การรับมือโคโรนาของไต้หวันคือสิ่งที่ดีที่สุดในโลก


ฮ่องกง ในวันที่ 25 เดือนมกราคม ในขณะที่โลกกำลังตื่นขึ้นพร้อมกับอันตรายที่อาจคร่าชีวิตของการระบาดของโคโรนาไวรัสที่ออกมาจากภาคกลางประเทศจีน แต่ 2 รัฐบาลเพิ้งเจอคนติดเชื้อ 4 คนในดินแดนเชื่อมต่อ

ออสเตรเลียและไต้หวันมีประชากรประมาณ 24 ล้านคน ทั้งสองประเทศเป็นเกาะ ที่ทำให้การควบคุมเหนือชายแดนเป็นไปอย่างเข้มข้น ทั้งสองประเทศมีการค้าขายที่ขึ้นชื่อ และทางเชื่อมโยงในการสื่อสารกับจีนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม 10 สัปดาห์หลังจากวันที่ 25 ออสเตรเลียมีผู้ติดเชื้อ 5,000 คน ในขณะที่ไต้หวันมีเพียง 400 คนเท่านั้น

คำถามจึงไม่ใช่การถามว่าออสเตรเลียทำอะไรผิด มีอีก 20 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า แต่ไต้หวันทำอย่างไร จึงสามารถเอาไวรัสอยู่ภายใต้การควบคุม ในขณะที่โลกภายนอกกลับควบคุมไม่ได้

บทเรียนที่เรียนรู้ยาก  

ในระหว่างที่มีการระบาดจากโรคซาร์ในปี 2003 ไต้หวันมีระบบการข้ามแดนที่ห่วยที่สุด พอๆกับฮ่องกง และภาคใต้ของจีน มีคนมากกว่า 150,000 คนถูกกักตัวในเกาะ คือ 180 กิโลเมตรจากชายฝั่งของทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีน และมีคนตายถึง 181 คน

ในขณะที่โรคซาร์เทียบกันไม่ได้กับวิกฤตครั้งนี้ แต่มันส่งคลื่นสะท้อนไปทั่วเอเชีย และจะดูว่าผู้คนรับมือกันอย่างไรภายใต้วิกฤตเหล่านี้ สิ่งนี้ช่วยให้กลายส่วนมีปฏิสัมพันธ์กับการระบาดของโคโรนาไวรัสได้รวดเร็วขึ้น และตระหนักถึงอันตรายกว่าส่วนอื่นๆของโลก ทั้งระดับของสังคมและรัฐบาล ด้วยการควบคุมชายแดน และการใส่หน้ากากจึงกลายมาเป็นเรื่องประจำในชีวิต

ไต้หวันมีระบบการดูสาธารณสุขติดอันดับโลก และมีการให้แบบถ้วนหน้า เมื่อมีข่าวโคโรนาไวรัสเกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่นในช่วงตรุษจีน เจ้าหน้าที่ที่ศูนย์การควบคุมสาธารณสุขแห่งชาติของไต้หวัน ที่เตรียมพร้อมสำหรับการเกิดขึ้นของโรคซาร์ จึงทำงานอย่างรวดเร็วต่อการรับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้น ตามรายงานของ Journal of the American Medical Association

รายงานจาก Jason Wang ที่เป็นหมอชาวไต้หวันว่า “ไต้หวันกระตือรือร้นที่จะผลิตและดำเนินการรายการอย่างน้อย 124 การกระทำในอาทิตย์ก่อนเพื่อการปกป้องการสาธารณสุข นโยบายและการกระทำอยู่นอกเหนือจากการควบคุมชายแดน เพราะว่าพวกเขาตระหนักรู้แล้วว่านั่นไม่เพียงพอ”

สิ่งนี้ถูกกระทำ ในขณะที่ประเทศอื่นๆกำลังโต้เถียงอยู่ว่าจะตัดสินใจหรือไม่ ในการศึกษา ที่ทำโดยมหาวิทยาลัย John Hopkins กล่าวว่าไต้หวันกำลังในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุดจากจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะมีความใกล้ชิด, มีสายสัมพันธ์, และมีทางเชื่อมในการคมนาคม

มาตรการในขั้นต้นคือการห้ามการเดินทางจากส่วนต่างๆของจีน หยุดเรือโดยสาร ให้เทียบท่าได้เฉพาะท่าเรือของเกาะ และลงโทษอย่างเข้มข้นถึงคนที่ฝ่าฝืนการกักตัวอยู่ที่บ้าน

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ชาวไต้หวันทำให้การผลิตหน้ากากที่ใช้ในประเทศมีความง่ายขึ้น เพื่อกระจายหน้ากากไปสู่ชุมชน และไปทดสอบโคโรนาไวรัสทั่วทั้งเกาะ นี่รวมทั้งการทดสอบใหม่ของคนที่มีโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และประกาศถึงการลงโทษอันใหม่สำหรับการให้ข้อมูลผิดๆเกี่ยวกับไวรัส

Wang และบรรณาธิการร่วมกล่าวว่า “เมื่อการแพร่กระจายของโควิด 19 ดำเนินไปทั่วโลก การเข้าใจลำดับขั้นของการกระทำที่ได้ดำเนินการในไต้หวัน และประสิทธิภาพของการกระทำเหล่านั้นในการป้องกันการระบาดในระดับที่ใหญ่กว่า อาจเป็นสื่อการสอนให้กับประเทศอื่นๆได้”

“การเรียนรู้ในรัฐบาลไต้หวันที่มาจากประสบการณ์โรคซาร์ปี 2003 และการสร้างกลไกการรับมือทางสาธารณสุข สำหรับการรับมือกับวิกฤตครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่ที่มีการฝึกมาอย่างดี และทีมที่มีประสบการณ์ย่อมง่ายที่จะตระหนักรู้วิกฤตการณ์ และสร้างรโครงสร้างการจัดการแบบฉุกเฉินเพื่อรับการระบาดที่เกิดขึ้น”

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับมือที่โปร่งใสและเร็วของไต้หวัน เช่น เครื่องมือทางการแพทย์ จะถูกนำเสนอ เพราะเป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยที่ยังดำรงอยู่ได้ภายในการระบาดของโรค ถึงแม้มีบางคนจะอ้างว่ารัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาด สามารถจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ เช่น จีนเป็นต้น ไต้หวันยังหลีกเลี่ยงการปิดเมืองแบบ 24 ชั่วโมง ที่ประเทศจีนและประเทศอื่นๆชอบใช้

ไต้หวันตอนนี้มีสถานะที่แข็งแกร่งมาก หลังจากหลายสัปดาห์ที่ห้ามการส่งหน้ากากไปต่างประเทศ เพื่อที่จะใช้หน้ากากในประเทศมากกว่า รัฐบาลกล่าวว่า ในวันพุธจะบริจาคหน้ากากประมาณ 10 ล้านชิ้นไปที่สหรัฐ, อิตาลี, สเปน, และประเทศที่ยุโรปอีก 9 ประเทศ รวมทั้งประเทศที่มีสัมพันธ์อันดีทางการทูตด้วย

การเมืองเรื่องโรคระบาด

ความสำเร็จโดยเทียบเคียงของไต้หวันในการขัดขวางการแพร่กระจายของโคโรนาไวรัสจะถูกมองข้ามโดยยุโรปและสหรัฐ

ในขณะที่ นั่นอาจเป็นจริง แต่ทำไมประเทศทางตะวันตกหลายประเทศจึงไม่ติดตามผู้นำในไต้หวันในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เมื่อพวกเขามีโอกาสเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน แต่ปัจจัยหลักที่น่าอธิบายได้ก็คือไต้หวันไม่เป็นสมาชิกขององค์การอนามัยโลก

ไต้หวันถูกอ้างโดยจีนว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน และปักกิ่งไม่ยอมให้ไต้หวันมามีปฏิสัมพันธ์กับองค์การนาๆชาติ เพราะถ้าทำเช่นนั้น จะขัดหลักการของความเป็นจีนเดียว ซึ่งการทำให้คลุมเครือว่าไต้หวันถึงแม้จะเป็นเกาะแต่ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศจีน เช่นการเรียกว่า “จีน-ไทเป” ในกีฬาโอลิมปิก

ไต้หวันเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ในองค์การอนามัยโลกตั้งแต่ 2016 อย่างไรก็ตาม นั่นเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน แห่งพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ที่ยินดีร่วมกับจีนในการผนวกไทเป แต่เป็นไปในทางการทูต และการแสดงแสนยานุภาพของกำลังทหาร

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การไม่มาของไต้หวันในการประชุมร่วมกับชาติสมาชิกไม่มีผลกับการแบ่งปันข้อมูลเชิงสาธารณสุข และคำแนะนำอื่นๆ เพราะผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆมีปฏิสัมพันธ์กับนาๆชาติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จากผู้สังเกตการณ์หลายคน และเจ้าหน้าที่ไต้หวันต่างอ้างว่านี่จะส่งผลในด้านลบทั้งในช่วงระบาดซาร์และโคโรนาไวรัส

Natasha Kassam ผู้เชี่ยวชาญประเทศจีน, ไต้หวัน, และการทูตแห่ง Australia’s Lowy Institute กล่าวว่าในช่วงต้นของการระบาดโคโรนาไวรัส เกิดขาดการติดต่อจากองค์การอนามัยโลก และทำให้การรายงานผู้ติดเชื้อในไต้หวันไม่ถูกต้อง เพราะเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกฟังแต่ปักกิ่งจนไม่สามารถรับข้อมูลจากเกาะได้

เธอกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่ที่ไต้หวันมักบ่นว่าขาดการติดต่อโดยตรงจากองค์การอนามัยโลกในเรื่องข้อมูล และการช่วยเหลือ”

การขาดข้อมูลทำให้ไต้หวันลองผิดลองถูก และตัดสินใจโดยไม่พึ่งคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก และความเห็นชอบจากนาๆชาติ

อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือไปได้ทั้ง 2 แหล่ง เมื่อสัก 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ไต้หวันบ่นว่าการหลีกขาดจากองค์การอนามัยโลกคือการป้องกันเกาะ จากการกระทำที่ทั่วโลกเขาทำ

รองประธานาธิบดี Chen Chien-jen ที่เป็นนักระบาดวิทยา กล่าวกับสมาชิกอเมริกันการค้าว่า “เราต้องการที่จะช่วยเหลือ เช่น การส่งหมอ นักวิจัย และนางพยาบาลที่ดีที่สุด แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ที่ประเทศนั้นๆต้องการ เราต้องการจะเป็นพลเมืองที่ดี และทำผลงาน แต่ตอนนี้เราไม่สามารถทำอย่างที่ว่าได้”

เจ้าหน้าที่หลายคนบนเกาะได้หยุดการสัมภาษณ์กับอธิบดีองค์การอนามัยโลก ชื่อ Bruce Aylward โดยสถานีโทรทัศน์ฮ่องกง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่เขาเลี่ยงคำถามเกี่ยวกับไต้หวัน โดยอ้างว่าเกิดจากสัญญาณอินเตอร์เน็ทขัดข้อง

ในคำพูด องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า คำถามที่ว่าสมาชิกของตะวันในองค์การอนามัยโลก ขึ้นอยู่กับสมาชิกที่รัฐในองค์การอนามัยโลก ไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่องค์การฯเอง

การพูดกับผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ชื่อ Hua Chunying ทุกฝ่ายเห็นตรงกันอย่างชัดเจนว่า “สมาชิกองค์การอนามัยโลกต้องเป็นรัฐชาติ”

เธออ้างว่า “ไม่มีประเด็นเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมของไต้หวันที่เกิดขึ้นในองค์การอนามัยโลก และข้อมูลที่ได้รับเรื่องสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณสุข รวมทั้งเรื่องการแพร่ระบาดขัดแย้งกับเรื่องราวในรัฐบาลเอง เราหวังว่า (ทั้งสหรัฐและไต้หวัน) หยุดการเล่นทางการเมืองภายใต้เงื่อนไขของการระบาดนี้ซะ

โฆษกขององค์การอนามัยโลกบอกกับ CNN ว่า “หลายคนกำลังสับสนว่าอาณัติเรื่องสาธารณสุขโลกขององค์การอนามัยโลก กับอาณัติที่ประเทศต่างๆมีอยู่มากำหนดสมาชิกขององค์การอนามัยโลกเอง”

“ทุกๆปี องค์การอนามัยโลกและเจ้าหน้าที่ชาวไต้หวันรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเรื่องสาธารณสุขมูลฐาน และประเด็นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย ระหว่างการระบาดของโควิด 19 ก็มีปฏิสัมพันธ์กันเสมอเช่นเดียวกัน” พวกเขาคุยมาทางอีเมล์ “ชาวไต้หวันมีประชากรที่รับผิดชอบอยู่น้อย พวกเราจะติดตามพัฒนาการอย่างรูปธรรม องค์การอนามัยโลกได้เรียนรู้เกี่ยวกับเราทุกด้าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขด้วย”

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

James Griffiths. Taiwan’s coronavirus respond is among the best globally.

https://edition.cnn.com/2020/04/04/asia/taiwan-coronavirus-response-who-intl-hnk/index.html

หมายเลขบันทึก: 677425เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2020 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2020 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท