ทฤษฎี นวัตกรรม


ทฤษฎี นวัตกรรม

              ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า นวัตกรรม มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน จากการศึกษากระบวกการสร้างสรรค์นวัตกรรมจำเป็นต้องนำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้ในแง่การจัดการนวัตกรรม ซึ่งรูปแบบทฤษฎีนวัตกรรม มีดังนี้

               ทฤษฎีนวัตกรรมในแนววิศวกรรม  (the engineering theory of innovation)  ในยุคแรก ทฤษฎีนวัตกรรมมีรากฐานมาจากแนวการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และขบวนการผลิต โดยใช้เทคนิคทางด้านวิศวกรรม เป็นการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมาแทนสิ่งเก่าโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D)

                ทฤษฎีนวัตกรรมในแนวการตลาด  (the market theory of innovation) ความสำเร็จของการสร้างสรรค์ นวัตกรรมเกิดจากข้อมูลการตลาดมากกว่าที่จะมาจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือขบวนการผลิต โดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรม การตลาดจะทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคนิคทางวิศวกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถ้าไม่ได้การยอมรับจากตลาด หรือลูกค้ามีโอกาสน้อยมากที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์นวัตกรรม นั่นคือ นวัตกรรมจะดีอย่างไรก็ตามถ้าหากไม่มีกลยุทธ์การตลาดนำก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้

                ทฤษฎีนวัตกรรมห่วงโซ่ความสัมพันธ์ (the chain link theories of innovation) เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของตลาด และความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่ได้มีลักษณะตรงไปตรงมา มีกลไกสลับซับซ้อน โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบทางวิศวกรรม การผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดซื้อวัตถุดิบ การขาย ไปจนถึงการส่งมอบลูกค้าและการบริการส่งผ่านข้อมูลความต้องการของตลาดจากลูกค้าผ่านผู้ผลิตไปสู่ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ดังนั้นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่ใช้ข้อมูลทางการตลาดเพียงอย่างเดียว

                  ทฤษฎีนวัตกรรมในแนวเครือข่ายเทคโนโลยี (the technology network theory of innovation) องค์การ สถาบันที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ควรจะเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน  มีความเข้มแข็ง ความต่อเนื่องในการเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกันทั้งภายและภายนอก และความเชื่อมโยงทางด้านเทคโนโลยี เชื่อมโยงทางการตลาด และเครือข่ายข้อมูลนวัตกรรม 

                   ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายทางสังคม (the social network theory of innovation) นวัตกรรมจะสร้างสรรค์ขึ้นได้จากความสามารถขององค์กรที่ต้องอาศัยความรู้จากทั้งภายในและภายนอก  การใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่หลากหลายไปใช้ประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพในเครือข่ายสังคมนวัตกรรม นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ และช่วยทำให้เกิดการแพร่กระจายนวัตกรรมไปอย่างรวดเร็วและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

                   ดังนั้น ให้เห็นว่าการจัดการนวัตกรรมไม่ควรที่จะพิจารณานวัตกรรมเป็นการจัดการการประดิษฐ์คิดค้นเฉพาะบุคล แต่ควรมีความสัมพันธ์กับแนวคิดการจัดการการตลาด แนวคิดการจัดการนวัตกรรมเป็นการจัดการความรู้ แนวคิดการจัดการนวัตกรรมเป็นการจัดการห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ไม่เพียงแต่ทุนที่จับต้องได้เท่านั้น เช่น ทุนการเงิน ทุนทรัพยากรมนุษย์ และทุนทางกายภาพ แต่ยังเกี่ยวข้องกับทุนที่จับต้องไม่ได้ที่เรียกว่าทุนทางสังคม โดยทุนทางสังคมจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นความสามารถของนักวิจัยในการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในตัวตน นำมาช่วยในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้ขององค์กร

เอกสารอ้างอิง

นพดล  เหลืองภิรมย์. (2555).  การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ. ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 681411เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2020 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2020 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท