ทัศนะ: โดยการทำลายศาลเจ้าแม่ทับทิม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์กำลังจะทำลายสิ่งที่เหลืออันสุดท้ายของชุมชน


วันนี้เป็นวันที่ 31 เดือนสิงหาคม มหาวิทยาลัยจุฬาฯมีแผนการในการทุบทำลายศาลเจ้าแม่ทับทิม เพื่อสร้างคอนโดมิเนี่ยม และการพัฒนาเป็นแหล่งสารพัดประโยชน์

ศาลเจ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสวนลุม ส่วนใหญ่ของชุมชนชาวจีนได้ย้ายออกไป หรือถูกขับไล่ เพราะราคาค่าเช่าที่สูงมาก ศาลเจ้าและชุมชนดำรงอยู่ก่อนมหาวิทยาลัยจุฬาฯเป็นเวลาร้อยกว่าปี

สำนักงานจัดการทรัพย์สินมีแผนการในการสร้างคอนโดมิเนียมจำนวน 1,800 ยูนิตบนพื้นที่ศาล พวกเขายืนยันต่อนักศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดว่า พวกเขาจะสร้างศาลใหม่ในสวนจุฬาฯ 100 ปี  และค่าก่อสร้างจะจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน

เดิมทีศาลมีแผนการจะทุบทิ้งในเดือนมิถุนายน แต่ผู้ประท้วง เช่นเยาวชน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกผู้ใหญ่ว่ากล่าวว่าไม่สนใจวัฒนธรรมชุมชน กลับชุมนุมต่อต้านการทุบทิ้ง

นั่นไม่สามารถหยุดมหาวิทยาลัยจากการหยุดการก่อสร้างได้ และมหาวิทยาลัยให้เพียงทางเดินแคบๆไปที่ศาลเท่านั้น มันไม่สามารถหยุดพวกเขาจากการกระจายข่าวผ่านลำโพงว่าศาลจะต้องถูกย้าย และเป็นเช่นเดียวกับรัฐบาล มหาวิทยาลัยกำลังกดดันทางจิตวิทยา

กลยุทธ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ชุมชนท้องถิ่นเคยได้รับการกดดันจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อนี้มาก่อน พื้นที่ หรือสามย่าน เคยมีชุมชนชาวจีนมาก่อน ชุมชนชาวจีนจะมาพร้อมกับศาลเจ้า และตลาดเป็นเวลาหลายร้อยปี (แม้กระทั่ง Henry Kissinger เคยทานที่นี่) แต่ผ่านการที่จุฬาฯวุ่นวายอยู่กับค่าเช่า และห้างซื้อของ รวมทั้งคอนโดมิเนียม พวกคนในชุมชนต้องย้ายออกไป และถูกบังคับให้เปลี่ยนที่อยู่ใหม่  

หากศาลถูกทำลายในวันจันทร์ มันคือการสิ้นสุดของชุมชนทางประวัติศาสตร์

จุฬาฯกล่าวว่าศาลเจ้าต้องเปลี่ยนที่ และจะมีการพัฒนาด้วยสไตล์ทันสมัย ใครล่ะที่ตระหนักรู้ในวัฒนธรรมชุมชนตอนนี้? บางครั้งการที่ศาลเจ้าเป็นสิ่งสำคัญ และได้รับว่าศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันเก่านั่นเอง มันไม่จำเป็นต้องแต้มสิ่งใหม่ๆ หรือสถาปัตยกรรมแบบสมัยนิยม มันต้องการให้ชุมชนมาสนับสนุนมัน และเรื่องต่างๆมาพร้อมกับประวัติศาสตร์

ครั้งหนึ่ง Oscar Wilde เคยเขียนว่า “คนชอบจับผิดคนอื่นๆเห็นว่าทุกสิ่งมีค่าตีเป็นเงินได้หมด แต่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งใดๆ” แน่นอนว่าจุฬาฯเป็นคนที่ชอบผิดคนอื่นๆ ด้วยการจับปลาสองมือกับชุมชนรอบๆมหาวิทยาลัยและศาลเจ้า มันดูเหมือนว่าเป็นสถาบันที่ให้ค่ากับการคิดขั้นสูง ที่เน้นในการอนุรักษ์และรักของเก่า หอคอยงาช้างยังไม่ปรากฏ สำหรับผู้นำมหาวิทยาลัย ที่เอาแต่การคิดเป็นเงินเป็นทอง และบ้าดอลลาร์ คุณค่าทางวัฒนธรรมเป็นคำที่สูงส่ง แต่พร้อมหายไปเมื่อเจอกับความสะดวกสบาย

วันนี้นักศึกษาร่วมกันยืนหน้าศาลเจ้า และพยายามจะหยุดการทุบทำลายให้ได้ เราหวังว่ามหาวิทยาลัยจะคิดเรื่องนี้อีกรอบ 

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Netiwit Chotiphatphaisal. Opinion: By destroying the Chao Mae Tubtim shrine, Chulalongkorn University will be destroying the last traces of community.

 https://www.thaienquirer.com/17725/opinion-by-destroying-the-chao-mae-tub-tum-shrine-chulalongkorn-university-will-be-destroying-the-last-traces-of-a-community/

หมายเลขบันทึก: 681751เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2020 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2020 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท