สรุปบทเรียนกิจกรรมบำบัด สมดุลของสมองและจิตใจที่มีผลต่อภาวะทางจิตสังคม


สมดุลสมองและจิตใจ ขึ้นกับตัวบุคคลในสิ่งแวดล้อมและการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันในสิ่งแวดล้อม
สมองและจิตใจมีการทำงานเกี่ยวข้องกัน

สมองส่วน Limbic มีผลต่อความมั่นคงทางจิตใจและอารมณ์ เช่น กลัว เศร้า โกรธ หากเกิดอารมณ์เหล่านี้ขึ้น ในทางกิจกรรมบำบัดสามารถตรวจสอบได้ด้วยการถามความรู้สึกตึงบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย โดยให้คะแนนจากน้อยไปมากคือ 0 - 10 หากมีมากว่า 3 ขึ้นไป ควรมีการผ่อนคลายอารมณ์เหล่านี้ ซึ่งทำได้โดยการเคาะอารมณ์ ในส่วนที่รู้สึกตึง

สมองส่วนหน้า (Frontal Brain) มีผลต่อความคิดความเข้าใจทั้งในระดับพื้นฐานที่ส่งผลต่อเจตจำนงค์ พฤตินิสัย การแสดงออก และในระดับสูง เช่น การตัดสินใจ การคิดวิธีแก้ปัญหา หากเกิดความผิดปกติคือมีความคิดผิดพลาด (Thinking errors) ในทางกิจกรรมบำบัดตรวจสอบและบำบัดได้โดย การถามอย่างลึกซึ้ง (5 why) ถาม “ทำไม” หรือ “อย่างไร” อย่างน้อย 5 ชั้น เพื่อให้ผู้รับการบำบัดเกิดการคิดไตร่ตรองถึง Thinking errors นั้น ๆ , Motivational Interview ; MI เป็นการสัมภาษณ์และวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน เน้นให้ผู้รับการบำบัดเป็นผู้คิดวิธีการด้วยตนเองโดยผู้บำบัดคอยชี้แนะแนวทาง , Cognitve Behavior Therapy ; CBT เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเน้นไปที่การปรับมุมมองความคิดของผู้รับการบำบัด

สมองส่วนที่เกี่ยวกับ Sensorimotor (การรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย) รวมทั้งส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสาร ความจำระยะสั้น ในทางกิจกรรมบำบัด สมองส่วนที่กล่าวมามีผลต่อบุคคล ในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม ซึ่งมีระดับต่าง ๆ ดังนี้

  • Comfort zone มีปฏิสัมพันธ์กับตัวเอง รู้สึกสะดวกใจ สบายใจ
  • Safe zone มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อาจเป็นคนในครอบครัว คนรัก เพื่อน บุคคลที่สนิท รู้สึกปลอดภัย
  • Challenging zone มีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม กลุ่มเพื่อน เพื่อนร่วมงาน รู้สึกท้าทายตัวเองต่อการแสดงออกและบทบาทภายในกลุ่ม
  • Risk zone มีปฏิสัมพันธ์ภายนอกกลุ่ม กลุ่มคนภายนอก คนอื่น ๆ ที่ไม่รู้จักกัน รู้สึกไม่สนิทใจ ระแวดระวัง
    หากบุคคลมีความผิดปกติในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมในระดับใด ๆ ในทางกิจกรรมบำบัด ใช้วิธีการบำบัดในแต่ละระดับโดย
    • Comfort zone ใช้วิธี Touch therapy การสัมผัส การกอดตัวเอง
    • Save zone ใช้วิธี Sound therapy มีเสียงให้ได้ยิน พูดคุยกัน
    • Challenging zone ใช้วิธี Cognitive therapy ทำกิจกรรมเพื่อตัดสินใจร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน
    • Risk zone ใช้วิธี Body Movement therapy ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายร่วมกัน เดิน วิ่ง เต้นรำ เต้นสันทนาการ

การทำกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น ย่อมต้องผ่านการคิดด้วยสมอง หัวใจ และลองลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการมีสังคม มีอารมณ์ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อความไหลลื่นในการทำกิจกรรม นำไปสู่การมีภาวะทางจิตสังคมที่ดีของบุคคล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือการมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกลมเกลียวกันภายในครอบครัว เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 684854เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2020 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2020 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท