สี่เสาหลัก ของการศึกษา 4.0 (การสร้างนวัตกรรม)


สี่เสาหลัก ของการศึกษา 4.0 (การสร้างนวัตกรรม)

                กระแส “การศึกษาไทย 4.0” เกิดขึ้นจากแนวคิด “โมเดลประเทศไทย 4.0” ที่เป็นผลมาจากแรงส่งของนโยบายของรัฐที่ว่า “ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาไทย 4.0 นั้นมีแนวคิดและข้อเสนอในลักษณะที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การปรับของเก่าทำให้เกิดผลผลิตใหม่ ๆ นำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ การสร้างนวัตกรรม นั่นเอง

    การสร้างนวัตกรรมมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 กลุ่ม หรือ สี่เสาหลักการศึกษา 4.0 ซึ่งประกอบด้วย Invention, Innovation, Production และ Imagination รายละเอียดดังนี้

    1. กลุ่ม Invention ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการศึกษา 4.0 เพราะเป็นจุดเริ่มต้นและตั้งต้น ของนวัตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยนักวิจัยและนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกค้นคว้าและสร้างผลงาน ส่วนที่อยู่ภายนอกก็มีบ้างแต่ไม่มากนัก

                2. กลุ่ม Innovation เป็นกลุ่มที่นำ Innovation ไปสู่สถานประกอบการ โดยอาศัยพื้นฐานทางการจัดการ และการธุรกิจ กลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ และประชาชนที่ใช้นวัตกรรม โดยสถานศึกษาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จะเน้นการวิจัยและพัฒนา การสร้างภาวะผู้นำการจัดการ และความรับผิดชอบต่อสังคม

                3. กลุ่ม Production เป็นกลุ่มในสถาบันการศึกษา ที่ไม่ได้อยู่ในสองกลุ่มแรก และเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการศึกษา 4.0 มากนัก ยังเป็นผู้บริโภคนิยมมากกว่า กลุ่มนี้ควรได้รับการศึกษาแบบ ผลผลิตนิยม (Productive Education) เน้นการสอนที่สร้างนิสัยการเป็นผู้ผลิตให้ได้ ทั้งองค์ความรู้ และผลิตภัณฑ์

                4. กลุ่ม Imagination เป็นกลุ่มหลักการวางรากฐานของการศึกษา 4.0 โดยเฉพาะ การศึกษาในระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่เด็กยังมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสูง บทบาทการศึกษาในระดับนี้ต้องได้รับการปฏิรูปเพื่อเตรียมความพร้อมให้การคงอยู่ที่ยั่งยืนของ การศึกษา 4.0 การศึกษาระดับนี้ควรรักษา ส่งเสริม หล่อเลี้ยง และก่อให้เกิดความเจริญเติบโต ของพลังจินตนาการของเด็กและเยาวชนไทยของเราต่อไป

                ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 เสาหลักจะต้องเปลี่ยนทั้งวิธีการเรียนการสอน และกิจกรรมแก่ผู้เรียน โดยสอนให้เรียนรู้แบบเชื่อมโยงเรียนรู้ความจริงของสังคม เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น และสถาบันการศึกษาต้องสร้างผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็น ใช้ความรู้เป็น มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบ เป็นพลเมือง ไทย และพลเมืองโลก ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง ให้เป็นการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์หรือ Outcome Based Education โดยผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง เป็นการศึกษาแนวระนาบ ผู้สอนจะเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน โดยออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อไปสู่ผลลัพธ์

เอกสารอ้างอิง

ไพฑูรย์  สินลารัตน์และคณะ. 2561. การศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย.

สมาน อัศวภูมิ. 2561. การศึกษาไทย 4.0 : แนวคิดและทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาไทยThai Education 4.0 : New Concept and Trends of Thai Education Provision. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

เลอลักษณ์ โอทกานนท์. 2561. มหาวิทยาลัย 4.0: การศึกษาเชิงผลิตภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561.

หมายเลขบันทึก: 675708เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2020 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2020 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท