งานวิจัยจะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ยาก


“งานวิจัยจะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ยาก” จากบทความของ รศ.ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ เรื่อง “จะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร”ซึ่งทำให้เห็นภาพของการทำงานวิจัยได้อย่างเป็นระบบมาก และที่สำคัญเป็นการต่อยอดงานสอนที่ทำอยู่แล้วมาผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองทบทวนอย่างถูกหลักวิชาการ ผู้เขียนเห็นว่า เป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนระดับปริญญาโทได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้เขียนเอง แม้ว่าจะเคยผ่านการทำวิจัยมาบ้าง แต่คราวนี้ เมื่อได้มาเรียน สาขาการศึกษาพิเศษ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่า เป็นการเรียนรู้ในสิ่งที่มีมีใจอยากจะเรียนเพราะต้องการนำความรู้ไปช่วยเหลือเด็กๆและครอบครัว บทความของ รศ.ดร. ภาวิณี จึงนับได้ว่า สร้างแรงผลักให้ผู้เขียน เปรียบดั่งเทียนส่องสว่างกลางสายฝนเลยทีเดียว ผู้เขียนเอง ณ ตอนนี้ เพิ่งเริ่มดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งมีอยู่ความดูแลในฐานะครูประจำชั้นอยู่ 5 คน เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อยู่ 4 คน และมีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 1 คน ผู้เขียนจึงเริ่มจากการทบทวนตัวเองเกี่ยวกับการสอนที่ประสบความสำเร็จ จึงได้ค้นพบว่า ยังไม่มีการสอนอย่างเป็นทางการที่ประสบความสำเร็จ เพราะเพิ่งดูแลเด็กพิเศษได้ยังไม่ถึงเดือน แต่สิ่งที่พบว่า ประสบความสำเร็จคือ การอธิบาย การให้เหตุผลสามารถช่วยให้เด็กสามารถเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดออกมาโดยที่ไม่รู้ตัว เข้ามาบอกว่า ครูครับ ถ้าผมหลุดคำพูดอะไรออกไป ครูช่วยเตือนผมด้วยนะครับ เด็กที่เคยถูก Bully ลดความหวาดกลัวการเข้าสังคมลง หลังจากที่หยุดเรียนไป 1 ปี เนื่องจากถูกเพื่อนล้อ แกล้ง ทั้งวาจาและการใช้ความรุนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้เขียนเริ่มเห็นแนวทางที่จะนำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยในอนาคตได้ ตามลำดับคือ 1. ค้นหาการสอนที่ตนประสบความสำเร็จ 2. เขียนข้อมูลที่สอน (เล่างานที่ทำสำเร็จ)
3. เขียนวัตถุประสงค์ของเรื่องที่สอนเป็นข้อๆ
4. เขียนพฤติกรรมที่คาดหวังในวัตถุประสงค์ของเรื่องที่สอนแต่ละข้อ 5. เขียนกิจกรรมการสอน และการประเมินพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 6. เขียนรายงานผลการประเมินพฤติกรรมตามวัคถุประสงค์รายบุคคล7. เขียนบรรยาย การพิจารณาการสอนของตนเอง8. ถ้าในข้อ 7 มีสิ่งที่ต้องการ จะทำอย่างไร9. น่าจะเกิดความคิดที่จะทำวิจัยในชั้นเรียนซึ่งทั้ง 9 ข้อ ผู้เขียนจะนำไปปรับเป็นกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป ผู้เขียนมั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้การทำวิจัยของผู้เขียนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างแน่นอน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่า จะต้องทำเพิ่มเติมคือ การศึกษาค้นคว้า การอ่านบทความ งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และจะนำไปสู่งานวิจัยชิ้นต่อๆไป ได้อย่างแน่นอน ….กล่าวโดยสรุปแล้ว หากท่านต้องการทำงานวิจัยให้สำเร็จ…ควรเริ่มจากการสำรวจต้นทุนของตัวท่านเองเสียก่อนว่า ท่านมีความพร้อมหรือมีต้นทุนอะไรอยู่บ้าง มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องใด ประสบความสำเร็จในเรื่องใดมาบ้าง จากนั้นจึงเรียบเรียงงานที่ท่านได้ทำมาแล้วอย่างเป็นระบบว่า ท่านได้ทำอะไรไปบ้าง สิ่งที่ท่านได้ทำนั้นทำไปเพื่ออะไร ต้องการแก้ไขปัญหาใด ท่านได้ผลจากการกระทำเป็นอย่างไร เมื่อท่านได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ผู้เขียนมีความคิดว่า ท่านควรเพิ่มเติมหลักการ แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้งานของท่านมีความเป็นวิชาการมากยิ่งขึ้นและนำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยในระดับปริญญาโทได้ ซึ่งผู้เขียนก้จะทำเช่นกัน เพื่อเป้นการพิสูจน์กระบวนการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติว่า จะทำได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ควรเพิ่มเติมวิธีการทำงานใดลงไปนั่นเอง สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการทำวิจัยและอยากเชิญชวนให้นำแนวคิดของ รศ.ดร. ภาวิณี และของผู้เขียนไปลองใช้ดูนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

หมายเลขบันทึก: 679084เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท