ธรรมชาติการทำงานของนักสาธารณสุขในชุมชน


ผมเป็นนักสาธารณสุข และในช่วง 10 ปีมานี้ ผมเริ่มสนใจการวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือที่เรียกกันว่า action researchด้วยเหตุผลหนึ่งเพราะเห็นว่าธรรมชาติของ action research สอดคล้องกับธรรมชาติการทำงานของนักสาธารณสุขในชุมชน 4 ข้อ คือ

  1. มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเพราะ action research ไม่ใช่การศึกษาในระดับของความรู้ความเข้าใจในปัญหาเท่านั้น แต่หมายถึง การลงมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและอย่างเป็นระบบ
  2. เน้นการมีส่วนร่วมเพราะนักวิจัย action research จะไม่คิดแล้วทำอยู่คนเดียว แต่จะเชื้อเชิญเพื่อนร่วมงาน กลุ่มองค์กร และเพื่อนพี่น้องในชุมชนให้มาร่วมกันคิดแล้วทำเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ร่วมกัน
  3. สร้างการเรียนรู้ เพราะ action research ไม่ใช่การวิจัยที่มาร่วมคิดร่วมทำแล้วจบ แต่ต้องเรียนรู้จากงานที่ทำ และตระหนักว่า บทเรียนที่ได้คือของมีค่า เป็น inside out ที่ข่วยเพิ่มพลังอำนาจให้ชุมชนและตัวนัก วิจัย
  4. ให้ความสำคัญกับทุกๆ ระบบของชุมชน เพราะ action research ถือว่า บริบท คือตัวกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ของบริบทก็เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของ action research ด้วย

ธรรมชาติการทำงานทั้ง 4 ข้อนี้เองที่ทำให้นักสาธารณสุขในชุมชนมีจุดยืนในการทำงานสาธารณสุขอย่างสง่างาม และจะว่าไปแล้วก็เป็นความหวังเดียวที่ดูแจ่มชัดที่สุดในปัจจุบันที่พอจะทำให้เกิดการพัฒนาสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนได้จริง

หนังสือ #วิจัยเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชน โดย จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หมายเลขบันทึก: 680771เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2020 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2020 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท