ชีวิตที่พอเพียง 3813. เกณฑ์แห่งอนาคต



หัวข้อบันทึกนี้ได้จากปิ๊งแว้บในระหว่างร่วมประชุมสภา มช. เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๓   วาระรายงานผลการวิจัยเรื่องมหาวิทยาลัย ๔.๐   ที่มีการทำกระบวนการคาดการณ์อนาคต (foresight)   ลงท้ายด้วยการวาดภาพอนาคต ๔ กลุ่ม ด้วยเส้นแบ่ง ๒ แกน    แกนตั้งเป็น mode of interaction   แกนนอน mode of learning    ได้ ๔ พื้นที่อนาคต    เพื่อเอามาคิดต่อว่า driver แบบไหนนำไปสู่ฉากทัศน์ที่เราต้องการ    driver แบบไหนนำไปสู่ฉากทัศน์ที่เราไม่ต้องการ   

วันที่ ๒๑ กันยายน ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนหน่วยบริหารจัดการทุนเฉพาะด้านฯ (ซึ่งก็คือ บพค., บพข., และ บพท.) มีวาระเรื่อง ระบบเพื่อการประเมินศักยภาพทางวิชาการของหน่วยงานวิจัย  เตรียมเข้าสู่ที่ประชุม (แต่ต้องยกไปคราวหน้า)    ผมจึงเสนอแนะวิธีคิดว่า เกณฑ์ประเมิน เป็นหัวใจของการประเมิน    และหากไม่ระวังเราจะใช้ เกณฑ์แห่งอดีต    ซึ่งจะทำบทบาทปิดกั้นการเคลื่อนสู่อนาคตที่แตกต่าง  

ในการพัฒนาประเทศ และองค์กร (รวมทั้งตัวเราด้วย) ต้องสร้าง เกณฑ์แห่งอนาคต  เอาไว้เป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ไปสู่อนาคตที่ไม่เหมือนอดีต แต่คาดเดายาก มีความไม่แน่นอนสูง    คือต้องคิดไปในอนาคต     หาเครื่องมือช่วย และผลักดันให้เราคิดจากกอนาคตกลับมาหาปัจจุบัน    ไม่ใช่คิดจากปัจจุบันไปสู่อนาคต     

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ย. ๖๓


      

หมายเลขบันทึก: 685025เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท