การใช้จ่ายเงินเกินตัวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะเวลาถูกทวงหนี้ หรือส่งงวดไม่ทัน
ผู้เขียนสังเกตว่า ธรรมชาติประการหนึ่งของเงินคือ “เงินมีแรงดึงดูด (Money has its own gravity.)” หากไม่มีการควบคุมหรือแทรกแซง (intervention) แล้ว...เงินมีแนวโน้มจะเคลื่อนย้ายจากคนที่มีน้อยไปหาคนที่มีมากเสมอ
เราจึงต้องมีวิธีต้านแรงดึงดูดของเงิน ไม่ให้เงินไหลออกไปสู่คนที่รวยกว่ามากเกิน และหัดออมเงินไว้บ้าง
- เมื่อเรามีเงินสะสมไว้จำนวนหนึ่งแล้ว เงินมักจะเริ่มไหลเข้าสู่ตัวเราบ้าง เช่น ไหลเข้าในรูปดอกเบี้ย ผลตอบแทนจากการลงทุน ฯลฯ
ขอนำข้อคิดจากวารสารสรรสาระฉบับเดือนพฤษจิกายน 2548 เกี่ยวกับวิธีลดรายจ่าย 4 วิธี ผู้เขียนขอเพิ่มอีก 1 วิธี รวมเป็น 5 วิธีดังต่อไปนี้...
-
1) จดบันทึก
ให้จดบันทึกรายจ่ายทุกรายการ 2 สัปดาห์ นำมาทบทวน จะเห็นช่องทางลดรายจ่ายได้มากมาย -
2) ซื้อเวลา
ให้เลื่อนเวลาซื้อของไป 2 วัน เพื่อให้มีเวลาทบทวน และพิจารณา ถ้าคิดถี่ถ้วนแล้วค่อยไปซื้อ เวลาอาจทำให้ไฟ(อยากช็อป)มอดลงไปได้บ้าง -
3) ทำรายการ
ให้ทำรายการของจำเป็น 1 เดือนเพื่อพิสูจน์ว่า คุณจะซื้อเฉพาะรายการที่จำเป็นจริงๆ ได้หรือไม่ เวลาไปซื้อของให้ซื้อเฉพาะรายการที่เขียนไว้ล่วงหน้า ซื้อครบแล้วให้เดินออกเลย ถ้าโอ้เอ้อยู่นาน...จะทานแรงดึงดูดของเงินไม่ไหว(ไหลออก) -
4) หยุดเครดิต
ใช้เงินสดซื้อทุกอย่าง เลิกใช้บัตรเครดิตจนกว่าเราจะไม่มีหนี้ มีเงินสะสมมากพอ และมีวินัยทางการเงินการคลังดี -
5) ไม่ค้ำ
ก่อนจะไปค้ำประกันหนี้ให้ใคร เช่น ค้ำเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ โปรดทบทวนดูว่า หนี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ทำให้นอนไม่หลับ ฝันร้าย ความดันเลือดสูง โอกาสเป็นโรคซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ฯลฯ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ความไม่มีหนี้เป็นสุขในโลก... ความสุขนี้มีอยู่จริงครับ
แหล่งข้อมูล: