ชีวิตที่พอเพียง 3710. ชาลาช่วยคนด้อยโอกาส



ในยุคโควิด ๑๙ เรื่องการช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาสเป็นเรื่องสำคัญ เราได้เห็นน้ำใจคนไทยที่ไม่ทอดทิ้งกัน    แต่ผมก็อด ขวางโลก ไม่ได้    ว่าที่ทำกันอยู่นั้นเกือบทั้งหมดเป็น “ชาลาให้ปลา”   สิ่งที่ลืมกันไปคือ “ชาลาให้เบ็ด”

คำว่า “ชาลา” แปลมาจากคำว่า platform    การดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เป็นเรื่องเป็นราว ต้องคิด “ชาลา” ในการดำเนินการ    เพื่อให้คนจำนวนมากมาร่วมกันดำเนินการได้    เกิดการดำเนินการอย่างมีพลัง   

ในการช่วยเหลือคนยากลำบากในลักษณะอดอยากนั้น โบราณท่านสอนไว้ว่า ช่วยได้สองแบบ คือ “ให้ปลา” กับ “ให้เบ็ด”

“ให้ปลา” หมายถึงให้อาหาร ช่วยให้อิ่มไปได้หนึ่งหรือสองมื้อ    ส่วนการช่วยเหลือแบบ “ให้เบ็ด” เป็นการช่วยให้ช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว    ไม่ต้องรอขอความช่วยเหลือ ให้มีคนมา “ให้ปลา” อยู่ร่ำไป   

ชาลาช่วยเหลือผู้ยากลำบากจากโควิด หรือจากสาเหตุอื่น    ในเบื้องต้นเพื่อทุเลาความยากลำบาก ก็ต้อง  “ให้ปลา”    แต่ต้อง “ให้เบ็ด” ด้วย    เพื่อให้ช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว    หรืออาจช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย   

ตัวอย่าง “ชาลา” ช่วยเหลือคนจนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดที่มีลักษณะทั้ง “ให้ปลา”  และ “ให้เบ็ด” คือ ชาลา แบ่งปันความอิ่ม    ที่ทำความเข้าใจหลักการได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=m2CzFM3Q5F4         



วิจารณ์ พานิช

๖ พ.ค. ๖๓                                                                                                                                                                                         

หมายเลขบันทึก: 677795เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2020 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2020 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท