มหากาพย์ความขัดแย้งกับต้นทุนแห่งประชาธิปไตย


มหากาพย์ความขัดแย้งกับต้นทุนแห่งประชาธิปไตย

22 สิงหาคม 2563

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก (ท้องถิ่น) [1]

วิกฤติสถานการณ์บ้านเมืองคราวนี้จะเป็นเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงท้องถิ่นได้หรือไม่อย่างไร จะเรียกว่าวิกฤติอะไรดี เพราะวนอยู่ที่สองขั้วความคิด โดยไม่มีความคิดกลางแต่อย่างไร คาดว่ากระแสจุดติดนี้ต้องลามไปถึงท้องถิ่นอย่างแน่นอน

แฟลชม็อบเด็กและเยาวชนมีมูลเหตุมาจากความขัดแย้งที่ลุกลาม

(1) ปกติแฟลชม็อบประท้วงใดๆ เกิดจากเหตุหลัก 2 ประการ คือ (1.1) ไม่ได้รับ “ความเป็นธรรม” รวมทั้ง “ความไม่ยุติธรรม” ที่สะสมพอกพูน ถือเป็นวิกฤติปัญหาอย่างสำคัญที่รัฐต้องแก้ไข เพราะจะเป็นเหตุวิกฤติศรัทธาของรัฐบาลในที่สุด และ (1.2) กลุ่มผลประโยชน์ขัดแย้งกันทางการเมือง ส่วนประเด็นอื่น เช่น เป็น “กิจกรรมการเมืองของตัวแทน” (Proxy) [2] ของพรรคการเมืองที่ได้ใช้จ้างวาน เห็นว่าเป็นประเด็นรอง แต่ประเด็นหลักล้วนเกิดมาจากความไม่พอใจ ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือของกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าว แล้วจึงพากันมาเรียกร้องหา “เสรีภาพ” ที่ขยายวงกว้างอย่างไม่มีจุดจบ หรือจนกว่าจะแพ้ชนะ

(2) จุดต้นตอต้นเหตุที่คลายม็อบที่เรียกร้องได้ เช่น การกระจายอำนาจ การปฏิรูปกฎหมาย การปฏิรูปกระบวนการการศึกษา การยุติธรรม ฯลฯ เป็นต้น เพราะอำนาจรวมศูนย์ยาวนานก่อให้เกิดแรงกดดันแย่งชิงอำนาจกัน หากได้มีการกระจายอำนาจ ก็จะเป็นการผ่อนคลายความเก็บกดของประชาชน (Repression) [3] ลงได้มาก แต่การผ่อนคลายอย่างหนึ่งอาจเกิดม็อบใหม่อีกอย่างก็ได้ แต่จะเป็นม็อบเฉพาะทางที่ไม่ใหญ่โตเหมือนเช่นม็อบที่เกิดแต่ก่อน เป็นม็อบรายกรณีไป เช่น ม็อบคนผิวสีกับตำรวจ [4] ในสหรัฐอเมริกา หรือ ฝรั่งเศส

(3) แฟลชม็อบกลุ่มนักเรียนนักศึกษาครั้งนี้ ไม่ว่าจะชุมนุมแบบยาวต่อเนื่อง หรือแบบแฟลชก็ต้องมีเสบียงและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ฯ กรณีกล่าวหาว่า มีผู้อื่นอยู่เบื้องหลัง ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในวิถีทางประชาธิปไตย ยกตัวอย่างเช่น ม็อบเรียกร้องขึ้นราคาสินค้าเกษตร ที่มักผสมโรงทางการเมืองอยู่ด้วย หรือ ในกิจการผูกขาดกึ่งผูกขาด ทั้งภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ที่ได้ประโยชน์ล้วนต่างถือข้างกลุ่มม็อบของตน แถมเป็นพี่เลี้ยงท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ให้อีก หรือ ท้องถิ่นหลังมีการถ่ายโอนภารกิจ กลุ่มบุคลาการที่ได้รับผลกระทบต้องเลือกสังกัดหน่วยงาน ก็เกิดม็อบได้เช่นกัน เป็นต้น

(4) ในประการสำคัญเนื่องจากมีเพียงสองขั้วความคิดดังกล่าว การเฝ้าระวังบุคคลที่สามจึงเป็นสิ่งจำเป็นการ “เสี้ยม” [5] ไม่ว่า การโฆษณาชวนเชื่อ การยั่วยุกล่าวหาว่าร้ายใส่ความ (Hate speech) [6] การดูถูกเหยียดหยามเสียดสีเหน็บแนม (Bully, Cyber Bullying) [7] ฯลฯ หรือด้วยประการใดก็ตาม

(5) พึงหลีกเลี่ยงการต่อต้านการข่าว การปล่อยข่าวปลอมโจมตีดิสเครดิต [8] โดยเฉพาะของไอโอ [9] ฝ่ายรัฐ ล้วนเพิ่มวิกฤติความขัดแย้งให้รุนแรงขึ้น รัฐบาลต้องใจกว้างพอ ยอมรับฟังในความเห็นต่าง เพราะมิเช่นนั้นจะเป็นการโหมไฟให้ลุก เช่น ข้อกล่าวหาว่า เด็กชังชาติไม่รักชาติ เด็กก้าวร้าวจาบจ้วง เด็กคิดเองไม่ได้ทำเองไม่เป็น มีผู้ใหญ่ไม่หวังดีอยู่เบื้องหลัง เด็กถูกนักการเมืองหลอก เด็กถูก NGO ครอบงำ เด็กถูกบังคับจากเพื่อน (Bully) ฯลฯ [10] ต้องยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่มีโลกส่วนตัวของเด็กที่ทุกฝ่ายต้องร่วมปกป้องฯ ตามที่ยูนิเซฟเรียกร้อง [11]

ทฤษฎีดอกไม้หลากสี “เลือดใหม่แทนเลือดเก่า”

(1) ดอกไม้ในเมืองที่มีผู้เพาะบ่มย่อมสวยงามหลากหลายสีกว่าดอกไม้ป่าที่ขึ้นเอง ที่ไม่มีผู้เพาะปลูกดูแล เป็นดอกไม้ชนิดเดียวไม่หลากหลายเหมือนเช่นดอกไม้ในเมืองที่สวยงามกว่า เช่นเดียวกับสังคมเมืองประชาธิปไตยที่มีความเห็นหลากหลายดั่งดอกไม้เมืองที่สวยงาม ยิ่งสวยเมื่อเคารพเสียงส่วนใหญ่ ไม่ทำร้ายรังแกและ ยอมรับเสียงส่วนน้อย  

(2) เด็กนักเรียนและเยาวชน (Youth) เปรียบเสมือนดอกไม้เมืองที่บ่มเพาะ ข้อเสนอทั้งวาทกรรมตัวหนังสือ หรือ “ในเชิงสัญลักษณ์” การผูกโบขาว การชูสามนิ้วของเด็กๆ [12] แสดงว่า เด็กมีสิทธิ์เลือกชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของตนได้ แม้ว่าเด็กส่วนหนึ่งอายุไม่ถึง 18 ปียังไม่มีสิทธิทางการเมืองก็ตาม แต่โลกโซเซียลสังคมมิอาจไปปิดกั้นความคิดของเด็กได้ เพราะ “จากรุ่นสู่รุ่น” กำลังรอเด็กกลุ่มนี้เข้ามาทดแทนคนแก่รุ่นก่อนให้ถอยออกไป การต่อสู้เรียกร้องในสิ่งที่คนรุ่นก่อนพยายามต่อสู้ไม่สำเร็จจึงตกมาถึงเด็กคนรุ่นใหม่เจน Z [13] เกิดปี 1997 อายุไม่เกิน 23 ปี หรือจำอย่างง่ายคือเด็กรุ่นปี 2000 ที่เยาวชนต่างยอมรับสภาพสังคมปัจจุบันไม่ได้

(3) ด้วยช่วงห่างของวัยที่ต่อกันจึงเป็นการรวมกันของคน 2 รุ่นคือพ่อคนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennials) หรือคนเจน Y อายุประมาณไม่เกิน 40 ปี และลูกคนเจน Z รวมหัวกันต่อสู้กับคน “รุ่นปู่” รุ่นเก่า คือนับตั้งแต่คนรุ่นเจน X ปรากฏการณ์สังคมคราวนี้ มองอย่างหยาบคือเป็นการต่อสู้ของ “คนรุ่นใหม่” (คนรุ่นลูกกับรุ่นพ่อ) เรียก “คนยุคติจิทัล” ร่วมมือกันต่อสู้กับ “คนรุ่นเก่า” (คนรุ่นปู่รวมรุ่นลุง) เรียก “พ่อลูกร่วมกันทะเลาะกับปู่” ถือเป็นการ “จุดติด” การปฏิวัติสังคมประชาธิปไตย ที่ไม่ผูกพันกับ “อำนาจนิยม”

(4) การต่อสู้ทางความคิดกันในครั้งนี้คนรุ่นใหม่ชนะวันยังค่ำ เพราะในอีก 10-20 ปีข้างหน้าประเทศนี้ก็เป็นของพวกเขา เขายังมีเวลามีแรงยื้อข้อเรียกร้องไปได้อีกกว่า 10 ปี โดยมี “แนวร่วมประชาธิปไตยต่างรุ่น” ร่วมสมทบอีกเรื่อยๆ ส่วนคนรุ่นปู่รุ่นลุงนั้นจะหมดเวลาหมดแรงลงตามอายุขัย หากมีการเลือกตั้งอีกสักสามรอบ (ใน 12 ปี) ก็จะพบว่ามีคนรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่คนรุ่นเก่าที่ต้องตกขอบไปในแต่ละรอบของการเลือกตั้ง เพราะเหตุสูงวัยอายุกว่า 65 ปี ฉะนั้น ถึงอย่างไรก็ตามบ้านเมืองก็ต้องเป็นของคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ในทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ด้วยผู้ลงคะแนนฝ่ายประชาธิปไตยที่มากขึ้น ส่วนคนรุ่นเก่าชอบอำนาจนิยม “เผด็จการ” ก็ทยอยแก่ไป

(5) หากรัฐบาลปล่อยเวลาให้ยาวนาน ฝ่ายประชาธิปไตยก็ยิ่งได้เปรียบ และมีแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตยมากจำนวนขึ้น จึงเปล่าประโยชน์ในการซื้อเวลา ฝ่ายรัฐต้องไม่กระหายอำนาจเหลิงอภิสิทธิชน จนลืมสิ่งที่ได้รับปากไว้กับประชาชน (เช่น อปท.) เพราะการรวบอำนาจไว้ไม่นานรัฐบาลก็จะแตกทุกครั้งไป

มหากาพย์ความขัดแย้งสองขั้วร่วมทศวรรษ

วิกฤติความขัดแย้งความคิดต่างสองขั้ว เสื้อแดง เสื้อเหลือง [14]คือการชุมนุมม็อบใหญ่ที่ผ่านมาในช่วงปี 2548-2557 รวมสามครั้ง คือ (1) ฝ่ายธรรมะ เป็นฝ่ายเรียกร้องหาความเป็นธรรมของคนรากหญ้าคือ “กลุ่มคนเสื้อแดง” และ (2) ฝ่ายอธรรม เป็นฝ่ายไม่เห็นด้วยคือ “กลุ่มคนเสื้อเหลือง” กลุ่มพันธมิตร และ กปปส. มีฐานที่มั่นใน กทม. มีสถานะทางสังคมที่ดีกว่า สวนทางกับฝ่ายธรรมะที่มีแต่คนจน ด้อยโอกาสกว่า เพราะฝ่ายหลังมองว่าฝ่ายแรกมาขัดประโยชน์ตน ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เศรษฐกิจพัง ด้วยแรงหนุนจาก “ชนชั้นกลาง” (Middle Class) [15] เล็กน้อยจำนวนหนึ่ง นักวิชาการ นายทุน และมีอำนาจรัฐ รวมชายชุดดำ ทำให้ฝ่ายอธรรมชนะ

ประชาธิปไตยมีต้นทุนสูง

(1) หากมีเรื่องที่กระทบต่อความสงบสุข ความอยู่รอด และความมั่นคงของรัฐแล้ว ความมั่นคงแห่งรัฐต้องมาก่อนทุกอย่างเสมอ มาก่อนกฎหมายใดๆ และก่อนสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย [16] แต่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องไม่มองเพียงมิติใดมิติหนึ่งว่า สังคมวุ่นวาย เศรษฐกิจพัง ตามกรอบความคิดเชิงอำนาจนิยม เนื่องจากระบอบ “ประชาธิปไตย” มีต้นทุนของตัวของมันเองอยู่แล้ว รัฐต้องมีต้นทุนงบประมาณค่าใช้จ่าย รัฐอย่าได้หวง หรือประหยัดต้นทุน เช่น การเลือกตั้งก็ต้องใช้ทุนครั้งละ 4-5 พันล้านบาท [17] จะบอกว่าประหยัดไม่ต้องเลือกตั้ง หรือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการตั้ง สสร. ผลาญงบฯ ถึง 1.1 หมื่นล้าน [18] หรือ ในกรณีท้องถิ่นไม่ต้องเลือกตั้งก็ได้ มันจึงเกิดความกดดันต่อคนในสังคม ในทางกลับกันรัฐก็ต้องมีต้นทุนป้องกันอื่นที่ตนไม่สนองฝ่ายเรียกร้องด้วยเช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร การรักษาความสงบเรียบร้อยฯสูง เป็นต้น

(2) การเมืองภาคพลเมืองใน “กิจกรรมสังคมแบบประชาสังคม” (Civil Society) [19] โดยการลดระบบตลาดกลาง และเพิ่มตลาดชั้นล่างรายย่อยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อขยายโอกาสให้แก่คนรากหญ้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้มากขึ้น มิเช่นนั้น คนที่ตกอยู่ในภาวะเก็บกดมานานเหล่านี้ก็จะแสดงออกมาในรูปของการประท้วง คนลงถนน ที่สร้างความสับสนยุ่งยากแก่ฝ่ายปกครอง แม้แต่เด็กเยาวชนอายุไม่ถึง 18 ปี ก็ลงถนนกันมากมาย เช่นการชุมนุมของเยาวชนที่ถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563 [20] มีผู้ประมาณคนจากภาพถ่ายว่ามีจำนวน 2-4 หมื่นคน ส่วนใหญ่ 2 ใน 3 เป็นคนหนุ่มสาว และมีเด็กนักเรียนที่มีอายุไม่ถึง 18 ปีจำนวนมาก

(3) โลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดน (Borderless) หรือที่เรียกภาษาบ้านๆ ว่า “โลกโซเซียล” [21] นั้น แนวโน้มของคำว่า “ความเป็นธรรม” (Equity, Fairness) [22] กับคำว่า “ความยุติธรรม” (Justice, Justification) [23] จะเป็นความหมายเดียวกัน หรือมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าเสรีภาพ มิใช่เศรษฐกิจและการเงินในลำดับแรก แต่มีอีกสิ่งที่ต้องแลกกับเสรีภาพคือ “ความมั่นคงและกระบวนการยุติธรรม”

(4) การโหนกระแสย้อนแย้งกับโซเซียลจึงขาดตรรกะและความเชื่อถือลง เพราะกระแสโลก (New Word Orders, Globalization) [24] นั้น การอ้างบริบท (Context) แต่ละสังคมแตกต่างกัน เป็นข้ออ้างที่จะลดคุณค่าลงไปมาก เพราะอาจใช้ไม่ได้ในสังคมโลกปัจจุบันที่มีแนวโน้มว่าสังคมโลกทุกแห่งจะมีความแตกต่างที่ลดน้อยลง จนกระทั่งเหมือนกันในที่สุด

(5) น่าสังเกตว่าการวิพากษ์ตามปรัชญากรอบความคิด (Conceptual) คนไทยไม่ทำกันเพราะมันประหนึ่งย้อนแย้งหลอกตนเองพูดไม่ออก (Inconvenient truth) [25] และสังคมยังมีความเหลื่อมล้ำกันสูง

ชะลอการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกิดประโยชน์

  (1) ความจริงมีว่าพรรคการเมืองเดิมที่เคยคุมท้องถิ่นอยู่ยังคุมอำนาจท้องถิ่นให้ชนะการเลือกตั้งได้ ไม่ว่าในระดับ อบจ. หรือ เทศบาลในเมืองใหญ่ เช่น จังหวัดชลบุรี บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี เชียงใหม่ นักการเมืองท้องถิ่นต่างมีเจ้าของมีสังกัดอยู่ ฉะนั้น คนท้องถิ่นนั้นจึงมีปลอกคอของพรรคการเมืองแล้ว จึงเป็นโอกาสยากที่พรรคการเมืองหน้าใหม่ หรือคนรุ่นใหม่จะไปแย่งชิงยึดพื้นที่ได้ง่าย จึงป่วยการคิดไปว่า ในทุกพื้นที่ต้องเป็นของพรรคฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด หรือ จะรอให้ฝ่ายรัฐบาลได้เปรียบในเชิงพื้นที่เสียก่อน แล้วจะประกาศให้มีการเลือกตั้ง จึงหาเหตุชะลอการเลือกตั้งท้องถิ่นออกไปเพื่อรอให้รัฐบาลได้เปรียบเสียก่อน เพราะหน้าที่ของนักการเมืองก็คือการดูแลประชาชนของตัวเองตามเจตจำนงนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ หากทำไม่ได้หรือไม่ดีก็อย่าหวังว่าประชาชนจะเลือกกลับมาอีก

  (2) ดังนั้น การเลือกตั้งท้องถิ่นจึงจำเป็น ไม่มีเหตุผลที่ฝ่ายรัฐต้องยื้อยืดเวลา ชะลอดึงเลือกตั้งท้องถิ่นไว้ เพราะอย่างไรเสียก็ต้องมีการเลือกตั้ง รัฐจะอ้างความไม่พร้อมไม่ได้ เป็นการคืนการตัดสินใจให้แก่ประชาชนไป เป็นส่วนหนึ่งตามวิถีทางการเติบโตของระบอบประชาธิปไตย เป็นการสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยให้แก่ประเทศด้วย อย่าคาดหวังและเกรงว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีผลกระทบต่อการเมืองระดับชาติ ซึ่งในที่สุดนายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งให้มีการเลือกตั้ง อบจ.ก่อนภายในปีนี้แล้ว [26]

  หวังว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นต้องบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในเร็ววัน

[1]Phachern Thammasarangkoon, Ong-art Saibutra & Watcharin Unarine, ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, สยามรัฐออนไลน์, 5 กันยายน 2563, https://siamrath.co.th/n/179924  

[2]ปัจจุบันการปะทะต่อสู้กันทางความคิดมักใช้ตัวแทน หรือ การหนุนหลังตัวแทนออกหน้า คำว่า “proxy” ในความหมายของ “ตัวแทนที่ทำแทน” คำนี้ใช้ในการต่อสู้ยุคสงครามเย็น คือ “สงครามตัวแทน” หรือ Proxy War เป็นสงครามที่รัฐเล็กๆ ทำสงครามแทนมหาอำนาจ

ดู ถอดรหัส 'proxy crisis' ใครก่อวิกฤติการเมือง?, กรุงเทพธุรกิจ, 23 ธันวาคม 2562, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859308

[3]เท้าความกรณี “ความขัดแย้ง” (Conflict) ที่เกิดมาจากความไม่พอใจ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ฯ มีบทศึกษาที่กล่าวถึง “The Politics of Desire” (การเมืองของความปรารถนา)หรือ “แนวคิดจิตไร้สำนึกทางสังคม (social unconscious) และ ความปรารถนาทางสังคม” (desire)” ที่เป็นปรากฏการณ์นำไปสู่ “การเมืองของความปรารถนาแบบเก่า” (the old politics of desire) ที่ชนชั้นปกครองรัฐไทยได้สร้าง “ประชาธิปไตยแบบไทย” หรือ “อุดมการณ์การเมืองรูปแบบใหม่” เรียก “ความเป็นไทย” (Thainess) ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการเก็บกดปิดกั้นความปรารถนาของประชาชน (desire repression & suppression)

ในที่นี้ผู้เขียนเห็นว่า “ความเก็บกดของประชาชนทางการเมือง” (Repression) หรือ “ความกดดัน” เป็นศัพท์ทางจิตวิทยาที่ใกล้เคียงกับคำว่า “ความคับข้องใจ” (Frustration) เป็นความรู้สึกไม่พอใจ จิตใจเหมือนถูกบีบบังคับ ความขัดแย้งในใจ (Conflict) เป็นความรู้สึกนึกคิดหรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน โดยแสดงพฤติกรรมที่ไม่ สอดคล้องต้องกัน

ดู การผลิตความปรารถนาเพื่อเก็บกดปิดกั้นความปรารถนาของคนในสังคมไทย, ธนศักดิ์ สายจำปา, “การบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล: กฎหมาย ความเป็นธรรม และการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย” (Public Affairs Management in the Digital Era: Legal, Justice and A Return to Democracy), บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 เรื่อง “การเมืองของความปรารถนากับการศึกษาการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” (The Politics of Desire: A Case Study of People’s Alliance for Democracy Movement) ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The Third National Conference on Public Affairs Management in the Digital Era), 1 - 2 พฤศจิกายน 2562 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, https://conference.kku.ac.th/colaimg/files/articles/a14d7-o-45-.pdf  

[4]ดู ประท้วง “สหรัฐ” ม็อบเดือดลามทั่ว ทวง “ความเป็นธรรม” แด่คนผิวสี, Thansettakij, 31 พฤษภาคม 2563, https://www.thansettakij.com/content/436598

& ม็อบนับหมื่น ออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมในฝรั่งเศส(คลิป), nationtv, 3 มิถุนายน 2563, https://www.nationtv.tv/main/content/378779326/   

[5]คำว่า เสี้ยม มีความหมายโดยปริยายว่า ยุแหย่ เช่น พี่น้องต้องทะเลาะกันเพราะมีคนคอยเสี้ยม เมื่อใช้ซ้อนกับคำว่า สอน เป็น เสี้ยมสอน หมายถึง ยุยงให้คิดนึกหรือกระทำการอันไม่ควร เช่น ป้า ๆ น้า ๆ เสี้ยมสอนให้เขาเกลียดแม่เลี้ยง เขาถูกเสี้ยมสอนให้แข็งข้อต่อหัวหน้า : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2551  

[6]การปฏิรูปสื่อเพื่อควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาสื่อที่สร้างความเกลียดชัง (Media Revolution for Stopping Hate Speech), ณัตถยา สุขสงวน วิทยากรปฏิบัติการ บทความวิชาการ, กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒิสภา, สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ ใน วารสาร ปีที่ 4 ฉบับที่ 14 เดือนกรกฎาคม 2557, http://library.senate.go.th/document/Ext7989/7989362_0002.PDF

Hate Speech คือการแสดงออกทั้งทางคำพูด ข้อเขียน และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์รูปแบบอื่นๆ ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมุ่งโจมตี แสดงความเกลียดชัง ประจาน สบประมาท หรือข่มขู่ผู้ถูกกล่าวถึงอย่างร้ายแรง โดยมีฐานอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติชนชั้น ความฝักใฝ่ทางเพศ สถานที่เกิด อุดมการณ์ทางการเมือง กลุ่มวัฒนธรรม ศาสนา หรือคุณลักษณะอื่นที่นำไปสู่การแบ่งแยก

[7]“บิ๊กตู่” ได้รับข้อมูลจากนศ.บางคน ถ้าไม่ร่วมชู 3 นิ้วเคารพธงชาติ จะถูกบูลลี่-กีดกันไม่ให้เข้ากลุ่ม, 18 สิงหาคม 2563, https://www.komchadluek.net/news/politic/440579?adz=

[8]Journalism, ‘Fake News’ & Disinformation: Handbook for Journalism Education and Training, Author : Cherilyn Ireton & Julie Posetti, UNESCO 2018, การเสนอข่าว,‘ข่าวลวง’ และ ข้อมูลบิดเบือน คู่มือเพื่อการศึกษาและอบรมด้านวารสารศาสตร์ โดย เชอริลิน ไอร์ตัน และ จูลี โพเซ็ตต, UNESCO ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2561 (Thai version) แปลโดยกรมประชาสัมพันธ์ จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2563 โดย องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), http://www.mfa.go.th/main/contents/files/news3-20200325-180130-276433.pdf 

& (English version), 05 Apr 2019, https://bangkok.unesco.org/content/journalism-fake-news-and-disinformation-handbook-journalism-education-and-training  & https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000265552 

... คู่มือเล่มนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ลักษณะการหลอกลวง (ข่าวลวง : Fake News) เหล่านี้ อย่างเคร่งครัด นั่นคือในฐานะที่เป็นข้อมูลข่าวสารปลอมประเภทหนึ่งที่แอบแฝงอยู่ในข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้นเรื่อยๆ ...  

[9]'IO' คืออะไร ทำไมรัฐต้องมีปฏิบัติการนี้?, กรุงเทพธุรกิจ, 26 กุมภาพันธ์ 2563, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868029  

“ไอโอ” (IO) ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Information Operation หรือ “ปฏิบัติการข่าวสาร”ซึ่งในอดีตถูกนำมาใช้ชิงความได้เปรียบในการรบหรือการทำสงคราม หลักการสำคัญของ “ไอโอ” คือการเผยแพร่ความคิดและความเชื่อของ “ฝ่ายเรา” ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ และทำให้เกิดความคิดความเชื่อคล้อยตามความประสงค์ของ “ฝ่ายเรา” ขณะเดียวกันก็ต้องหาทางระงับยับยั้ง ขัดขวาง หรือทำลายศักยภาพด้านการ “ไอโอ” ของฝ่ายตรงข้าม หรือ “ฝ่ายศัตรู” เพื่อไม่ให้สามารถเผยแพร่ความคิดความเชื่อต่อกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายของ “ฝ่ายเรา” ได้

[10]ประมวลข่าวเหตุที่บอกว่า “เด็กคิดเองไม่เป็นเด็กคิดผิด”

ดู สว.สมชายแชร์โพสต์อดีตคนหลงผิด เตือนเด็กอย่าโดนคนบ้าการเมืองหลอก, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175731 

& 'หมอวรงค์'นัดนศ.ติวพิเศษ'สถาบันพระมหากษัตริย์กับนักการเมือง ใครทำร้ายประเทศ?'วันนี้, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175732 

& อดีตทูตแฉขบวนการ Mission Impossible แบ่งเค้กประเทศไทยใช้เด็กเป็นหุ่นเชิด, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175734 

& นักแต่งเพลงลั่นอย่าดูถูกสมองเด็ก 6-18 ปี บอกหลายคนเอามาทำงานได้ดีกว่าครม.ทั้งคณะ, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175742   

& จาก'ปิยบุตร'ถึงอนุรักษ์นิยมและรอยัลลิสต์ ยันรักชาติไม่ชังชาติ, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175744

& ภัยคุกคามไทยในสถานศึกษา, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/17587

& เสียงจากม็อบ “การเมือง” ของ “คนรุ่นใหม่” : ตอบโจทย์, ไทยพีบีเอส, 17 สิงหาคม 2563, 
https://www.youtube.com/watch?v=7mvl_gztRr8

ทำไมเยาวชนจึงออกมาชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง เป็นผลงานวิจัยของ ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเพื่ออนาคตของตนเอง

& Thailand students protest government and monarchy, DW News, Aug 11, 2020, https://www.youtube.com/watch?v=ppplN2GHKB8&feature=youtu.be

[11]ยูนิเซฟ เรียกร้องทุกฝ่ายปกป้องเด็กและเยาวชนท่ามกลางการชุมนุมในไทย, 18 สิงหาคม 2563,   https://siamrath.co.th/n/175573   

[12]ป็นนัยยะเชิงสัญลักษณ์ของ 2 คำ (กิจกรรม) นี้ หมายถึงการต้องการสิทธิเสรีภาพ และการต่อต้านเผด็จการ

คำแรก“การผูกริบบิ้นขาวโบขาว หรือ ริบบิ้นขาว” (White Ribbon) สัญลักษณ์แห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีรวมครอบครัวด้วย จากปี ค.ศ.1991 หลังเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยมอนทรีออล แคนาดา จำนวน 14 คน “ริบบิ้นสีขาว” เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ ไปสู่การแสดงออกทางความคิดและจุดยืนการเมือง เพื่อแสดงความเชื่อในความต้องการสันติภาพ

คำที่สอง “การชูสามนิ้ว” มาจากภาพยนตร์อเมริกันดังในปี ค.ศ. 2012 ชื่อ “The Hunger Games” ที่เด็กๆ ในสมัยนั้นได้ดูและเข้าใจบริบทมาพอสมควร ซึ่ง ตัวเอกของเรื่อง ชูสามนิ้ว หรือ Three Finger Salute หรือ Three-finger แทนความหมายว่า ขอบคุณ สรรเสริญ และลาก่อน แต่ต่อมาถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านอำนาจจากเหล่าผู้ปกครอง และเกิดการเลียนแบบ แพร่หลายในหมู่ผู้คนในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว แน่นอนว่าทั้งสองกิจกรรมนี้ย่อมมีความหมายเป็นการเรียกร้องทางการเมืองอย่างไม่ต้องสงสัย

ภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อเด็กรุ่นใหม่เจนแซด (Gen Z)เช่น The Hunger Games (เกมล่าเกม), Avenger, Les Misérables (ชื่อเรื่อง “เหยื่ออธรรม” แปลตรงตัวว่า ผู้น่าอนาถ หรือ ผู้น่าสังเวช เป็น วรรณกรรมภาษาฝรั่งเศสของ Victor Hugo ในศตวรรษที่ 19 ปี ค.ศ. 1862) ที่มีเพลง Do You Hear the People Sing ด้วย

ดู ส.ว.ชี้ปรากฏการณ์นักเรียนแห่ชู 3 นิ้ว “สัญญาณสถาบันครอบครัวจ่อล่มสลาย”, 22 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/176581

& รร.ราชินี สั่งห้าม! นร.เคลื่อนไหวทางการเมือง ลั่น! หากผู้ปกครองไม่พอใจ ยินยอมให้มาลาออก, สยามรัฐ, 21 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/176458

& “โรงเรียนมาแตร์เดอี” แจง กรณีห้าม นร. ชู 3 นิ้ว ลั่น! ไม่เป็นความจริง, 21 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/176502

& บิ๊กป้อมห่วง เด็กชู 3 นิ้ว, 19 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175681

& 'ชูสามนิ้ว' และ 'โบขาว' กับการเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ในประเทศไทย, bangkokbiznews, 19 สิงหาคม 2562, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894280 

& เปิด 2 มุมมอง “ผูกโบขาว-ชูสามนิ้ว” การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในโรงเรียน, 18 สิงหาคม 2562, https://www.thairath.co.th/news/politic/1913011

& อาจารย์ยอมขอโทษแล้ว! รับ รู้เท่าไม่ถึงการณ์หลังตบนักเรียนกลางวงกิจกรรมชู 3 นิ้ว, สยามรัฐ, 17 สิงหาคม 2563, https://siamrath.co.th/n/175368

[13]สรุปการแบ่งกลุ่มประชากรตามแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์ ที่ว่านี้คือ  กลุ่มที่ 1 Baby Boomer หรืออีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 54-72 ปี กลุ่มที่ 2 Gen X เกิดช่วงยุค Millennials ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 38-53 ปี กลุ่มที่ 3 Gen Y อายุระหว่าง 21-37 ปี กลุ่มที่ 4 Gen Z อายุระหว่าง 8-20 ปี เกิดจากพ่อแม่รุ่นใหม่อย่าง Gen-X และ Gen-Y เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้าน

พ้น Gen Z ไป อีกเจนใหม่ที่กำลังมาแรงคือ Gen Alpha เรียกเด็กที่เกิดตั้งแต่ปี 2010 หรือ พ.ศ.2553 เป็นต้นไป พวกเขาเติบโตมาในยุคเทคโนโลยีก้าวหน้า สังคมขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว แรง และขนาดใหญ่ เด็กจะเติบโตท่ามกลางโลกที่หมุนเร็ว

Gen Y กับ Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดช่วงปี ค.ศ. 1986-1995 และให้นิยามเป็นอีกชื่อหนึ่งว่า Generation Me หรือ Gen Me (คำว่า Me ในอีกนัยหนึ่ง หมายถึงตนเอง จึงถูกมองว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมองว่าตัวเองสำคัญที่สุด) นอกจากนี้นักคิดบางท่านให้นิยามกลุ่มนี้อีกชื่อหนึ่งว่า Peter Pan หรือ Boomerang Gen เพราะแนวโน้มที่จะย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่ของพวกเขา อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่จะชะลอการแต่งงานหรือ เริ่มต้นประกอบอาชีพ

ดู Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก - กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 6 กุมภาพันธ์ 2562, https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251

[14]วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์การเมืองไทย_พ.ศ._2548–2553 

& วิกฤตความขัดแย้ง...ชะตากรรมม็อบสีเสื้อ, ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม, โพสต์ทูเดย์ รายงานพิเศษ, 18 สิงหาคม 2563,  https://www.posttoday.com/politic/report/597998 

[15]ส่วนชนชั้นกลางที่หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ระหว่างชนชั้นสูงกับชนชั้นล่าง บางทีอาจจะเรียกคนเหล่านี้ได้ว่า “เสรีชน” หรือคนที่ไม่ขึ้นกับใคร นักรัฐศาสตร์ (ฝรั่ง) เชื่อว่าชนชั้นกลาง คือผู้สร้างระบอบประชาธิปไตย สังคมที่จะเป็นประชาธิปไตยจะต้องมีประชากรที่เป็นชนชั้นกลางมากๆ หรือถ้าจะสร้างชาติให้เป็นประชาธิปไตยก็จะต้องสร้างชนชั้นกลางนี้ให้มากขึ้นในประเทศนั้น

ดู ตกลงแล้ว…แค่ไหนถึงเรียกว่า”ชนชั้นกลาง”, Middle Class, thevapor.world, 29 กันยายน 2562, https://thevapor.world/2019/09/29/middle-class/

& ชนชั้นในสังคมไทย, โพสต์ทูเดย์, 19 ธันวาคม 2553, https://www.posttoday.com/politic/analysis/65590 

[16]“อะไรสำคัญกว่าเสรีภาพ” อ้างจากเฟซบุ๊ก ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์, 13 มีนาคม 2563  

[17]เปิดงบประมาณที่ใช้ในการจัด การเลือกตั้ง 2562, iTAX media, 22 เมษายน 2562,  https://www.itax.in.th/media/งบเลือกตั้ง-2562/ 

การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ใช้งบประมาณ (ที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของ กกต ถึงวันที่ 4 เมษายน 2562) ไปทั้งหมด 4,095,838,188 บาท  

[18]'สว.คำนูณ'ชำแหละสสร.ฉบับพรรคฝ่ายค้านผลาญงบฯ1.1หมื่นล้าน, 19 สิงหาคม 2563,   https://siamrath.co.th/n/175735    

[19]การเมืองภาคประชาสังคมในยุค 4.0, ผศ.ดร.ธงชัย สิงอุดม, วิทยาลัยสงฆ์เลย มจร. mcu, 17 พฤษภาคม  2562, http://ir.mcu.ac.th/content/2562/23.pdf 

ประชาสังคม หรือ Civil Society เป็นแนวคิดที่มีเป้าหมายเพื่อการมีสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยเป็นแนวคิดที่กว้าง จึงมีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย โดยทั่วไปประชาสังคม หมายถึง พื้นที่หรือส่วนของสังคมที่มีประชาชนเป็นผู้แสดงบทบาทหลัก พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับ และภาคธุรกิจเอกชนที่เน้นดำเนินงานโดยมุ่งแสวงหาผลกำไรในพื้นที่ประชาสังคม ประชาชนทั่วไปเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการที่เป็นอิสระจากภาครัฐ และอยู่นอกบริบทการแข่งขันทางการเมือง

[20]กรอบความคิดที่ว่า “เด็กคิดเองไม่เป็นเด็กคิดผิด” เป็นกระแสที่ท้าทายเด็กรุ่นใหม่มาก มีคำถามหนึ่งที่ถามเด็กว่า เหตุใดเด็กจึงลงถนน คำตอบที่ได้คือ “เด็กไม่อยากเห็นอนาคตของตนเองในโอกาสข้างหน้าเมื่อเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ 

ดู รวมภาพบรรยากาศการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม, 16 สิงหาคม 2563, https://www.matichon.co.th/politics/news_2309914   

[21]โลกไร้พรมแดน ก็คือ โลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เราสามารถพบปะเพื่อนฝูง เครือญาติ เพื่อน โดยอาจไร้ตัวตนของคนที่เราสื่อสาร เป็นนิยามของคำว่าติดต่อกัน เพื่อมิตรภาพที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ไม่เลือกเชื้อชาติ ชนชาติ ศาสนา เพศ อายุ และการสื่อสาร อยู่ที่ไหนก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ หากเรารู้จักกันจากเพื่อนของเพื่อน รวดเร็วฉับไว ทันต่อข่าวสารทั่วโลก ทำให้เรารู้ข่าวสารสิ่งต่างๆได้อย่างง่ายดาย  สามารถนำไปใช้ศึกษาเรียนรู้ในชีวิตประจำวันได้เลย

การสื่อสารไร้พรมแดน คือโลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เราสามารถพบปะเพื่อนฝูง เครือญาติ เพื่อน โดยอาจไร้ตัวตนของคนที่เราสื่อสาร เป็นนิยามของคำว่าติดต่อกัน เพื่อมิตรภาพที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ไม่เลือกเชื้อชาติ ชนชาติ ศาสนา เพศ อายุ และการสื่อสาร อยู่ที่ไหนก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

ดู โลกไร้พรมแดน, https://sites.google.com/site/lokriphrmdaen001/home/lok-ri-phrmdaen-khux

& ความหมายการสื่อสารไร้พรมแดน, 23 มกราคม 2560, https://pattarablog.wordpress.com/

[22]ความยุติธรรม, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://th.wikipedia.org/wiki/ความยุติธรรม

ความยุติธรรม (Justice)เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ความสมเหตุสมผล กฎหมาย กฎหมายธรรมชาติ ศาสนา ความเที่ยงธรรม (equity) และความเป็นธรรม (fairness)

[23]มีอีกคำคือคำว่า “Legitimacy”หรือ “ความชอบด้วยกฎหมาย” หรือ “ความชอบธรรมตามกระบวนการของกฎหมาย”

ความยุติธรรมประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้

1) ความถูกต้อง: กฎหมายถือเป็นกติกาของสังคม เมื่อผู้ใดไม่ได้ทำผิดกติกา ก็ย่อมถือว่าได้ทำถูกต้องแล้ว จึงแสดงให้เห็นว่าความถูกต้องมีกฎหมายเป็นเครื่องชี้นำ และเมื่อเป็นเช่นนี้ ความยุติธรรมจำต้องมีความถูกต้องตามกฎหมาย

2) ความชอบธรรม: เมื่อรัฏฐาธิปัตย์ได้รับอำนาจ การใช้อำนาจต้องเป็นที่ยอมรับของสาธารณะ อันกระทำตามหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ (Natural Justice) ของอริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ โดยถือว่าความยุติธรรมอันเป็นสากลไม่ขึ้นอยู่กับมาตรการที่มนุษย์ตกลงกำหนดขึ้น หากสิ่งใดที่เป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ผู้ใดก็มิอาจจะลิดรอนได้. ความยุติธรรมจึงต้องสอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อไม่เป็นการตัดทอนความเป็นธรรมอันมนุษย์พึงต้องมี

3) ความมีเหตุผล: ตามตรรกวิทยากฎหมาย คือการใช้เหตุผลเพื่อให้สังคมเกิดความยอมรับและรับฟังในเหตุผลได้ โดยต้องมีความสัมพันธ์ ที่คล้อยตามกันในทางความคิดที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ด้วยสติปัญญา ไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความรู้สึก. หากความยุติธรรมปราศจากเหตุผลบุคคลในสังคมย่อมขาดความเชื่อมั่นในความยุติธรรม

ความยุติธรรมเปรียบเสมือนหัวใจของกฎหมายที่จะแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะกฎหมายดำรงอยู่ได้ด้วยความยุติธรรม และกฎหมายจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อสังคมเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่มีความยุติธรรมอีกต่อไป. ในขณะเดียวกัน การใช้ความยุติธรรมต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ เพื่อให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นและสามารถบังคับให้ปฏิบัติตามได้. ในทางตรงกันข้าม ความอยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อความเท่าเทียมกันถูกทำให้ไม่เสมอภาค และเมื่อความไม่เท่าเทียบ แฝงทำให้กลายเป็นความเท่าเทียมกัน

ดู ความยุติธรรมหมายถึงอะไรในด้านกฎหมาย ?, Vichyapoo Kittikunpakorn, 8 พฤศจิกายน 2561, https://medium.com/@vichyapoo/ความยุติธรรมหมายถึงอะไรในด้านกฎหมาย-44dd29049cfa

& ทฤษฎีของความยุติธรรม (Theory of Justice), ดร. วิชช์ จีระแพทย์, อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายบริหารจัดการความรู้, http://www.ago.go.th/articles_59/articlevit_150959.pdf

[24]โลกาภิวัตน์ เป็นคำเดียวกับโลกานุวัตร (globalization) ในวันนี้ หมายถึงการที่ทุกดินแดน ทุกชาติพันธุ์ สามารถเชื่อมต่อสื่อสารทั้งโลกถึงกันได้หมดด้วยเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศ เช่นอินเทอร์เน็ต ระบบดิจิทัล...ทำให้การเดินทาง การคมนาคม ขนส่ง สู่กัน ทั้งเฉพาะบุคคล ชุมชน สังคม รัฐบาล หน่วยธุรกิจ สามารถเชื่อมสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมถึงกันหมด

New World Order คือการจัดระเบียบโลกใหม่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศเจริญแล้วกับประเทศล้าหลัง หรือประเทศที่ยังต่ำระดับต่อประเทศเจริญแล้ว

ดู Anti Globalization คือ New World Order ?, dokbiaonline นสพ. ดอกเบี้ยธุรกิจ, 15 มิถุนายน 2563, https://www.dokbiaonline.com/post/anti-globalization-1   

[25]คำว่า “Inconvenient แปลว่าเหตุอันทำให้เกิดความยุ่งยาก และเป็นปัญหาต่อความจำเป็นในการดำรงชีวิตของเรา ฉะนั้น “Inconvenient Truth ก็น่าจะแปลว่าความจริงที่เป็นปัญหา เป็นความยุ่งยากต่อชีวิตของเรา: จาก ภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่งได้รับรางวัลออสการ์ ชื่อเรื่อง Inconvenient Truth เป็นผลงานชิ้นหนึ่งของ อัล กอร์ นอกเหนือไปจากการก่อตั้งวงคอนเสิร์ท และการสัญจรไปตามหัวเมืองสำคัญๆ ของโลก เพื่อการปราศรัย

ในที่นี้ผู้เขียนขอแปลคำว่า “สิ่งที่ย้อนแย้งหลอกตนเองพูดไม่ออก” ว่า  “Inconvenient truth คือ ความจริงที่ไม่มีใครอยากรับรู้” (กรมประชาสัมพันธ์ใช้คำแปลคำนี้ จากเอกสาร UNESCO, 2563, อ้างแล้ว)

ดู ความจริงที่เป็นปัญหา, เรื่องโดย : บรรเจิด ทวี, คอลัมน์ : เล่นท้ายเล่ม, นิตยสาร FORMULA ฉบับเดือน กันยายน ปี 2551, https://www.autoinfo.co.th/article/78827/

& An inconvenient truth is what it sounds like: Something that's true but inconvenient. Typically the inconvenience comes down to having to take responsibility for something, or at least in admitting that the excuse you've been using doesn't hold up. It's an inconvenient truth that smoking is rather bad for your health.

What does the phrase 'inconvenient truth' mean? – Quora : Daniel Nebdal, works at Oslo Universitetssykehus, Answered August 30, 2017, https://www.quora.com/What-does-the-phrase-inconvenient-truth-mean#:~:text=An%20inconvenient%20truth%20is%20what,rather%20bad%20for%20your%20health.  

[26]“ประยุทธ์”เล็งจัดเลือกตั้งอบจ.ก่อน สั่งทำให้ได้ในปีนี้, 18 สิงหาคม 2563, https://www.matichon.co.th/politics/news_2312438   



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท