สื่อสารดีมีสุข: ขอบคุณโควิดสะกิดใจให้คิดบวก


เมื่อวานผมขอบพระคุณโอกาสดีงามจากทีมงาน Mahidol Channel และกัลยาณมิตรที่ตั้งใจเรียนรู้ผ่าน Online Workshop หัวข้อดังภาพ 

ขอเชิญทุกท่านชื่นชมย้อนหลัง คลิกที่นี่

หรือจะแยกชมเฉพาะหัวข้อ "กิจกรรมบำบัดจัดการความเศร้าให้อยู่หมัด" คลิกที่นี่ 

ล่าสุด ขอขอบพระคุณทีมงาน TPBS ที่สังเคราะห์ถอดบทเรียน "กิจกรรมบำบัดเพื่อฝึกทักษะจิตสังคมสื่อสารคิดบวก" ได้แก่

  1. บำบัดจิตให้ผ่อนคลายในช่วงพักผ่อน (เก็บตัวอยู่บ้าน) ใน 14 วัน คลิกที่นี่ 
  2. ปรับความคิดบวกในช่วงโควิด คลิกที่นี่ 
  3. ตามข่าวโควิดอย่างไรไม่ให้จิตตก คลิกที่นี่ 
  4. กิจกรรมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ คลิกที่นี่ 

ผมขออนุญาตบันทึกการเรียนรู้ก่อนนำไปสร้างสรรค์บทเรียนสื่อสารมวลชนให้สนุกจนสำเร็จและสงบสุข ดังนี้

  1. การประเมินวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงจากการสื่อสารสู่การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Risk Communication and Community Engagement หรือ RCCE อ้างอิงจาก WHO)
    • เรากำลังสื่อสารเพื่ออะไร: เพื่อบอกข้อมูลให้เรากำลังช่วยเหลือชีวิตคนทั่วโลก (Life-Saving) 
    • เรากำลังวางแผนคิดดีพูดดีทำดีอย่างไรให้ SMART (Specific, Measurable, Actionable, Realistic, Time bound) เช่น เรากำลังป้องกันไวรัส ด้วยวิธีการเว้นระยะห่างมากกว่า 1 ช่วงแขน ร่วมด้วยช่วยกันทำงานจากบ้าน เราทำได้ เราจะเพิ่มประชากรสุขภาพดี ลดประชากรติดเชื้อ ไม่ใช่เหลือศูนย์ แต่ทำให้เต็มความสามารถความสามัคคีพลเมืองดีทุกท่าน (Flatter the Curve) Cited with Acknowledgment at https://www.mainebiz.biz/article/maine-techies-plan-virtual-brainstorming-event-to-flatten-the-curve
    • เรากำลังสื่อสารสองทางระหว่างใครกับใคร เน้นเนื้อหาที่สั้นกระชับ เข้าใจง่าย และเป็นปัจจุบันขณะ เช่น ภาพรวมทั่วโลก มีอะไรที่คิดบวกทั่วโลกในสถานการณ์อารมณ์ตึงเครียดบ้าง   8 วิธีความตึงเครียดได้ดี 
    • เราลดการเสพติดข่าวที่แชร์โดย "มือไวใจเร็ว" ทำให้ขาด "การรับรู้สึกร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยเหตุผลที่เป็นความจริง" เรามาเพิ่ม Empathy เอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยการไม่สื่อสารตีตราบาปกับผู้ติดเชื้อ เพราะถ้าพูดชื่อหนึ่งคน เค้าไม่ได้ทำผิดอะไร เค้ากำลังแยกตัวด้วยความปลอดภัย เค้ากำลังจะฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาคนที่เค้ารักด้วยความสบายใจ กลับมาทำงานด้วยความสุข ถ้าตีตราบาปจะทำให้สังคมตื่นตระหนกตกใจในผู้คนรอบตัวผู้ติดเชื้อและสถานที่ทำงาน/ที่พักอาศัยจนทำให้เป็น "ชุมชนแห่งความหวาดกลัว" เรามาสร้าง "ชุมชนความรักความเข้าใจกันเถอะครับ" ยกตัวอย่างการสื่อสารสะกิดใจให้คิดบวก มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเพื่อนดีต่อใจ คลิกที่นี่ 
    • เรามาสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยการดูแลสุขภาพ "เปลี่ยนจากเครียดลบเป็นเครียดบวกกัน (De-stress)" คลิกดูภาพที่ดีมีความสุขที่นี่ 

    2. คิดสื่อสารสร้างสรรค์ความรักความเข้าใจให้ก้าวข้ามคุณโควิด

    • สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เน้นการเล่นสื่อสร้างสรรค์ เล่าเป็นนิทานสนุกกับคุณโควิดด้วยน้ำเสียง ท่าทาง รอยยิ้ม ของคุณพ่อคุณแม่ ที่สำคัญเรียนรู้การป้องกันภาวะวิตกกังวลเมื่อการเว้นระยะห่างระหว่างคนที่คุณรักมากๆ เช่น สัมผัสปลายนิ้วมือแล้วชวนไปล้างมือด้วยสบู่หรือเจลอัลกอฮอล์ 70% ให้สะอาด ยิ้มทักทายด้วยการโค้งคำนับหรือยกมือไหว้ การเขียนตัวอักษรมากกว่าการพูดเผชิญหน้า ถ้าพูดก็คิดด้วยประโยคที่เข้าใจง่าย มีภาษามือ แล้วจัดวางตำแหน่งการพูดที่มีลมถ่ายเท นั่งเป็นมุมเยื้องกันพอเหมาะ ฯลฯ
    • สำหรับผู้สูงวัยและผู้ที่มีความต้องการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การเคลื่อนไหว การสื่อความหมาย ฯลฯ ที่จำเป็นในการสื่อสารด้วยภาพและข้อความ คลิปสั้น ๆ การสาธิตจับต้องโดยใส่ถุงมือหน้ากากที่ปลอดภัย รวมทั้งการเรียนรู้จากบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มเติม 
    • สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ควรจัดสรรเวลาส่วนตัวให้สื่อสารกับคนที่รักอย่างน้อยวันละ 10 นาที และอีก 10 นาที เพื่อทำสมาธิให้มีจิตเข้มแข็ง ที่สำคัญมีเวลานอนหลับพักผ่อนอย่างพอดีมีอาหารสุขภาพ หากมีภาวะอารมณ์ตึงเครียดใกล้ Burnout ให้มีทีมงานกู้ใจ (Psychological First Aid) คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่  เช่น การระบายความไม่สบายใจกับทีมงานที่ถูกฝึกมาให้เปิดใจรับฟังด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ (ไม่คิดตัดสิน ไม่คิดไปเอง ไม่คิดมากเรื่อง และไม่แนะนำแบบคิดแทนคนอื่น ใช้รอยยิ้ม-น้ำเสียง-สีหน้าท่าทาง-น้ำใจที่เมตตากรุณาอยากช่วยเหลือให้เพื่อนสบายใจ) เป่าหายใจออกยาวๆ ตามจำนวนครั้งของการให้คะแนนความวิตกกังวล (ถ้ากังวล 10 คะแนน ก็เป่าลมหายใจออกยาวๆ 10 ครั้ง) ขยับร่างกายเดินขณะคุยไลน์/มือถือกับคนรัก 
    • สำหรับนายจ้าง-ลูกจ้างที่ทำงานจากบ้าน และผู้ที่กำลังวางแผนหางานใหม่ ควรใช้เวลา 30 นาทีต่อวันเพื่อพักผ่อน (ไม่นอนหลับ) สูดอากาศมองธรรมชาติ ทำและทานอาหารสุขภาพช่วงกลางวัน ลดอาหารหวานที่หยิบทานง่ายที่บ้าน แม้จะมีระยะห่าง ก็คิดสื่อสารกับคนรักครอบครัวอีก 10 นาทีต่อวัน เรียนรู้การวางแผนขั้นตอนที่เกิดการเรียนรู้ลึกซึ้ง (Micro-step of Researching & Learning) เพื่อแก้ปัญหาชีวิตทีละเรื่องๆ ละ 10 นาทีต่อวัน แล้วพัก 5-10 นาที ถ้าคิดไม่ออกก็คิดต่ออีกไม่เกิน 3 ครั้ง จัดตารางเวลาทุกเช้าสัก 1 นาที ให้ชัดเจนว่า "วันนี้เราตั้งใจจะทำอะไรให้สำเร็จ สำเร็จทีละเล็กทีละน้อย หรือจำเป็นต้องทำให้เสร็จจริงหรือเปล่า ถ้าจำเป็นก็ลองฝึกจิตมุ่งมั่นสัก 25-30 นาที แล้วก็พัก 5-10 นาทีในท่าขยับร่างกาย" และก่อนนอนก็ทบทวนสัก 1 นาทีว่า "วันนี้เราทำความดีมีสุขอะไรบ้าง ขอบคุณที่ตัวเราจะนอนหลับให้สบาย" 

    3. คำพูดสะกิดใจให้คิดบวก (ตัวอย่าง)

    • เราเป็นหัวหน้า ห่วงทีมงาน จะสื่อสารให้กำลังใจ วันละครั้งทางไลน์กลุ่ม
    • เราจะดูแลตัวเอง ครอบครัว และพี่น้องเพื่อน ด้วยความซื่อสัตย์และความเป็นมนุษย์
    • เรากำลังเรียนรู้ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหา...เราจะมองคุณโควิดให้เป็นบทเรียนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน
    • เรากลัวคุณโควิดได้ เราก็กล้า มั่นใจ ลดความกลัวลงได้เป็นธรรมชาติ...อารมณ์ดี เราจะมีภูมิคุ้มกันโรค
    • เราจะคิดก่อนพูดกับตัวเองเสมอ ถ้าตัวเรารู้สึกดี เราค่อยสื่อสารให้เพื่อนเรารู้สึกดี 
    • เราไม่ได้แย่ไปทุกเรื่อง...เรากำลังแก้ปัญหาทีละเรื่อง
    • เมื่อเราเบื่อไม่อยากทำงานให้เสร็จ...เราจะขอเวลาให้ตัวเองตั้งใจทำงานนี้ให้สำเร็จให้จงได้ 
    • เรารู้สึกเหงาถ้ามองว่าเพื่อนหายไปหมด...ลองมองหาใครสักคนที่เราจะระบายความไม่สบายใจได้ 
    • ถ้าเผลอคิดว่า ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ... ขอ 5 วินาที นิ่งเงียบ เราจะรู้ว่า เราโชคดีมากที่ใจสงบได้ 
    • ขอบคุณคุณโควิดที่ทำให้เราคิดเปลี่ยนแปลงตัวเองได้มากขึ้น จากยึดติดบ้าทำงานนอกบ้าน ก็ทำงานสบายๆ ที่บ้านได้อิสระ
    • วันนี้เราจะหาคำตอบว่า อะไรคือจุดคาดงัด/จุดเปลี่ยน ให้เรามีนิสัยที่ดีมีคุณค่ามากขึ้น ในช่วงเจอกับคุณโควิด
    • เราไม่ได้อยู่คนเดียว เรากำลังมองหาสิ่งดีๆ รอบตัว ธรรมชาติ สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ของใช้ที่เราชอบ ของกินที่ทำให้สุขภาพดี ฯลฯ
    • หลายวันมานี้ ทำให้เราเรียนรู้ว่า ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ 100% ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
    • ก่อนโควิดจะมา เราก็มีความรู้ความสามารถที่ดีมีกระบวนการคิดเป็นบวก ขณะเกิดคุณโควิด เราได้ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ได้ดี เช่น ทำอาหารสุขภาพทานเอง ฝึกตัดผมทรงใหม่เอง ฝึกล้างมืออย่างตั้งใจใน 20 วินาที อาบน้ำกายบ่อยขึ้นแถมยังอาบน้ำจิตให้คิดบวกอีก 

      ผมภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่บทบาทนักกิจกรรมบำบัด ที่มีความสนใจเรียนรู้เชี่ยวชาญกระบวนกรจิตสังคม ตาม Statement ของสมาพันธ์นักกิจกรรมบำบัดโลกที่แนะนำ "บทบาทนักกิจกรรมบำบัดช่วยคนทั่วโลกในช่วงโควิด" ได้แก่ การเสริมสร้างสุขภาวะปัญญา ให้ความรักความเข้าใจแก่ประชาชน 4 เรื่องหลัก ๆ คือ สิทธิมนุษย์ สุขภาพจิต อุปกรณ์เครื่องช่วย และการสื่อสารสุขภาพทางไกล คลิกเรียนรู้ดาวน์โหลดรายละเอียดที่นี่

      สุดท้ายคือนวัตกรรมที่นักกิจกรรมบำบัดไทยสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่น เสียงยิ้ม กับ สมองพลังสุข กับคอร์สออนไลน์กิจกรรมบำบัดสร้างสุข คลิกอ่านบันทึกดีงามที่นี่ ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง 

      หมายเลขบันทึก: 676424เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2020 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2020 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (0)

      ไม่มีความเห็น

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท