การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ


ชื่อเรื่อง :  การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการ

           เรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนราษีไศล

               จังหวัดศรีสะเกษ 

ผู้วิจัย    :  สถิต  ศรีหะจันทร์, โรงเรียนราษีไศล  อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ   ปีการศึกษา

    2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตร  3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น  โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย  ดังนี้

ขั้นตอนที่  1  การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือนักกีฬาฟุตซอล จำนวน  2  คน  โค้ชหรือผู้ควบคุมทีมกีฬาฟุตซอล จำนวน 5 คน และครูผู้สอนพลศึกษาจำนวน  3  คน ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนากีฬาฟุตซอล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis)     

ขั้นตอนที่ 2  การสร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาฟุตซอล จำนวน  5 คน สำหรับศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อนำมาจัดทำเป็นสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาฟุตซอล (In-depth Interview Form) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis)                   2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา จำนวน  5  คน พิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าเฉลี่ย  ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

ขั้นตอนที่  3  การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2  ที่เลือกเรียนรายวิชาฟุตซอล ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2561 จำนวน  30  คน   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1)  แบบประเมินทักษะด้านกีฬาฟุตซอลก่อนและหลังเรียน 2)  แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test)  แบบไม่เป็นอิสระและค่าเฉลี่ยร้อยละ (%)

ขั้นตอนที่  4  การประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) นักเรียน จำนวน 30 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและแบบสอบถามความเหมาะสมของหลักสูตรต่อการนำไปใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  ()  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  () 

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้กีฬาฟุตซอลที่พบคือครูยังใช้รูปแบบการสอนหรือฝึกซ้อมแบบเดิม ขาดการนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ นักเรียนขาดทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอลที่ถูกต้อง    นักเรียนขาดวินัย ความรับผิดชอบในการฝึก  การพัฒนากีฬาฟุตซอลนักเรียนควรได้รับการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ การส่ง การหยุดลูก การเลี้ยงและครอบครองบอล การป้องกันขัดขวางคู่ต่อสู้ การยิงหรือทำประตู  การป้องกันประตูและทักษะการเล่นระบบทีมสำหรับแข่งขัน  คุณลักษณะพึงประสงค์ในการเล่นกีฬาฟุตซอลคือ ความมีระเบียบวินัย  ใฝ่รู้ มุ่งมั่นตั้งใจในการฝึกซ้อม  เคารพกฎ กติกา  มีน้ำใจเป็นนักกีฬาและมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพนักกีฬา ครูผู้สอนควรพัฒนาเทคนิคการสอนและนวัตกรรมเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนากีฬาฟุตซอล

2.  หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบ คือ  วิสัยทัศน์ของหลักสูตร  หลักการของหลักสูตร จุดหมายของหลักสูตร  เกณฑ์การใช้หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา  การจัดหน่วยการเรียนรู้    โครงสร้างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   แนวการวัดผลประเมินผล และ แผนการจัดการเรียนรู้  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและองค์ประกอบต่าง ๆ มีความสอดคล้องกันทุกข้อ

3.  ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ  พบว่า

3.1 นักเรียนมีคะแนนทักษะกีฬาฟุตซอลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2  นักเรียนมีคะแนนทักษะกีฬาฟุตซอลผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดคือมีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75  จำนวน  30  คน จากนักเรียนทั้งหมด  30  คน  คิดเป็นร้อยละ  100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80  ที่ตั้งไว้

3.3  นักเรียนมีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 84.35  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

4.  การประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า

4.1  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากหลักสูตรที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

4.2  ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

หมายเลขบันทึก: 680075เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2020 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2020 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท