สินรินทร์สเตชั่น
อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

กศน.เขวาสินรินทร์จัดเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตประชาชน รู้เท่าทันภัยออนไลน์ ปัญหาสังคมยุคดิจิทัล


             วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพิเชษฐ์ ดียิ่ง ผู้อำนวยการกศน.อำเภอเมืองสุรินทร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกศน.อำเภอเขวาสินรินทร์ ได้มอบหมายให้กศน.ตำบลบ้านแร่ ดำเนินการจัดกิจกรรมจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ภายใต้ชื่อโครงการ “รู้เท่าทันภัยจากโลกออนไลน์” ให้กับประชาชนโดยมีเป้าหมาย ๒๐  คน  ณ ศาลาประชาคมบ้านภูดิน หมู่ ๕ ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์   โดยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของกศน. เพื่อส่งเสริมความสามารถของบุคคล เพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีความสุขตามสภาพ  และความสุขความปลอดภัยใน สังคม  ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคลโดยบูรณาการองค์ความรู้  และกระบวนการเรียนรู้ ต่าง  ๆ  ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน

                   นายพิเชษฐ์  ดียิ่ง ผู้อำนวยการกศน.อำเภอเมืองสุรินทร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกศน.อำเภอเขวาสินรินทร์ กล่าวว่า “เนื้อหาที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต   ที่ทางสำนักงาน กศน.ได้กำหนดเนื้อหาที่เป็น จุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต 4 ด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการส่งเสริม การป้องกัน และการแก้ไขที่ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายประชาชนในแต่ละพื้นที่  ไม่ว่าจะเป็น ด้านสุขภาพอนามัย  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ซึ่งจากการดำเนินการจัดกิจกรรมครั้งนี้ตรงกับในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยกศน.อำเภอเขวาสินรินทร์ มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง  เทคโนโลยีเสมือนดาบสองคม ด้านหนึ่งสามารถสร้างประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน  ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือในการทำลาย หากรู้ไม่เท่าทัน  จึงได้กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจและ ตระหนักในภัยอันตรายจากโลกออนไลน์ ในอีกมุมมองหนึ่ง ที่อาจจะเกิดขึ้น ในยุคดิจิทัล  โดยประชาชนจะได้รับความรู้ ไม่ว่าจะเป็น ภัยออนไลน์ในเด็ก เด็กติดเกมส์  ปัญหาสังคมยุคดิจิทัล ผู้ปกครองจำเป็นต้องได้รับความรู้เท่าทัน”  

                   นายพิเชษฐ์  ดียิ่ง กล่าวต่อไปว่า  “ซึ่งจากข้อมูลทาง มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และอนุกรรมการส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในการใช้สื่อออนไลน์ เผยว่า ผลสำรวจต่อมานั้นพบว่า เด็กไทยอายุระหว่าง ๖-๑๘ ปี จำนวน ๑๕,๓๑๘ คน จากทั่วประเทศ ใช้อินเทอร์เน็ต ๖-๑๐ ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๓๙ ที่ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ค่อนข้างสูง และส่วนใหญ่เด็กใช้ไปในเชิงของการพักผ่อนและความบันเทิง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ๖๗ % ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนในการใช้เพื่อความบันเทิงที่สูงเช่นเดียวกัน ทั้งที่ความจริงแล้วเด็กในช่วงวัยดังกล่าวไม่ควรอยู่กับโซเชียลนานเกิน ๓ ชั่วโมงต่อวัน เพราะข้อมูลทางการแพทย์ออกมาระบุว่า หากเด็กใช้เวลากับโซเชียลนานเกินกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน และติดต่อกันนาน 3 ปี จะทำให้เด็กเสี่ยงต่อการติดเกมสูง ๒-๓ เท่า ซึ่งคิดร้อยละ ๓๘% อีกทั้งยังกระตุ้นให้เด็กเป็นโรคทางจิตเพราะติดเกมอีกด้วย”

หมายเลขบันทึก: 675824เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2020 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2020 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท