การเสวนา "เปิดโลกใหม่ ชีวิตใหม่ เตรียมพร้อมการเรียนแบบ New Normal ในรั้ว Business School "


การเสวนา "เปิดโลกใหม่ ชีวิตใหม่ เตรียมพร้อมการเรียนแบบ New Normal ในรั้ว Business School "
โดย รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รศ.ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ.ดร.พรรณี พิมาพันธุ์ศร  คณบดีคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
ผศ.ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563  เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป

อ.สิริวุฒิ มช. กล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับจากการะบาดของโควิด-19 การติดตามนักศึกษาทุกคน โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาโทรศัพท์สอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับการได้รับผลกระทบจากโควิด-19  การปรับปรุงห้องและอาคารสถานที่ในช่วงที่งดใช้อาคารสถานที่

อ.พรรณี ม.บูรพา กล่าวถึงการรับมือและมาตรการที่บริหารจัดการโดยเฉพาะเรื่องการฝึกงานและการฝึกสหกิจศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการในช่วงการระบาดของโควิด-19

อ.ธีรวัฒน์ มอ. เน้นเรื่องการปรับตัวโดยใช้ระบบออนไลน์มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนและการทำงานมากขึ้น

อ.เพ็ญศรี KKBS การปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนใช้ระบบออนไลน์มากขึ้น การปรับปรุงอาคารสถานที่ในช่วงปิดให้บริการ และการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

อ.สิริวุฒิ มช. การขอรับรองมาตรฐานโรงเรียนบริหารธุรกิจระดับโลก Association to Advance Collegiate Schools of Business : AACSB  ที่ มช. ได้ดำเนินการไปแล้ว อยู่ระหว่างการมาประเมินของคณะกรรมการ แต่ช่วงโควิด-19 ระบาด ทำให้คณะกรรมการเดินทางมาประเมินผลไม่ได้ และอีกเรื่องที่ได้รับผลกระทบนอกเหนือจากโควิด-19 คือ การผลกระทบทางมลภาวะจากฝุ่นควัน

อ.เพ็ญศรี KKBS การขอรับรองมาตรฐาน AACSB ที่ KKBS กำลังดำเนินการรับรองมาตรฐาน การปรับตัวของคณะเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้ดำเนินการจัดทำ Studio House  เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกของคณาจารย์สำหรับการจัดทำสื่อการสอนให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

การปรับตัวและการเตรียมการแบบ New Normal สำหรับการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2563

อ.ธีรวัฒน์ มอ. ที่ มอ. มีนโยบายให้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ 100 % แต่ผู้ที่มาเรียนในชั้นเรียน มอ. ก็มีมาตรการดูแลใกล้ชิด ทั้งเรื่องหอพัก และการเยียวยาช่วยเหลือ ทั้งการลดค่าธรรมเนียมการศึกษา การจัดสรรทุนการศึกษา และการเรียนให้ยืมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนโดยการให้แต่ละชั้นปีสลับวันเรียน เพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบเว้นระยะห่าง

อ.สิริวุฒิ มช.  การจัดการเรียนการสอนจะไม่เป็นแบบ 100 % แต่คิดว่าจะเป็นแบบผสมผสานระหว่างการเรียนปรกติกับการเรียนออนไลน์ และการเรียนการสอนทั้งสองแบบ การเรียนออนไลน์มีความสะดวก บางแห่งให้เรียนฟรี แต่เราจะต้องปรับตัวให้การเรียนการสอนในชั้นเรียนจะต้องแตกต่างและมีมูลค่าเพิ่มที่ดีกว่าออนไลน์คือ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ อาจจะเรียนและพบปะกันในชั้นเรียนน้อยลง แต่จะต้องสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้ผู้เรียน สิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มคือซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่จะต้องช่วยส่งเสริมสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษามากขึ้น อีกเรื่องคือคณะจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคมาช่วยสนับสนุน (Technical Support)  การปรับตัวของอาจารย์และให้อาจารย์เรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญ คณะจะต้องช่วยสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้แพลตฟอร์มใหม่ ๆ ไปด้วย รวมถึงการพยายามปรับปรุงห้องทำงานของอาจารย์ให้เป็น Studio เล็ก ๆ เพื่อใช้ในการสอนได้ด้วย เทคโนโลยีมีข้อจำกัดเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และข้อจำกัดหนึ่งที่นักศึกษาสะท้อนผลคือ นักศึกษาไม่สามารถจัดการตนเองเพื่อให้มีสมาธิใจจดจ่อต่อการเรียนแบบออนไลน์ได้ดี อาจารย์จึงต้องได้รับการฝึกทักษะในการออกแบบบทเรียนเพื่อให้มีลูกเล่นที่ชวนใจให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ตลอด รวมถึงวิธีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีจะช่วยสนับสนุนการเรียนออนไลน์ได้ดี

อ.พรรณี ม.บูรพา  มหาวิทยาลัยบูรพา ช่วยเหลือเยียวยานิสิตผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น ทุน การลดค่าธรรมเนียมการศึกษา การลดค่าเช่าหอพักมหาวิทยาลัย และการเจรจากับผู้ประกอบการขอลดค่าเช่าหอพักเอกชน สำนักคอมพิวเตอร์ได้เตรียมการแพลตฟอร์มเพื่อช่วยสนับสนุนอาจารย์และนิสิตในการเรียนการสอน

อ.เพ็ญศรี KKBS ใช้วิธีการจ้างงานจากกระทรวง อว. มาช่วยเป็นส่วนช่วยเหลือการเตรียมการเรียนการสอนของอาจารย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของคณะและเจ้าหน้าที่จากสำนักนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสื่อและบทเรียนออนไลน์ มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอยู่ 3 รูปแบบให้อาจารย์เลือกจัดการเรียนการสอน เพราะบางสาขาวิชาจำเป็นต้องมาฝึกปฏิบัติ

อ.สิริวุฒิ มช.  แพลตฟอร์มในการจัดการเรียนการสอน ไม่ควรใช้เยอะมากเกินไป เพราจะทำให้นักศึกษาลำบากในการใช้เพื่อการเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ ต้องจัดโปรแกรมให้ดี เพราหากทุกวิชาใช้ระบบออนไลน์ทั้งวัน จะส่งผลกระทบต่อนักศึกษา เพราะไม่สามารถเรียนผ่านจอได้ต่อเนื่องยาวนาน และต้องเผื่อเวลาให้นักศึกษาได้พักสายตา รวมถึงเปลี่ยนห้องเรียนออนไลน์ด้วย

อนาคตจากโควิด-19

อ.พรรณี ม.บูรพา โควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ทั้งเรื่องของการก้าวกระโดดไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ระบบธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็เข้ามามีส่วนสำคัญกับวิถีชีวิตของทุกคนมากขึ้นทุกระดับ การเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจการเงินอย่างมาก สกุลเงินของเฟซบุ๊คที่เกิดขึ้นก็เป็นส่วนหนึ่งจากแพลตฟอร์มใหม่  เรื่อง Big Data ก็เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมากกับการบริหารธุรกิจ  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Big Data มาใช้ในการเรียนรู้เพื่อให้มีประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การใช้ Big Data มาช่วยเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจของธุรกิจ ผลกระทบจากแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ที่จีน มีผลกระทบต่อซัพพลายเชนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะจีนเป็นซัพพลายเออร์ แต่เมื่อโควิดมาทำให้ระบบหยุดชะงัก การเรียนการสอนในสายบริหารธุรกิจจึงต้องเปลี่ยนแปลงไป “ขอบคุณที่โควิดมา แต่ไม่มาจะดีกว่า” เพราะโควิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้เป็นอย่างดี

 

อ.ธีรวัฒน์ มอ. การสร้างชุมชนนักบริหารธุรกิจ ที่จะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการบริหารธุรกิจและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนได้ การพัฒนาหลักสูตรอย่างยืดหยุ่นลันการณ์ เช่น การบูรณาการข้ามศาสตร์ เช่น บริหารธุรกิจกับวิศวกรรมศาสตร์  บริหารธุรกิจกับการเกษตร การบูรณการระหว่างการเรียนกับการทำงานควบคู่กันไป การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนไป สตาร์ทอัพเป็นส่วนสำคัญ การต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่นวัตกรรม และการช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้  โครงการ FMS Job Matching Center เพื่อสนับสนุนนักศึกษากับสถานประกอบการทั้งระหว่างเรียนและหลังสำเร็จการศึกษา

อ.สิริวุฒิ มช. Think Global Act Local  คิดแบบนานาชาติแต่ต้องตั้งหลักในพื้นที่ เพราะข้อจำกัดของการเดินทางระหว่างประเทศ เราจะปรับเปลี่ยนไปอย่างไรหากเราต้องสอนเรื่องความเป็นนานาชาติและเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิประเทศ และการปรับตัวในการแชร์ทรัพยากรร่วมกันกับคณะหน่วยงานมากขึ้นเพื่อการปรับตัว

   อ.เพ็ญศรี KKBS การปรับตัวเรื่องการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะต่าง ๆ ในหลักสูตรของคณะ เมื่อโควิดมา ทำให้ข้อจำกัดในการเปิดหลักสูตรใหม่ที่บูรณาการศาสตร์ได้เร็วขึ้น การปรับโครงสร้างหลักสูตรและการเรียนที่วัดจากสมรรถนะของผู้เรียน การแลกเปลี่ยนนักศึกษากับต่างประเทศโดยที่ไม่ต้องส่งนักศึกษาไปเรียนที่นั่นได้หรือไม่? เพราข้อจำกัดของการเดินทางข้ามประเทศ  การเรียนผ่านระบบออนไลน์โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศสอนผ่านแอพพลิเคชั่น

ภาสกร

ฟังและสรุป

15 กรกฎาคม 2563

หมายเลขบันทึก: 678806เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2020 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2020 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท