เรียนรู้เรื่องธาตุอาหาร จากคลิปบรรยายของ รศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา


ผมกำลังศึกษาและพัฒนาตนเองโดยใช้แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้ "สาโนนนาโมเดล" ทำเกษตรอินทรีย์โดยใช้ความรู้ทางเคมีมาช่วยในการทำเกษตรปลอดเคมี ท่านใดสนใจติดตามเพจเฟสบุ๊คได้ที่นี่

ช่วงนี้ผมกำลังสนใจความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับพืชและอาหารพืช จากการสืบค้นเรียนรู้จากกูเกิล ผมพบว่า คลิปบรรยายของ รศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคลิปหนึ่ง  เพื่อให้ตนเองได้เรียนรู้ลึกและละเอียดมากขึ้น จึงจับประเด็นมาไว้ เผื่อท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์ด้วยครับ

ความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นต้องทราบ

  • อาหารพืชมี ๑๗ ชนิด แบ่งตามปริมาณที่พืชต้องการเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ 
    • ธาตุที่ใช้เยอะ ๙ ตัว (มหธาตุ) ได้แก่  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กัมมะถัน (๖ ตัวนี้ได้จากในดิน) ไฮโดรเจน ออกซีเจน และคาร์บอน (สามธาตุนี้ได้จากในอากาศ)
    • ธาตุที่ใช้น้อย (แต่ต้องมี เรียกว่า จุลธาตุ) ๘ ตัวได้แก่ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โมลิบดินัม คลอรีน นิกเกิล และโบรอน
  • ธาตุในโตรเจน
    • มีอยู่ในอินทรีย์วัตถุมาก  ส่วนในหิน ในแร่ มีน้อยมาก  
    • จุลินทรีย์จะเป็นผู้ย่อยและนำไนโตรเจนออกมาจากอินทรีย์วัตถุ ที่ละน้อย ๆ ช้า ๆ 
    • ในพืชตระกูลถั่วจะมี จุลินทรีย์ชื่อ ไรโซเบียม จะตรึงไนโตรเจนมาไว้ในปมราก 
  • ฟอสฟอรัส 
    • มีอยู่ในหินและแร่มาก มีในอินทรีย์วัตถุน้อยมาก 
    • จะถูกตรึงไว้ในดิน ปลดปล่อยช้ามาก พืชไม่สามารถนำมาใช้ได้ 
    • ในดินมีเชื้อราชนิดหนึ่งชื่อ ไมครอไรซ่า จะขอน้ำตาลจากรากพืช แล้วดูดธาตุอาหารจากดินมาให้พืช  (ซื่อสัตย์มาก)
    • ความเป็นกรด-ด่างของดิน มีผลต่อการปลอปล่อยฟอสฟอรัสของดินมาก  
    • ถ้าดินเป็นกรดมาก จะทำปฎิกิริยากับเหล็ก อะลูมิเนียม ตกตะกอน พืชดินไม่ได้
    • ถ้าเป็นด่างมาก จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียม แมกนีเซียม หรือปูน ไม่ละลายน้ำ พืชจึงกินไม่ได้
  • โพแทสเซียม
    • มีในหินและแร่เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส ปุ๋ยอินทรีย์มีโพแทสเซียมน้อย และถูกตรึงไว้ไม่ให้พืชกิน เช่นกัน
  • ถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างรุนแรงจะแสดงอาการออกมาทางใบ ถ้าเป็น NPK จะแสดงออกที่ใบล่าง หรือใบแก่ ดังนี้ 
    • ถ้าขาดไนโตรเจน ใบจะเหลืองทั้งใบ 
    • ถ้าขาดฟอสฟอร์รัส ใบจะเป็นสีม่วง
    • ถ้าขาดโพแทสเซียม จะเริ่มเหลืองขอบ ๆ ใบ
ความรู้เชิงลึกของนักวิชาการ

  • หน้าที่ของธาตุไนโตรเจน
    • ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิล ที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างโปรดตีนและเอนไซม์ เมื่อขาดไนโตรเจน จึงไม่สามารถสร้างคลอโรฟิล จึงไม่เขียว จึงเหลืองนั่นเอง เมื่อขาดเอนไซม์เซลพืชหยุดเจริญเติบโต 
    • ดีเอนเอ มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ 
    • ฮอร์โมนพืช ๒ อย่างที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ไซโตไคนินที่ใช้ในการแบ่งเซล์ และออกซินที่ช่วยให้เซล์โตขึ้น  เมื่อขาดไนโตรเจนพืชจึงไม่โต แกร็น
    • ไนโตรเจน จำเป็นสำหรับโมเลกุลสัญญาณ คือ ไนทริกออกไซด์ มีความสำคัญต่อการงอก การทำงานของฮอร์โมนพืช  ควบคุมการทำงานของเซล์ในเรื่องต่าง ๆ 
  • หน้าที่ของฟอสฟอรัส 
    • เป็นองค์ประกอบสำคัญของ DNA ซึ่งทำหน้าที่สร้าง RNA ซึ่งทำหน้าที่สร้างโปรตีน อันเป็นหัวใจของการสร้างเอนไซด์ ที่ควบคุมทุกอย่าง
    • เป็นองค์ประกอบของ สารพลังงานสูง (ATP) ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเคราะห์สารอาหารทุกชนิดและการหายใจ การดูดธาตุอาหาร 
    • ดังนั้นถ้าขาดฟอสฟอรัส พืชจึงไม่โต
  • หน้าที่ของโพแทสเซียม
    • ทำหน้าที่เปิดปากใบ  ถ้าปากใบไม่เปิด ก็คายน้ำไม่ได้ คายน้ำไม่ได้รากก็ดูดน้ำไม่ได้ เมื่อดูดน้ำไม่ได้ ก็ลำเลียงธาตุอาหารขึ้นข้างบนไม่ได้  
    • ดังนั้นโพแทสเซียม (และโบรอน) จึงเป็นกลไกของการลำเลียงอาหารของพืช ถ้าแบ่งอวัยวะของพืชออกเป็นผู้สร้างและผู้ใช้  ผุ้สร้างอาหารคือใบ ผู้ใช้คือราก ยอดอ่อน ดอก ผล ซึ่งถ้าขาดผู้ส่งอาหาร จึงไม่ออกดอกออกผล
    • เมื่อใบพืชเจอเชื้อโรค พืชจะสั่งให้ทุกเซล์สร้างสารปฏิชีวนะขึ้นแล้วส่งไปทั่ว ดังนั้นโพแทสเซียมจึงมีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันโรคมาก 
วันนี้พอแค่นี้ครับ .... เจอกันใหม่
หมายเลขบันทึก: 679259เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2020 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2020 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท