แก้ปัญหาหนี้สินด้วยบัญชีรับจ่ายครัวเรือน


วันนี้ทีมงานพอช.แวะมาคุยที่มวล.นำทีมโดยพี่อิ๊ด กุ้ง พัช ซิ้ม พี่ชินวัฒน์และคุณณรงค์ คงมากจากศตจ.ปชช. ผมชวนอ.บัว อ.หญิง น้องรัตน์และแหม่มร่วมวงด้วย เป็นเรื่องสืบเนื่องจากการคุยกันครั้งก่อน ซึ่งพอช.จะนำแบบจำลองการแก้ไขปัญหาหนี้สินด้วยการทำบัญชีรับจ่ายรายครัวเรือนและการออมวันละ 5 บาทมาดำเนินการ นำร่องที่จ.นครศรีธรรมราช อยากให้อาจารย์เข้าไปร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้และถอดองค์ความรู้ออกมาด้วย ทีมอ.เองมีงานวิจัยการจัดการความรู้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอซึ่งมีประเด็นเรื่องการพัฒนาอาชีพโดยการทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือนเช่นเดียวกัน จึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยวันที่ 4 ก.ค.นี้ จะมีการจัดเวทีเรียนรู้เรื่องนี้ในพื้นที่ตำบลกำโลน นัดหมายกันว่าจะลงไปร่วมประชุมเพื่อกำหนดบทบาทความร่วมมือที่ชัดเจนในพื้นที่

ภีม

หมายเลขบันทึก: 685เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2005 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การทำบัญชีรับจ่าย ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินตนเอง/ครอบครัว ว่าอยู่ในสถานการณ์หรือระดับใด ควรที่จะจัดการกับการใช้จ่ายในครัวเรือนอย่างไร ทำให้ได้รู้ว่า ควรที่จะลดรายจ่าย หรือเพิ่มรายได้ด้วยวธีการใด (คล้ายกับเครื่องมือตารางอิสรภาพ ของ สคส.ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประมินตนเอง)

เอาใจช่วยทีมงาน พอช.และจะติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวนะคะ

ขอบคุณคะ

สำหรับ จ.ตราด หลังจากกลับมาจากลำปาง ก็ลองกระบวนการสร้างตารางประเมินตนเองกับกลุ่มสัจจะฯ คนเข้าร่วมประมาณ 40 คน มาจาก 10 กลุ่ม ทำให้เราได้แง่คิดบางอย่าง ลองเล่าให้ฟังครับ

1 การกำหนดความอยาก เป็นส่วนของเป้าหมายที่เราอยากเป็น แบบนี้จะยากตรงที่เมื่อเราแบ่งกลุ่มย่อยไปคิด แล้วเราต้องทำให้เกิดการตกผลึกความหยากเป็น Key word สำคัญ วันนั้นเราได้ ว่า "เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ จัดสวัสดิการได้ดี"  จากนั้น เราก็ให้ลองคิดว่า การจะบรรลุได้นั้นต้องการปัจจัยอะไร ได้แก่ ความรู้ความสามารถอะไร ก็แบ่งกลุ่ม และสรุปออกมา ได้ 10 ข้อ เป็นปัจจัยที่เขาคิดว่าสำคัญ . เราพบว่า ชาวบ้านคิดถึงปัจจัยที่จำเป็นได้ แต่ต้องชี้แนะมากหน่อย ต้องตั้งประเด็นว่าเรื่อง "การบริหารเงินเหลือ" จำเป็นหรือไม่  คือคุณอำนวยควรต้องคุยกันมาก่อนว่าอะไรที่จำเป็น เผื่อชาวบ้านเขาคิดไม่ออก เราแนะก็จะได้ไปต่อได้

2. ขั้นการให้คะแนน เราประเมินว่าถ้าจะให้ชาวบ้านมาให้น้ำหนักและเงื่อนไขจาก 1-5 คงใช้เวลามาก และคิดยาก เราจึงลองให้เขาให้คะแนนแบบง่าย คือ ดูความรู้สึก 1-5 . ข้อคิดคือ คนที่มาจะคิดจากตัวเอง เขาจะไม่มองภาพรวมของกลุ่ม เช่น ความรู้เรื่องบัญชี  เขาให้คะแนน 5 เพราะคนที่มาเขาเก่งบัญชี  ก็ไม่เป็นไรนะครับ เราก็มาตั้งประเด็นคุยกันตอนสรุปว่า ใครควรไปเท่าไหร่ โดยต้องดูจากภาพรวม  .. อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่า ถ้าจะให้มีการจำแนะรายละเอียด 15 ไว้เป็นคร่าวๆ โดยคุณอำนวยอาจจะเป็นคนทำไว้ก่อน หรือช่วยทำ  หรือจะแบ่งกลุถ่มให้ไปคิดกลุ่มละข้อก็น่าจะได้อยู่

3. เราให้แต่ละกลุ่มกลับไปประเมินใหม่ โดยให้ไปทำในวันทำการกลุ่ม ขอให้สมาชิกมาร่วมด้วยอย่างน้อย 20-30 คน แกนที่มาเขาอยากให้คุณอำนวยลงไปด้วย ก็เข้าทางเราครับ การบ้านนนี้ให้เขาลองทำกันเองและเราเข้าไปช่วยส่วนหนึ่ง  วันที่ 1 จะมีเวทีวันแรก ครับ ทั้งหมดจะมี 10 เวที

4. เราถามเขาว่า วิธีนี้พอได้หรือไม่ ก็พอได้ครับ เราก็บอกว่า เรามีความรู้เรื่องนี้ไม่ดีพอ อยากจะรู้เพิ่ม เลยชวนเขาว่าจะมี work shop 2 วัน เชิญวิทยากรมาร่วมกัน เขาอยากได้ไหม .. ตกลงเขาก็พร้อมจะเข้าครับ เรื่องเชิญสัมมนานี่ จะว่ายากก็ยากนะครับ เพราะเราต้องเอาเขาออกชุมชน บางทีคนที่ไม่เคยออก ไม่อยากออก แต่เราก็จูงใจให้เขาออก  ตกลงจะเชิญอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ไปทำกระบวนการให้ วันที่ 29-30 ส.ค. นี้ครับ

หวังว่าทุกคนสบายดีนะครับ

ธีระ  วัชรปราณี

ในจดหมายข่าวประชาคมวิจัยฉบับล่าสุด อ.หมอวิจารณ์เล่ากระบวนการจัดตลาดนัดความรู้เกษตรธรรมชาติโดยใช้ธารปัญญา คล้ายกับที่ต๋อมเล่ามา น่าสนใจ ผมคิดว่าหลักการนะพวกเราคงเข้าใจกันแล้ว แต่วิธีการต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ลองทำดู ฝึกทำหลายครั้ง แต่ละครั้งทำAARก็จะเพิ่มทักษะมากขึ้น ที่อื่น ๆทำAARการสัมมนาที่ลำปางได้ความรู้อะไรบ้าง เล่าสู่กันฟังบ้างครับ

ภีม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท