โคโรนาไวรัสทำให้การหันกลับมาสู่การปกครองแบบทหารเกิดขึ้นในเอเชีย


เนื่องมาจากรัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังพยายามที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่ความที่ไม่มีภาวะผู้นำ, สถาบันที่อ่อนแอ, และระดับความไม่เชื่อถือของประชาชนในระดับสูง ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความบอบบาง ทั้งๆที่เคยมีการปฏิรูปเป็นประชาธิปไตยมาเมื่อเกือบ 2 ทศวรรษ ความข้องใจเกี่ยวกับการจัดการกับโควิด 19 จะหมายถึงการหันกลับไปใช้อำนาจเด็ดขาด โดยการใช้อำนาจทหาร

มีแนวโน้ม 2 อย่างที่สามารถมองเห็นได้ แนวโน้มอันแรกคือการที่ประเทศมีประสบการณ์กับการมีกฎแบบทหารปกครองหรือการแทรกแซงโดยทหาร ก็อาจหันกลับไปให้ทหารเข้ามาควบคุม หรือให้การช่วยเหลือเพื่อจัดการวิกฤตทางสาธารณสุข

แนวโน้มที่สอง คือการที่รัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้มีมาตรการแบบกระจายอำนาจ แต่ยังคงให้อำนาจที่ส่วนกลางอย่างเข้มข้น อาจเจอการสูญเสียซึ่งการควบคุม เพราะชุมชนสามารถมีมาตรการป้องกันและปกป้องด้วยตนเอง สิ่งนี้น่าจะทำให้รัฐบาลเรียกคืนการบังคับและลดทอนการกระจายอำนาจลง

อินโดนีเซียใช้มาตรการทั้ง 2 อย่างอย่างมากมาย ประธานาธิบดี โจโค โจโควิ วิโดโด รั้งรอการประกาศถึงผู้ติดเชื้อโควิด 19 โดยคำแนะนำจากที่ปรึกษาเกี่ยวกับอันตรายทางการลุกฮือของสังคม หากการห้ามเรื่องการเคลื่อนไหวเข้มงวดเกินไป ตอนเริ่มต้นประธานาธิบดีจะเชื่อคณะรัฐมนตรี เช่นรัฐมนตรีสาธารณสุข ที่ชื่อ Terawan Agus Putranto

ในกลางเดือนมีนาคม ประธานาธิบดีได้แต่งตั้งคนที่จะมานำภารกิจทางทหารในรัฐบาล พลโท Doni Monardo กลายเป็นหัวหน้าของศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศ ในวันที่ 13 มีนาคม อดีตพลเอกกำลังพิเศษ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าภารกิจของโควิด 19 ต่อจากนั้น สื่อท้องถิ่นได้รายงานว่า เขาไม่เคยออกจากสำนักงาน มีการสื่อสารด้วยคำพูดที่ติดประดับด้วยเทปสีเหลืองเพื่อที่จะเตือนคนที่เข้าไปพบเขาว่าจงอยู่ห่างจากเขา เมื่อตอนไปพบ

ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่ามีพลเอกถึง 2 คน และสองคนนี้ใกล้ชิดกับวงในของประธานาธิบดี ที่วงในนั้นมีพื้นฐานทางทหารมาก่อน ผู้บัญชาการทหารจาการ์ตา คือพลเอก Eko Margiyono ซึ่งเคยถูกแต่งตั้งเป็นหัวหน้าที่นำทีมในเมืองหลวง ซึ่งเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยคนติดเชื้อ และฆ่าหมอไม่น้อยกว่า 12 คน

ถึงแม้ว่าจะก่อนการเลือกตั้งอีกครั้งตอนปลายปี โจโควีแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการพึ่งพิงกับกองกำลังทหารเพื่อปรับแต่งระบบราชการที่แตกแยกออกเป็นหมู่เหล่าและอ่อนแอ นอกจากนี้ปัญหาอื่นๆในประเทศ ที่เอาไม่มีประสบการณ์ และความสามารถ ดูท่าสิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกว่ากองทัพอินโดนีเซียใหญ่โตกว้างขวางมาก กองทัพเป็นองค์กรที่ติดอยู่กับพื้นที่ ที่สามารถจะดึงเครือข่ายได้ทั้งประเทศ เนื่องมาจากยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายในในอดีต ที่กระจายทหารไปอยู่ทุกหมู่บ้าน ในการแสดงความคิดเห็นของจาการ์ตาในกลางเดือนมีนาคมว่า ไม่ว่าการยึดติดกับอำนาจ หรือปฏิวัติกับมัน ตัวละครของทหารจะเคาะทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์เพื่อเครือข่ายของการใช้อำนาจ

การที่ทหารชาวอินโดนีเซียลงไปอยู่ในระดับชุมชนอาจช่วยให้ปกป้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในรัฐบาลกลาง ผู้ปกครอง. เทศมนตรี, หัวหน้าของชุมชนเริ่มที่จะมีการปิดเมืองเพื่อป้องกันไวรัสก่อนรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นการท้าทายต่อรัฐบาลกลางด้วย เมื่อถูกถามเรื่องนี้ Doni Monardo กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ปกครองหลายคนล้วนเป็นผู้นำทางทหาร ซึ่งมีนัยยะของลำดับขั้นของคำสั่งที่แน่วแน่และมีประสิทธิภาพ

นี่ไม่มีคำถามสำหรับประเทศที่พื้นฐานทางพลเมืองได้รับการสร้างมาอย่างยาวนาน รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะใช้กองกำลังทหารเพื่อเร่งมาตรการต่อต้านการรักษาโควิด 19 ถึงแม้ว่ามันจะแผ่ให้เห็นความทรงจำของการแทรกแซงทางทหารในระดับการเมือง

ในฟิลิปปินส์ การปิดเมืองมะนิลาและบางส่วนของลูซอนต้องใช้กองกำลังทางทหารและตำรวจมาปฏิบัติ หัวหน้ากองทัพของฟิลิปปินส์ พลโท Gilbert I. Gapay โพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ “เพราะประเทศกำลังต่อสู้กับโควิด 19 จึงจำเป็นที่ทำให้กลไกของรัฐบาลอ่อนแอลง กองทัพของฟิลิปปินส์จึงมารับทำหน้าที่นี้แทนภายใต้บทบาทของนายกฯ”

ทั้งหมดดูเหมือนจะดูดี แต่จากรายงานจากพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ที่กองกำลังของฟิลิปปินส์ที่กำลังจัดการบทบาทของพวกกบฏกล่าวว่า ผู้บังคับบัญชาที่กระตือรือร้นเกิดเหตุได้เปิดป้อมยามที่กวดทุกอย่างที่ขวางหน้า ซึ่งเกิดให้เกิดความตึงเครียดขึ้น

มีบางข้อคิดเห็นพูดว่าจากสถานการณ์ฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในกฎอัยการศึกโดยพฤตินัย แต่สำนักงานของประธานาธิบดีพูดหลายครั้งการกักตัวอยู่บ้านไม่ใช่กฎอัยการศึก และไม่นำไปสู่อัยการศึกอีกต่างหาก แต่ประชาชนหลายคนก็ไม่สบายใจที่ประธานาธิบดีกล่าวต่อมาว่า “หากพบใครก่อปัญหา” กับทหารและตำรวจ ก็ให้ยิงผู้คนที่ฝ่าฝืนคำสั่งการกักตัวอยู่ที่บ้านได้เลย

ประเทศไทยก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะถูกปกครองโดยระบอบทหารหลังจากการปฏิวัติเมื่อปี 2014 การเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วยังคงรักษาบางส่วนของระบบรัฐสภา แต่อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ คือพลเอกประยุทธ์ จันทโอชายังคงเป็นนายกฯ การเข้ามาจัดการโควิด 19 ของเขาถูกวิจารณ์ว่าเบาเกินไป และช้าเกินไป

ตอนเริ่มต้น ดูเหมือนว่าผู้เชี่ยวชาญ ก็คือกลุ่มหมอ ได้เข้ามาเติมเต็มนโยบายแบบสุญญากาศขึ้น ทั้งนี้พวกหมอร่วมมือกับชุมชนเมืองกดดันให้รัฐบาลออกมาตรการออกมาเพื่อจัดการกับวิกฤต แต่เมื่อผู้ติดเชื้อจำนวนมากขึ้น และผู้ว่า และองค์กรอื่นๆที่แข็งแรงในจังหวัดต่างๆ เริ่มที่จะวางการห้ามไปล่วงหน้า และกองทัพจึงเข้ามาเสริม ประยุทธ์ตอนนี้ประกาศภาวะฉุกเฉิน และก่อให้เกิดความยากลำบากคนที่อยู่ต่างประเทศและกลับมาเมืองไทย

สิ่งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับพม่า เมื่อรัฐบาลที่นำโดยพลเรือน อย่างออง ซาน ซูจี ที่กำลังต่อสู้เพื่อควบคุมอำนาจทางทหารหลังจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2015 เมื่อรัฐบาลตื่นขึ้นมารับมือกับการระบาดของโควิด 19 แต่การตอบรับคือสร้างภาวการณ์ฉุกเฉิน ที่ประกอบด้วยกำลังทหารและกระทรวงที่มีพลเรือนเป็นผู้นำ กล่าวคือ สวัสดิการทางสังคม สิ่งนี้คือผลกระทบของการควบคุมสื่อแบบเข้มข้น หลายเว็บไซต์ถูกปิด และยกเว้นเรื่องมนุษยธรรมต่อรัฐยะไข่ ที่กระบวนการทางทหารกำลังดำเนินอยู่

ในหลายประเทศทั่วโลก ความกลัวของการลุกฮือทางสังคม และการขาดแคลนความเชื่อของเจ้าหน้าที่รัฐบาล คือผลของการกระชับอำนาจ แต่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการปฏิรูปการเมืองมีความอ่อนแอและมีแนวโน้มในความปราชัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีกำลังทหารเข้ามาแทรกแซงอยู่เสมอ เช่น อินโดนีเซีย, พม่า, และประเทศไทย แนวคิดของพลเรือนเป็นเอกคือความอ่อนแอ พร้อมกับความขัดสนของปัจจัยภายนอก กองทัพมองตนเองว่าเป็นผู้รักษาความมั่นคงภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤต หากวิกฤตเรื่องโควิดจบลง เราจะได้เห็นเส้นแบ่งระหว่างกองทัพกับพลเรือนอ่อนแอลงด้วย  

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Michael Vatikiotis. Coronavirus is paving the way for return to military rule in Asia.  

https://www.scmp.com/week-asia/opinion/article/3078346/coronavirus-paving-way-return-military-rule-asia

หมายเลขบันทึก: 677052เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2020 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2020 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท