ระบบที่พังหมดแล้วของประเทศไทย: การตัวตายเป็นการประท้วงรูปแบบหนึ่ง


ในระหว่างวิกฤตการณ์ ผู้คนมักจะฆ่าตัวตาย มันน่าเศร้า แต่มันเกิดขึ้น

เมื่อผู้คนกระทำการฆ่าตัวตายเพราะรัฐบาลไม่สามารถจุนเจือพวกเขาได้ หรืออาจเป็นเพราะระบบราชการไม่มีความยุติธรรม นั่นเป็นโชคร้าย และมันไม่ควรเกิดขึ้น

มันส่งผลต่อระบบที่แตกหัก

นักขับแท็กซี่ผู้หญิงอายุ 59 ปีดื่มยาฆ่าหนูหน้ากระทรวงการคลัง

เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน เธอถูกนำส่งโรงพยาบาลและช่วยเหลือ เหตุผลที่เธอกระทำการฆ่าตัวตายเกิดจากความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ (economic hardship) และไม่ได้รับเงินจำนวน 5,000 จากรัฐบาล ในฐานะการช่วยเหลือ

การฆ่าตัวตายของเธอเป็นผลจากความผิดหวังหรือการประท้วงกันแน่?

มีหลายเหตุผลในการทำให้คนฆ่าตัวตาย ในที่นี้มี 15 เหตุผล แต่ทุกเหตุผลเกิดจากความผิดหวังหรือสูญเสียกำลังใจ

การฆ่าตัวตายของคนขับแท็กซี่เกิดจากความสิ้นหวัง แต่การที่เธอไปฆ่าตัวตายที่กระทรวงการคลังคือการประท้วง

ยามผู้หญิงอายุ 19 ปีฆ่าตนเองเสียชีวิต

ประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนที่เธอจะฆ่าตัวตาย ในวันที่ 22 เมษายน เธอเขียนรูปพลเอกประยุทธ์ จันทโอชา และเขียนข้อความบนโซเชี่ยล มีเดียของเธอ

“ฉันวาดภาพนี้ด้วยอารมณ์สะเทือนใจ โดยการตระหนักว่าฉันไม่มีเงินพอจะซื้อนมให้ลูก ทุกสิ่งแพงไปเสียหมด ฉันวาดภาพนี้ด้วยอารมณ์สะเทือนใจ  ด้วยการรู้ว่าฉันทำงานมา 12 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไม่มีอะไรเหลือเลย ฉันวาดภาพนี้ด้วยน้ำตา”

“ฉันรู้สึกว่ารัฐบาลนี้เหี้ยมโหดและชั่วร้าย คุณเคยเห็นผู้คนตายเพราะไม่มีทางออกบ้างไหม? ที่เขาฆ่าตนเองเพราะไม่มีอะไรเหลือเลย พวกเขาตายเพราะมีรัฐบาลแบบนี้”

การฆ่าตนเองเกิดมาจากความเศร้าโศกสิ้นหวัง แต่ข้อความทางสื่อทางสังคมออนไลน์ของเธอคือการประท้วง

นักดับเพลิงอายุ 46 ปีในเชียงใหม่ฆ่าตนเอง

การฆ่าตนเองวันที่ 4 เมษายน เกิดขึ้นมีไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ เขาได้ทิ้งข้อความไว้ ที่ทางครอบครัวของเขาอนุญาตให้มีการเผยแพร่เพื่อแสดงถึงความทรงจำที่เจ็บปวดของเขา

“การเกิดมาเป็นมนุษย์ เราทุกคนล้วนมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน มันน่าเศร้า พวกเรามีสิทธิ แต่ไม่ใช่สิทธิอย่างพวกเขาเป็น พวกเราถูกต้อง แต่ไม่ถูกต้องอย่างที่พวกเขาถูก การตัดสินใจครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งส่วนบุคคล ระบบราชการเป็นอย่างที่พวกเขาเป็นมาโดยตลอด ไม่มีสิ่งใดจะแก้ไขได้...”

เขาบรรยายถึงระบบอุปถัมภ์ของไทยอย่างสั้นๆ

การฆ่าตนเองตายเกิดจากความผิดหวัง บันทึกของเขาไม่เป็นการประท้วง เพราะเขาไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่ มันเป็นทางเลือกของครอบครัวหลังจากที่เขาฆ่าตนเองตาย

ผู้พิพากษาอายุ 49 ในจังหวัดยะลาปลดชีวิตตนเอง

การฆ่าตนเองตายในวันที่ 17 มีนาคม เป็นความพยายามครั้งที่ 2 เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลที่ต่อมาเขาเสียชีวิตจากบาดแผล ความพยายามฆ่าตนเองตายครั้งแรกเกิดวันที่ 5 ธันวาคม เมื่อปีที่แล้ว ที่ศาลประจำจังหวัด

ผู้พิพากษากล่าวถึงการฆ่าตนเองตายครั้งแรกเนื่องมาจากว่า “การแทรกแซงทางศาล”

การฆ่าตนเองตายที่เป็นการประท้วงเป็นเรื่องที่ยังโต้เถียงกันอยู่

มันเป็นการต่อต้าน หากผู้คนคิดว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า หากเขาหรือเธอดำเนินการต่อสู้กับความอยุติธรรมใช่หรือไม่?

มันคือผลลัพธ์ หากมองว่าการทำร้ายตนเองหรือการทรมานตนเอง ที่นำมาซึ่งน้ำตาจากสาธารณชนในการทำให้สาธารณชนต่อสู้กับความอยุติธรรมใช่หรือไม่?

แต่หนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนนั่นคือ ไม่ว่าจะมาจากความเศร้าโศกสิ้นหวังหรือเป็นการประท้วงก็ตาม แต่ระบบที่พังทลายของประเทศไทยไม่สามารถเติมเต็มพวกเขาได้อีกแล้ว 

แปลและเรียบเรียงจาก

Voranai Vanijaka. Thailand’s Broken System: suicide as the form of protest.

https://thisrupt.co/society/thailands-broken-system-suicide-protest/

หมายเลขบันทึก: 677510เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2020 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2020 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท