การแพร่ระบาดของโควิด 19 นำความยุ่งยากมาให้แก่การจลาจลในชายแดนภาคใต้


โคโรนาไวรัสฆ่าคนอย่างน้อย 5 และมีผู้ติดเชื้อเกือบ 300 คนในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งสร้างความยากให้แก่คนจำนวน 2.4 ล้านคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ยากจนข้นแค้น และความยากในการจลาจลในพื้นที่ รายงานจากผู้เกี่ยวข้อง

การติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันในเขตชายแดนมีประมาณ 11% จากทั้งประเทศ นี่นับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิม หรือเป็นภูมิภาคที่พูดภาษามาเลย์ ที่มีประมาณ 3.5 % ของประชากรทั้งหมด

ปรากฏการระลอกคลื่นที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสส่งผลต่อปัญหาการประมง, อุตสาเหกรรมยาง, และการปิดชายแดนไทย-มาเลย์ ที่ทำให้คนไทยไปติดกับมาเลเซีย

ในขณะที่ทางการที่จัดการเรื่องราวเกี่ยวกับมุสลิมได้สั่งปิดมัสยิดทั้งประเทศ และห้ามกิจกรรมช่วงรอมฎอน นั่นคือการถือศีลอดที่จะเกิดขึ้นในปลายเมษายนนี้ กิจกรรมที่ห้ามก็มีตลาดอาหาร, การเชื้อเชิญให้ทานอาหารเย็นกับเพื่อนๆหรือเพื่อนร่วมงาน, และการสวดมนต์ตอนเย็นด้วย

Imrran Waemuso อายุ 52 ปี เจ้าของภัตตาคารในยะลา กล่าวกับ BenarNews ว่า “พระเจ้าต้องการให้เราอดทน และให้เข้าใจความหมายของการให้ เมื่อโควิด 19 ระบาด มันจึงเป็นเวลาที่ดีสำหรับผู้ถือศีลอดให้คนมีเข้าใจคนไมมี”

เขากล่าวต่ออีกว่า “การสวดมนต์ และการทานอาหารระหว่างถือศีลอดที่บ้านจะทำให้ความสามัคคีในครอบครัวดีขึ้น”

ต้นทุนที่แพง 

เจ้าหน้าที่ในชุมชน โดยมากจะเป็นทหารพยายามจำกัดหมู่บ้านเพื่อลดการระบาดของไวรัส แต่การทำเช่นนั้นก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชนเป็นอย่างสูง

Aisoh Ngo-tali ที่เป็นคนขายไก่ในตลาดเปิดในเกาะโพธิ์ ที่เป็นอำเภอของยะลา กล่าวว่า “หมู่บ้านฉันถูกปิด เพราะว่ามีคนติดเชื้อและอยู่ในการกักตัว ทำให้พวกเราหาเงินไม่ได้ ฉันร้องเรียนไปที่รัฐบาลเพื่อขอทุนช่วยเหลือ แต่ฉันไม่ได้ข่าวคราวอะไร”

แม่อายุ 32 ปีบอกกับ BenarNews ว่า “ฉันให้นมกับลูกของฉัน ฉันร่ำไห้เมื่อฉันได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใจบุญ”

จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นจังหวัดที่ยากจนข้นแค้นที่สุด ซึ่งมีรายได้ครอบครัวโดยเฉลี่ยประมาณ 15,000-20,000 บาทต่อเดือน ลองเปรียบเทียบ 45,000 ในกรุงเทพฯดู

เศรษฐกิจของชายแดนโดยมากขึ้นอยู่กับการส่งออกยาง, น้ำมันปาล์ม, และการประมง แต่ทั้งหมดซบเซาในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส ชุมชนบอกกับ BenarNews

Supat Hasuwamnakit ที่เป็นแพทย์ที่สงขลา กล่าวว่า “ส่วนที่ยากที่สุดในการจัดการกับโควิดคือการทำให้การระบาดของไวรัสสมดุลกับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ยิ่งคุมเข้มมากขึ้นเท่าใด ก็จะส่งผลต่อการน้อยลงของเศรษฐกิจ”

เขากล่าวต่อว่า “ชาวประมงจับปลาได้ แต่ไม่มีใครซื้อ”

การเชื่อมไปต่อเหตุการณ์ชาวมุสลิมในวงกว้าง

Supat จัดการโรงพยาบาลจะนะ ที่จังหวัดสงขลา เขาเป็นคนรักษาผู้ป่วย 6 คน ที่ล้มป่วยลงเพราะไปเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ที่จัดขึ้นโดย Tablighi Jamaat ซึ่งเป็นกลุ่มมิชชันนารีอินเดีย

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า “อย่างน้อยมีมุสลิมไทย 13 คนที่ได้เข้าร่วมในเดือนกุมภาพันธ์ และใกล้เคียงกับ 60 คนที่เดินทางไปใน Sulawesi ประเทศอินโดนีเซียที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเดียวกันในเดือนมีนาคม ทั้งหมดป่วยด้วยโคโรนาไวรัส”

ชาวนราธิวาส Maseng Awae-gueji อายุ 49 ปี เป็นคนแรกที่ติดโควิด 19 ที่ได้เข้าร่วมการชุมนุม Tablighi ที่มัสยิดกัวลาลัมเปอร์ในปลายกุมภาพันธ์ เขาตายวันที่ 27 มีนาคม

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า “มีชายอีกคนจากสงขลาก็ตายด้วยโคโรนาไวรัส หลังจากที่ติดเชื้อจากลูกชาย ที่เข้าร่วมการชุมนุมที่เมือง Malaysian”

แต่ถึงยังไง Supat กล่าวว่า โรงพยาบาลในภาคใต้สามารถจัดการกับการระบาดได้ เพราะว่าจำนวนผู้ป่วยตอนนี้ลดลงมากแล้ว

เขากล่าวกับ BenarNews ว่า “หากเราไม่มีผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอักเสบจำนวนมาก เราจะมีเครื่องช่วยหายใจ และห้อง ICU เพื่อดูแลรักษาพวกเขา เรามีคนไข้ที่อาการหนัก 50 คนจากทั่วประเทศ”

ตามที่โฆษกการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับโควิด 19 พูดว่า คลินิกและโรงพยาบาลใน 14 จังหวัดภาคใต้มีเครื่องช่วยหายใจ 568 อันซึ่งพร้อมใช้

ข้อมูลเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับจำนวนเครื่องช่วยหายใจ และเตียงนอนในโรงพยาบาลในชายแดนภาคใต้ไม่มีข้อมูล

การหยุดยิงที่ไม่เคยพบมาก่อน

ถึงแม้จำนวนของผู้ติดเชื้อในมาเลเซียทำให้การชุมนุมทางศาสนาก็ไม่มีอีกต่อไป มาเลเซียยังปิดการผ่านข้ามแดน และปิดเมืองในส่วนที่มีการระบาดของไวรัส ต่อมาประเทศไทยก็ทำตาม

 นั่นส่งผลให้มีคนไทยประมาณ 100,000 ที่ทำงานระหว่างชายแดนยังอยู่ในมาเลเซียช่วงปิดเมือง

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่บอกเมื่อเร็วๆนี้ว่าจะมีการประกาศให้คนไทยข้ามผ่านชายแดนได้ 5 แห่ง

ในวันที่ 18 เมษายน โดยกำหนดคนไทยไปวันละไม่เกิน 350 คน

โฆษกกองกำลังทหารที่ดูแลชายแดนภาคใต้กล่าวว่า มีห้อง 2,500 ห้องเพื่อการกักตัวเพื่อกันไวรัส

ชายแดนภาคใต้เป็นบ้านของการจลาจลที่ยังดำเนินอยู่ เป็นการแยกดินแดนที่มาหลายทศวรรษ

ในวันที่ 17 มีนาคม เกิดการระเบิดหน้าศอ.บต. ในเมืองยะลา ซึ่งทำให้คนบาดเจ็บอย่างน้อย 25 คน มีการเชื่อว่าการโจมตีทำให้โดย BRN ซึ่งกลุ่มก่อการจลาจลที่ทรงพลังที่สุดในชายแดนภาตใต้

ในขณะที่มีการระเบิด เจ้าหน้าที่ ศอ.บต. กำลังอภิปรายกันถึงการตัดสินใจของมาเลเซียเรื่องการปิดพรมแดน เนื่องมาจากการระบาดของไวรัส

2 อาทิตย์ต่อมา BRN ประกาศสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ การหยุดยิง และหยุดทุกกิจกรรมเพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม ทางกลุ่มกล่าวว่า “เราตระหนักเป็นอย่างดีว่าศัตรูของมนุษยชาติคือโควิด-19”

BRN ประกาศหลักการในวันเดียวกับเลขานุการสหประชาชาติที่ย้ำเตือนกลุ่มที่เตรียมพร้อมในการฆ่าฟันรอบโลก “ให้เงียบเสียงปืน” เพื่อต่อสู้กับการระบาด

ถึงตอนนี้ยังไม่มีรายงานเรื่องการต่อสู้ระหว่างกองกำลังจลาจลกับทหารไทย

อย่างไรก็ตามทหารก็ไม่ได้สนใจการหยุดยิงของ BRN นัก

พลตรี Pramote Prom-in ซึ่งเป็นโฆษกของ กอ.รมน. บอกกับ BenarNews ว่า “การหยุดยิงที่ยกตนเองกับ BRN เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้อง”

“ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เจ้าหน้าที่ก็ได้รักษาสันติภาพภาใต้อำนาจกฎหมาย และใช้กฎหมายจัดการกับผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่หรือพลเมืองก็ตาม”

มากกว่า 7,000 คนถูกฆ่าในความโหดร้ายรุนแรงใยจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการเกิดการขัดแย้งกันตั้งแต่มกราคม ปี 2004

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Mariyam Ahmad and Nontarat Phaicharoen. Covid-19 Pandemic Adds Hardship to Insurgency-hit Thai Deep South.

https://www.benarnews.org/english/news/thai/Thai-Deep-South-COVID-19-04162020194641.html

หมายเลขบันทึก: 677170เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2020 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2020 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท