ใครทำวิจัย


ระหว่างเดินทางไปปฏิบัติงานภาคประจำวัน ความคิดแบบนี้ก็เกิดขึ้นอีก เป็นความคิดที่เกิดซ้ำคือเรื่อง “ใครทำวิจัย” อันที่จริงผมเคยบันทึกความคิดทำนองนี้เกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ไว้แล้ว เพื่อจะชี้ไปถึง “ใครทำวิทยานิพนธ์กันแน่” ภาระงานอันหนึ่งที่บุคลากรสายวิชาการภายในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศต้องทำคือ “งานวิจัย” เท่าที่สอบถามจากเพื่อนที่สุราษฎร์บ้าง เชียงรายบ้าง ปทุมธานีบ้าง ฯลฯ ดูเหมือน งานวิจัยเป็นภาระงานบังคับ เหตุผลอันหนึ่งคือ ผู้อยู่ในสายวิชาการจะได้มีองค์ความรู้ในการถ่ายทอดสู่ผู้เรียน ผมลองเทียบการเรียนในสมัยที่ผมและเพื่อนๆเรียนหนังสือกัน เข้าใจว่าสมัยปัจจุบันก็น่าจะทำนองนี้ (๑) เรียนเพื่อให้เกิดความรู้/ต้องการรู้ ผู้เรียนในกลุ่มนี้จะเอาใจใส่กับการเรียนเขียนอ่านตั้งแต่ต้นปีไปจนถึงปลายปี การใส่ใจกับการเรียนจนกลายเป็นจารีตของผู้นั้น หากวันใดไม่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะรู้สึกผิด ดังนั้นจะต้องชดเชยการเรียนในวันถัดไปเป็นสองเท่า นิทานที่ผู้เรียนกลุ่มนี้มักพูดถึงคือ ราชสีห์ที่ตั้งใจนอน หากตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า ตัวเองขยับออกจากที่นอนเดิม ตนจะไม่ไปหาอาหาร คล้ายกับเป็นการฝึกวินัยให้กับตนเอง คนที่เรียนแบบนี้มีไม่น้อย ยกตัวอย่าง พระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ ฐิตธมฺโม) จารีตปฏิบัติแบบนี้ส่งทอดมาถึงชีวิตการทำงานด้วย คือ ระเบียบปฏิบัติในการเป็นผู้สอนหนังสือให้นักเรียน ตลอดถึงชีวิตประจำวัน (๒) เรียนเพื่อให้สอบผ่าน ่จะพบว่า ในห้องเรียนของเรา บางวิชาตัวเราเองนี่แหละที่บอกกับเพื่อนว่า ขอเรียนเพียงแค่สอบผ่าน ดังนั้น ที่ไม่ผ่านมาไม่ได้ตั้งใจเท่าไร แต่เมื่อถึงวันสอบจะมีการติวกันแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้สอบผ่าน ไม่ได้มุ่งองค์ความรู้เป็นหลัก หากแต่มุ่งหมายว่า ข้่อสอบจะออกอะไร เราจะสอบผ่านวิชานี้ได้อย่างไร (๓) เรียนแบบจับสลาก หมายถึง ที่ผ่านมาก็ไม่ได้เอาใจใส่กับการเรียน ข้อสอบจะออกอะไรก็ช่าง เมื่อถึงวันสอบ ฉันก็ไปสอบตามหน้าที่ ถ้าไม่ผ่านก็แก้/สอบใหม่ ถ้าผ่านก็คือผ่าน กลุ่มนี้อาจแยกเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนแรกมีเวลาในการเรียน แต่ไม่ได้เรียนเท่าไร กลุ่มที่สองไม่มีเวลาในการเรียน เพราะมุ่งแต่ทำกิจอื่นเช่น ประโยชน์สาธารณะ กลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นมากกว่าการเรียนการทำงานสายวิชาการ ที่ถูกบังคับให้ต้องทำวิจัย เข้าใจว่าน่าจะทำนองเดียวกันนี้ (๑) มุ่งมั่นทำวิจัย รักทำวิจัย รักการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น ลมหายใจคือวิจัย (๒) ไม่ได้รักการวิจัย แต่ต้องทำวิจัย จึงหาวิธีการว่าจะทำวิจัยอย่างไรให้สำเร็จออกมาเป็นรูปเล่ม ที่จะผ่านด่านการมีวิจัยไปได้ (๓) ไม่ได้ใยดีกับการวิจัย กลุ่มแรกคือ จะอย่างไรก็ช่าง กลุ่มสองคือ อ่านหนังสือทุกวันก็คือการเลือกเฟ้นองค์ความรู้ การปฏิบัติงานสาธารณะอื่นๆก็เท่ากับการแสวงหาความรู้ หากแต่ความรู้ดังกล่าวไม่ได้เป็นรูปเล่ม กลุ่ม ๓ และ ๑ อาจตัดทิ้งไป สิ่งที่จะพิจารณาคือในกลุ่ม ๒ ประมาณว่า จะทำอย่างไรให้มีวิจัย กลุ่มนี้คือ “เราจะสอบผ่านวิชานี้ได้อย่างไร” กลุ่มนี้น่าจะคือกลุ่มปรับตัวเพื่อการอยู่รอด ยิ่งทำวิจัยไม่เป็นก็ยิ่งแล้วใหญ่ แต่สติปัญญามีดังนั้นต้องหาวิธีการให้ได้มาซึ่งวิจัย (๑) มีความสามารถในการขอทุนวิจัย จะด้วยความสามารถใดก็ตาม อย่างน้อยการได้มาซึ่งทุนวิจัยก็บ่งชี้ถึงศักยภาพ (๒) ไม่มีความสามารถในการขอทุนวิจัย/มีความสามารถขอแต่ไม่ได้เคยได้และจึงไม่ขอ (๓) ไม่ขอทุนวิจัย ในวงเล็บ ๑ นั้น มีสิ่งที่น่าคิดคือ เมื่อได้ทุนวิจัยมาแล้ว จึงจ้างคนอื่นทำวิจัย จากนั้น นำผลงานวิจัยไปประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คำถามนี้คืออันเป็นที่มาเมื่อหลายสิบปีก่อนว่า “ใครทำวิจัย” ตัวอย่างนี้ คือ (๑) นาย ก. ได้ทุนวิจัยมา ๓ แสนบาง เขาจ้างนาย ข. ทำวิจัย และเขาเป็นผู้อ่าน เมื่อเสร็จสิ้น หน้าปกเป็นชื่อ นาย ก. แต่เพียงผู้เดียว (๒) นาย ค. ได้ทุนวิจัยมา เขาจ้างผุ้ช่วยวิจัย คือ นาย ง. จากนั้นจึงทำวิจัยร่วมกัน ปกวิจัยตลอดถึงหนังสือสัญญาระหว่างผุ้ให้ทุนและผู้รับทุนเป็นการทำร่วมกันทั้ง นาย ค. และ นาย ง. (๓) นาย ก. ไม่จ้างใคร แต่จัดการวิจัยด้วยตนเอง ใน (๑) อาจมีปัญหาในแง่จริยธรรม เรื่อง ความซื่อสัตย์ในสิทธิ์ทางวิชาการ ถ้าทำแบบนี้ได้ สิ่งหนึ่งก็ทำได้คือ การขายเล่มวิจัย เหมือนกับการที่เราซื้อสบู่มา และระบุได้ว่า สบู่เป็นของเราเพราะเราซื้อมาแล้ว ความซื่อสัตย์ในสิทธิ์ทางวิชาอาจรวมไปถึงการแปะชื่อแต่ไม่ได้ทำ หากแต่เป็นการแปะชื่อแบบต่างตอบแทนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำวิจัยต่างศาสตร์ / บูรณาการ ไม่มีคำตอบใดๆให้ แต่ขอจบห้วนๆ ไว้เท่านี้ 2563/02/2009:27 น.

หมายเลขบันทึก: 675682เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2020 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2020 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท