณ ก. (นามสมมติมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการได้ดำเนินชีวิตได้หลายอย่างแบบนี้ แต่รู้สึกทำยากในเรื่องไหนบ้างคะ

>>คำถามนี้ก็คือการถามถึงการมีส่วนร่วม ว่าผู้รับบริการเกิดความสนใจที่จะทำกิจกรรมที่จะพัฒนาตนเองแล้ว ผู้รับบริการได้เข้าถึงกิจกรรมการพัฒนาตนเองจริงไหม มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือป่าว

4.Performance (ความสามารถของผู้รับบริการทำอะไรได้บ้างหรือไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง)

ตัวอย่างคำถาม:คุณ ก. (นามสมมติ) สามารถแสดงความสามารถอะไรบ้างคะ ในการทำกิจกรรมการได้ดำเนินชีวิตได้หลายอย่างแบบนี้ หรือไม่สามารถทำอะไรได้บ้างคะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

>>คำถามนี้คือถามหาความสามารถของตัวผู้รับบริการว่าสามารถทำอะไรได้บ้างหรือไม่สามารถทำได้ในเรื่องไหน เพื่อที่จะทำให้เขารู้หรือเกิดความคิดที่จะหาแนวทางในการปรับตัวได้

5.skills (ทักษะต่างๆที่เราจะใช้ในการทำกิจกรรม)

ตัวอย่างคำถาม:คุณ ก. ต้องฝึกทักษะอะไรเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น

>>คำถามนี้จะถามถึงทักษะเพิ่มเติมของผู้รับบริการในการที่จะนำทักษะต่างๆมาใช้ในการทำกิจกรรม

6.Vituation ,Habituation และ Performance Capacity (เจตจำนงหรือเจตนาหรือความตั้งใจที่เราจะทำจริงๆ การแสดงความรู้สึก/พฤติกรรมในขณะที่เราทำกิจกรรม อุปนิสัยที่เราจะแสดงออกในการทำกิจกรรมที่ผู้บริการเลือกไว้)

>>คำถามนี้เพื่อให้นึกภาพออก ก็ประมาณว่า เมื่อผู้รับบริการอยากจะทำกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อพัฒนาฟื้นฟูความบกพร่องทางร่างกาย ผู้รับบริการก็ต้องมีความตั้งใจทำ ในการตั้งใจทำก็จะมีการแสดงออกของอารมณ์ของผู้รับบริการที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำจนประสบผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายที่ผู้รับบริการตั้งไว้ เป็นต้น

7.Environment (สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวของผู้รับบริการ)

ตัวอย่างคำถาม:คุณ ก. คิดว่าสิ่งแวดล้อมอะไรคะที่จะช่วยให้คุณ ก. เพิ่มทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ใหม่ๆได้เร็วขึ้น

>>คำถามนี้จะรวมถึงทั้งสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้รับบริการหรือไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้รับบริการ ไม่ว่าจะเป็น บรรยากาศหรือคนรอบข้างล้วนมีผลต่อการทำกิจกรรมทั้ง6ข้อในข้างต้น สิ่งแวดล้อมที่มันเอื้อเราอยู่แล้วมันก็ส่งผลดีต่อผู้รับบริการที่จะพัฒนาความบกพร่องทางร่างกายให้ดีขึ้นได้ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อเรา เราอาจจะมีการปรับเปลี่ยนนิดๆหน่อยๆเพื่อให้สิ่งนั้นไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้รับบริการ เพื่อให้การพัฒนากลุ่มเบาะบาง “ทางด้านร่างกายแต่กำเนิด” ได้มีประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เราจะทำได้นั่นเอง เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างwell-being ถึงแม้จะมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ แต่มีความสุขตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งใจทำจนประสบผลสำเร็จนั่นเอง

ขอขอบพระคุณ ที่ติดตามและอ่านบทความนี้จนจบ ขอขอบพระคุณค่ะ

นางสาวอัญชลี กุมภาศรี รหัสประจำตัว 6323008 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 685064เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท