อนุทินล่าสุด


ทศทัศน์ บุญตา
เขียนเมื่อ

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563 วันนี้มีเรียนช่วงบ่าย….แต่ว่า ก็ต้องแยกร่าง เพราะมีภารกิจไปส่งบทความวิจัยให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์รวมถึงงานที่จะยื่นเอกสารขออนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ป.เอก (ได้ทุน กทม.) หลังจากที่สอบผ่านไปด้วยดีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2563 …วันนี้ออกจากบ้านตั้งแต่ 7 นาฬิกา ถึงมหาวิทยาลัยประมาณ 9 นาฬิกา แต่ต้องไปปริ๊นซ์งานที่บัณฑิตวิทยาลัยก่อนเพราะปริ๊นซ์เตอร์ที่บ้านเสีย…และแล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น….ต้องปรับแก้งานเนื่องจากยังพบข้อผิดพลาดอยู่จนล่วงเลยเวลาไปจวบจน 10.30 นาฬิกา จึงได้ไปพบอาจารย์ …ในภาพรวมงานแก้ไม่มาก….แต่ใช้เวลาไปถึง 12 นาฬิกา …. เลยต้องรีบกลับมาเรียน Online ให้ทันในเวลา 13 นาฬิกา ….กว่าจะรถจากปทุมธานีมาฟิวเตอร์ปาร์ครังสิต…แล้วต่อรถมาคู้บอน…แทบกระอักเลือด….ก่อนลงรถตู้…อาจารย์เร่มสนทนาในห้องเรียนแล้ว…จำต้องเรียนผ่านมือถือไปก่อน….จนมาถึงบ้าน….ลมแทบจับ…เพราะอากาศร้อนมากๆๆๆ …วันนี้เรียนกับ อ.วรางคณาหรือ อ. นุ้ย แห่งรั้วนนทรี ไปมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และอาจารย์ …จากคำศัพท์ทางการศึกษาพิเศษและจิตวิทยา….ทำให้ได้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษเพิ่มขึ้นอย่างมาก…Hi Light คือ วันนี้ได้เรียนรูั้เกี่ยวกับ “การประเมินพฤติกรรม” ซึ่งจะต้องสังเกตได้ วัดได้ว่าเกิดขึ้นกี่ครั้ง เกิดขึ้นนานเท่าใด มีความคงเส้นคงวา มีจุดเริ่มต้น มีจุดสิ้นสุด และสามารถประเมินได้…ทำให้ผู้เขียนได้ทบทวนพฤติกรรมของเด็กพิเศษในประจำชั้น….และนำไปเป็นหัวข้อในงานที่ อ.นุ้ย มอบหมายให้เขียนนิยามพฤติกรรมปัญหาในห้องเรียน ผู้เขียนจึงนิยามพฤติกรรมปัญหาในห้องเรียนของตนเองว่า “พฤติกรรมสุดขั้ว” …เนื่องจากมีเด็กพิเศษคนหนึ่งที่มีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างสุดขั้วใน 2 ลักษณะคือ 1) หลับ 2) ป่วน …ผู้เขียนรู้สึกสนุกและมีความสุขกับการเรียนปริญญาโท (ได้ทุน สพฐ.) ใบนี้มากๆ แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นก็ตาม แม้ว่าต้องบริหารจัดการเวลาที่คาบเกี่ยวกับการทำวิจัย ป.เอกก็ตาม…อยากขอบคุณตนเองที่กล้าจะขอทุน…ที่กล้าจะสอบเข้าเรียน…อยากจะขอบคุณทุกๆ โอกาสที่ สพฐ. และ ม.เกษตรศาสตรมอบให้ผู้เขียน…ผู้เขียนตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่าจะนำความรู้มาพัฒนา กทม และประเทศไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ทศทัศน์ บุญตา
เขียนเมื่อ

จากการร่วมเรียนรู้กับ อ.ดร. ดรุณวรรณ แก้วหนูนวล สรุปได้ว่า ทุกครั้งที่เราได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นใดก็ตาม เราต้องนำสิ่งนั้นไปคิดต่อยอดหรือคิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม เพื่อมิให้ความรู้นั้นตกหล่นระหว่างทาง สิ่งหนึ่งที่เป็นพระเอกเลยคือ “การเขียนอนุทิน” ซึ่งจะช่วยให้เราได้ตกผลึกความรู้ ได้หลอมความรู้ใหม่กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมของเราและเก็บไว้เป็นคลังความรู้ของเราให้ง่ายต่อการหยิบออกมาใช้ ซึ่ง รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ ได้กล่าวว่า “การเขียนอนุทินนั้น เปรียบได้กับการเขียนบันทึกหลังสอนของครู เพียงแต่ว่า อนุทินเป็นการเขียนบันทึกหลังการเรียนรู้” นั่นเอง โดยสาระสำคัญที่ต้องมีคือ ประเด็นของการเรียนรู้ สาระความรู้ที่ได้รับความชัดเจนของสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความรู้และแหล่งความรู้ที่จะช่วยขยายความรู้ของเราให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น รวมถึง การใช้สื่อค้นหาความรู้และแหล่งความรู้เพิ่มเติม สำหรับผู้เขียนเองมีความเห็นว่า การที่เราจะเขียนอนุทินได้ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้อง มีผู้ที่เป็นต้นแบบในการเขียนเพื่อสื่อสารหรือการใช้ภาษาที่ดี ผู้เขียนจึงได้เข้าไปที่ https://www.gotoknow.org/user/fedupns/profile ซึ่ง Blog ของ รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ ผู้เขียนได้เรียนรู้ลีลาการเขียน การใช้ภาษาที่นำมาปรับใช้ในการเขียนอนุทินได้เป็นอย่างดี และจากการอ่านบทความที่ รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ ได้เขียนไว้ ผู้เขียนทราบได้เลยว่า ต้องปรับปรุงการวางแผนการเขียน เรียบเรียงเนื้อหาสาระ จัดลำดับการนำเสนอข้อมูลของตนเองให้ดีขึ้น จากการได้อ่านบทความต่าง ๆ ของ รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ เพิ่มเติมทำให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะเป็นนักเขียนอนุทินที่ดีให้ได้และกำกับตนเองให้เขียนอนุทินออกมาให้ผู้อื่นได้อ่านดังเช่น รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ บ้าง ดังนั้น ผู้เขียนจึงตัดสินใจปรับปรุงการเขียนอนุทิน การเขียนบทความ การเขียนเรื่องเล่าความรู้ต่าง ๆ แล้วนำไปเผยแพร่ไว้ใน https://www.gotoknow.org/user/thoshatus.b/profile และผู้เขียนจะได้นำข้อมูลที่ความคิดเห็นของผู้อ่านมาปรับปรุงพัฒนาการเขียนอนุทินของตนเองให้ดีขึ้นต่อไปจนกลายเป็นนิสัยรักการเขียนอนุทินจนได้อนุทินที่เรียกว่า “อนุทินที่รัก” นั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ทศทัศน์ บุญตา
เขียนเมื่อ

25 ก.ค. 63 วันนี้ช่วงเช้าได้เรียนกับ รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ และ อ.ดร.วีรมลล์ โล้เจริญรัตน์ … การเรียนช่วงเช้าได้มีโอกาสสนทนาเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ได้ข้อมูลใหม่คือ เด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กพิเศษกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับ Social Emotional จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด … แต่ละประเทศให้ความสนใจที่จะศึกษาและพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้…และเวลาส่วนใหญ่ของเช้าวันนี้…อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นิสิตใหม่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็กพิเศษเพื่อนำไปสู่การปรับเป็นงานวิจัยของตนเอง…ผู้เขียนได้นำเสนอกรณีของเด็กพิเศษที่ดูแลอยู่คนหนึ่ง ซึ่งถูกการข่มเหงรังแก (Bullying) ผู้เขียนได้เล่าถึงแนวทางการช่วยเหลือคือ การพัฒนาระบบนิเวศที่อยู่รายรอบเด็กคนนี้ ทั้งครอบครัว โรงเรียน … อาจารย์ดารณีได้ให้ข้อคิดกับผู้เขียนจนทำให้ผู้เขียนมองเห็นแนวทางที่จะนำไปพัฒนาเป็นการวิจัยของตนเองได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนรู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมาก => ภาระงานในวันนี้คือ ให้อ่านบทความ งานวิจัย ความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์แล้วนำความรู้ที่ได้ไปโพสในห้องเรียน Google Classroom จากนั้นไปอ่านงานของเพื่อนพร้อมแสดงความคิดเห็นอย่างน้อย 5 คน ส่วนช่วงบ่าย…ได้เรียนรู้ร่วมกับ รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์, อ.ดร.ดรุณวรรณ แก้วหนูนวล และ อ.สุนิสา …สาระสำคัญมีเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ 2 หัวข้อคือ การใช้ Google Classroom กับ การเขียนอนุทิน => ภาระงานในวันนี้คือ 1) ส่งงานเตรียมความพร้อมใน Google Classroom 2) เขียนอนุทิน จากการเรียนในวันนี้ ผู้เขียนรู้สึกว่า การเรียนรู้ในรั้วนนทรี มีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิตอย่างมาก เพราะสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เขียนมีความสุขมากๆ กับการได้เรียนที่รั้วนนทรีกับปริญญาใบนี้ และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ มาช่วยเหลือเด็กๆ พัฒนาการทำงาน รวมถึง มาพัฒนาการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ทศทัศน์ บุญตา
เขียนเมื่อ

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่ 2 แห่งรั้วนนทรี วันนี้รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสรับความรู้จากอาจารย์ทั้งสองท่าน คือ ดร.วรางคณา โสมะนันทน์ (อ.นุ้ย) และ ดร.ภัทรพร แจ่มใส (อ.เต้) อาจารย์มีความเป็นกันเองมากๆ ใจดี อธิบายเข้าใจดีมาก วันนี้ อ.นุ้ย แนะนำ Website ต่างๆ เริ่มต้นจากศูนย์บัณฑิตศึกษา ภาคพิเศษ…คณะศึกษาศาสตร์…บัณฑิตวิทยาลัย…จากนั้นอธิบายให้เข้าใจถึงโครงสร้างการเรียน ตารางเรียน รายวิชาที่เรียนและสุดท้ายให้ออกแบบตารางบริหารจัดเวลาของตนเอง…ส่วน อ.เต้ แนะนำ Website สำหรับใช้ค้นหางานวิจัย บทความต่าง ๆ ได้แก่ Google Scholar, tci-thaijo.org, tdc.thailis, sciencedirect ซึ่งได้ฝึกการสืบค้นงานวิจัยด้วยและวันนี้ผู้เขียนก็ได้รับรางวัลจาก อ.เต้ด้วย ส่วนจะเป็นอะไรนั้น รอรับในชั่วโมงเรียนวันที่ 16 ส.ค. เนื่องจากหางานวิจัยที่อาจารย์มอบหมายได้เป็นคนแรก…จากนั้นไปที่การตรวจ Plagiarism หรือการลอกเลียนวรรณ รวมไปถึงเทคนิคการเขียนอ้างอิงโดยใช้คำสั่ง Insert citation และ Biography…และสุดท้ายก่อนหมดเวลาเรียน อ.เต้ ได้มอบหมายให้หาคำศัพท์ทางจิตวิทยาหรือการศึกษาพิเศษพร้อมความหมายจาก 3 แหล่งอ้างอิงพร้อมเตรียมนำเสนอเป็น PPT ในครั้งต่อไป…วันนี้จึงนับได้ว่า เป็นวันที่ผู้เขียนได้ก้าวเดินเป็นก้าวที่ 2 ในแวดวงการศึกษาพิเศษ…หลังเลิกเรียน…ผู้เขียนได้มาทบทวนข้อมูลนักเรียนทั้ง 5 คน ในความดูแลทั้งในฐานะครูประจำชั้นและครูที่อาสาดูแลเด็กพิเศษ…เนื่องจากโรงเรียนยังไม่ได้เปิดการจัดการศึกษาเรียนร่วม…แต่ ทว่า ตัวผู้เขียนเองมุ่งมั่นที่จะหาแนวทางช่วยเหลือเด็กๆ …ผู้เขียนได้เริ่มอ่านงานวิจัยอย่างจริงจัง ด้วยเพราะภารกิจที่อาจารย์มอบหมายและมุ่งหวังไปถึงการพัฒนาต่อยอดไปสู่การศึกษาค้นคว้าในการเรียนวิชาต่อๆไปจนกลายเป็นงานวิจัยของผู้เขียนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสำเร็จการศึกษาระดับ ป.โท สาขาการศึกษาพิเศษ…ผู้เขียนรู้สึกหัวใจกระชุ่มกระชวยขึ้นมาอย่างอัศจรรย์ใจ…คงเป็นเพราะว่า ผู้เขียนนั้นชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาด้วยกระมัง … แม้ว่าจะไม่ได้มีพื้นฐาน ประสบการณ์ทางการศึกษาพิเศษมา จึงต้องทำการบ้านและขยันกว่าเพื่อนๆ แต่ผู้เขียนก็มีความสุขอย่างมาก…เพราะผู้เรียน ถือคติพจน์ที่ว่า “พัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาเด็ก พัฒนาโรงเรียนและพัฒนากรุงเทพมหานคร” นั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ทศทัศน์ บุญตา
เขียนเมื่อ

18 ก.ค. 2563 วันนี้เป็นวันแรกที่ก้าวเข้าสู่รั้วนนทรีอย่างภาคภูมิใจในการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ซึ่งได้รับทุนจาก สพฐ. ถือว่า วันนี้เป็นวันที่ดีงามมาก ท้องฟ้าแจ่มใส ต้อนรับวันใหม่สู่บ้านหลังใหม่เลยก็ว่าได้ จึงตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่า จะตั้งใจเรียนและจะนำความรู้ที่ได้รับมาช่วยเหลือเด็กพิเศษและครอบครัวอย่างเต็มที่สุดกำลังความสามารถและทุกความตั้งใจจะขอลงมือทำอย่างมีสติเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินในฐานะเป็นข้าของแผ่นดิน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท