หลังจากโควิด: 19 การกีดกันสำหรับเยาวชนที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น


ภาวะถดถอยของโลกอันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด 19 แปลว่าเยาวชนจะพบกับการกีดกันที่เห็นเด่นชัด หรือคือความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่าเยาวชนจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบทางสาธารณสุขจากโควิด 19 ซึ่งต่างจากประการที่เหลือทั้งหมด แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการข้ามรุ่นและสังคมปรากฏให้เห็นเด่นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มนี้ เมื่อมันมาถึงสุขภาพจิต รวมทั้งประเด็นเรื่องที่อยู่อาศัย เยาวชนต่างรับผลในเรื่องนี้ สิ่งนี้พยากรณ์ได้ด้วยผลกระทบที่เกิดจากโรคระบาดในระยะเวลายาวนาน หรือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “ความน่ากลัว”

ถึงแม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าเศรษฐกิจของทั้งโลกตอนนี้เข้าสู่สภาวะถดถอย อันเนื่องมาจากการปิดเมืองครั้งใหญ่ (the Great Lockdown) IMF เสนอว่า ความสูญเสียเชิงสะสมกับ GDP ของโลกระหว่างปี 2020-2021 อันเกิดจากวิกฤตการณ์ก็ประมาณ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดที่เพิ่งเกิด และประเทศกำลังพัฒนาจะถูกกระทบอย่างมากจากการชะลอตัว และผลที่เกิดจากระยะปานกลางถึงยาวคือการไม่มีงานทำ, ความปลอดภัยทางการเงิน, และที่อยู่อาศัยจะถูกรับภาระโดยเยาวชน

ธนาคารโลก (2020) ตลอดทั้งเอเชียตะวันออก และ พวกแปซิฟิก คนน้อยกว่า 24 ล้านคนจะพบกับความยากจนในปี 2020 อันเนื่องมาจากการระบาด ความปลอดภัยทางอาชีพจะเชื่อมโยงกับความยากจน และเกือบ 70% ของประชากรในพื้นที่เอเชียและแปซิฟิกถูกว่าจ้างในเศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการ ด้วยเยาวชน 98.3 % ของเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่ได้รับการว่าจ้างจะอยู่ในเศรษฐศาสตร์แบบไม่เป็นทางการ มีการคะเนว่า 6.7% ของชั่วโมงการทำงาน (หรือคนทำงานแบบใช้เวลาเต็ม 195 ล้านคน) จะถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ของโลก และผู้ทำงานในเศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการจะได้รับผลกระทบสูงสุด ดังนั้นเยาวชน ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนในการหางานทำ จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียเหล่านั้นมากที่สุด

ดังนั้นคนที่ประสบกับภาวการณ์ว่างงานและการท้าทายทางเศรษฐศาสตร์จะอยู่ในความเสี่ยงเรื่องการจำนอง, การหนี้สินที่เกิดจากการเช่า, และการขับไล่   

เยาวชนและความยากจนหลากมิติ

ในปี 2018 ทีมนักวิจัยจาก Australian National University ศึกษาความยากจนหลากมิติในจังหวัดสุลาวาสีใต้ ของอินโดนีเซียขึ้น ในที่นี้เรานำข้อมูลจาก 2 อำเภอ ที่มีประชากร 5,596 คน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

การใช้มาตรการวัดการกีดกันเชิงปัจเจกบุคคล (the Individual Deprivation Measurement ย่อว่า IDM) เราประเมินวิธีการที่ปัจเจกบุคคลมีประสบการณ์กับความยากจน ที่แบ่งออกได้เป็น 15 มิติ ผลปรากฏอยู่ตอนนี้ เพราะความไม่แน่ใจและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น

ความยากจนกับสุขภาพจิตเป็นประเด็นที่มีความสลับซับซ้อน อย่างไรก็ตามมันเห็นได้ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับความยากจน เช่น การว่าจ้าง, ที่อยู่อาศัย, และการมีสิทธิออกเสียง ล้วนเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตทั้งสิ้น (mental health disorder) สุขภาพจิตเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อประเด็นการพัฒนานาๆชาติ และมันก็เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ทางสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น การทำหน้าที่ทางสังคมและกายภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่าเงื่อนไขทางสุขภาพจิตสามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพที่แย่ลง, การตายก่อนวัย, ความโหดร้ายทางสิทธิมนุษยชน, และความสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติและของโลก เยาวชน (อายุประมาณ 16-24 ปี) กำลังอยู่ในความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตเมื่อเปรียบเทียบกับอายุรุ่นอื่นๆ WHO รายงานว่า ครึ่งหนึ่งของคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเริ่มต้นตอนอายุ 14 และ3 ใน 4 คือตอนอายุ 20 กลางๆ

ด้วยการตระหนักรู้ถึงความอยู่ดีมีสุขด้านสังคมและจิตใจแล้ว ตัวบ่งชี้ขั้นที่สองของ IDM ที่เกี่ยวกับแก่นเรื่องสุขภาพยังรวมถึงการดำรงอยู่ และความบ่อย ที่ปัจเจกบุคคลมีประสบการณ์กับความกังวล, ความประหม่า, หรือความหวั่นเกรง และหรือการกดดัน มากกว่า 54% ของผู้ตอบรู้สึกกังวล, ประหม่า หรือหวั่นเกรง และ 22.6 % รู้สึกกดดัน  ทั้งเยาวชนชายและหญิง (อายุ 16-24 ปี) มีประสบการณ์กับความบ่อยมากกว่าอายุกลางคน (25-59 ปี) และวัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป) หากนับจากสัปดาห์และวัน เยาวชนชายหญิงรู้สึกกดดันมากกว่าอายุอื่นๆถึง 2 เท่า หากนับเป็นเดือน กลุ่มอายุที่อ่อนที่สุดจะมีประสบการณ์กับความหวั่นเกรงมากกว่าอายุที่แก่กว่าขึ้นไป ข้อค้นพบนี้ยังแตกต่างไปตามเพศสภาพ เยาวชนหนุ่มจะได้รับประสบการณ์กังวล, ประหม่า, หวั่นเกรง, และกดดันมากกว่าผู้หญิง

นอกจากนี้การสำรวจยังมองไปถึงที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งไปตามสิทธิมนุษยชนมาตราที่ 11 ที่มีว่าความคุ้มครองทางกฎหมายเรื่องการครอบครอง ในขณะที่การสำรวจหลักๆที่ใช้ตัวบ่งชี้ความยากจนหลากมิติจะพิจารณาว่าการพักอาศัยหากมีการกีดกันแล้ว การอยู่จะมีแต่ฝุ่น, ทราย, มูลสัตว์ที่ใช้ทำพื้น ที่เป็นเรื่องปกติในชุมชนเมือง และเยาวชนยังประสบกับความหวั่นเกรงที่อยู่ในความปลอดภัยของการครอบครอง

จากข้อค้นพบของการสำรวจ IDM ทั้งเยาวชนชายหญิงยังรายงานด้วยว่าพวกเขาอาจถูกขับไล่ หรือใช้อำนาจให้ออกไปจากบ้าน เยาวชนหญิงได้รับประสบการณ์เป็น 2 เท่าจากพวกผู้ชาย ความไม่แน่นอนในเรื่องการขับไล่ในสภาพการว่างงานจะส่งผลต่อความหวั่นเกรงในหมู่เยาวชน

ขอให้เราพูดบ้าง

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่ใช้ IDM ทำให้เราเห็นว่าพวกคนจนและพวกชายขอบถูกกันออกไปจากการตัดสินใจในชุมชน ในขณะที่สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง อ่อนหรือแก่ แต่การศึกษา IDM ชี้ว่าเยาวชนหญิงมีประสบการณ์การตัดทอนพร้อมกันในมาตรวัดทางเพศสภาพและความยากจน จากการสำรวจของ IDM เยาวชนชายหญิงต่างพร้อมกันรายงานว่าตัวพวกเขามีประเด็นในชุมชน แต่พวกเขาไม่มีโอกาสหรือมีแต่น้อยที่จะได้คุยเรื่องนี้กับผู้นำหรือเจ้าหน้าที่ เยาวชนหญิงรู้สึกว่าได้รับสิทธิในการออกเสียงน้อยกว่าผู้ชาย และเหตุผลหลักๆคือพวกเขาไม่เชื่อใจผู้นำ

ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับการสำรวจก่อนหน้า เช่น ในบางสังคม ผู้หญิงไม่สามารถจัดการประชุมในชุมชนหรือการอภิปรายได้ แต่ต้องใช้ญาติผู้ชายเป็นหลัก สิ่งนี้เกิดปัญหาจากครอบครัวที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำ และผู้ชายที่ไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจในการนำเสนอทัศนะแบบผู้หญิง งานวิจัยยังชี้เห็นถึงความไม่สามารถในการควบคุมข้อจำกัดการตัดสินใจเชิงบุคคลในเรื่องการศึกษา, การหารายได้, การเข้าถึงการสาธารณสุข, และการเข้าร่วมสังคมออนไลน์ ถึงแม้ว่าจะเป็นการสำรวจในสุลาวาสิตอนใต้ในปี 2018 แต่เยาวชนหญิงยังรายงานว่าพวกเขาต้องขออนุญาตในการใช้เงิน, การหาที่เรียน, และการหางานที่ได้รับค่าตอบแทน 

แปลและเรียบเรียงจาก

Angie Bexley และ Sharon Bessell. Post Covid 19: Deepening deprivation for young people

https://www.newmandala.org/post-covid-19-deepening-deprivation-for-young-people/

หมายเลขบันทึก: 678088เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2020 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2020 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท