รายงานการให้เหตผลทางคลินิก


Case study

Occupation profileชื่อ-สกุล : คุณยายมุ้ยเซียงอายุ : - เพศ : หญิงวันเกิด : - ศาสนา : คริสต์มือข้างถนัด : มือข้างขวาการวินิจฉัยโรค : Stroke right hemiparesisลักษณะทั่วไป : เป็นผู้รับบริการเพศหญิง ตัวเล็ก ผมสั้น ผิวขาว ดวงตาข้างขวาเหล่ขึ้นด้านบน แขนซ้ายและมือซ้ายหดเกร็งอาการแสดง : ผู้รับบริการสามารถสื่อสารได้ ตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันได้บ้าง แต่บางครั้งพูดเบาไม่เป็นคำศัพท์ เพ้อ พูดไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่นอายุ

ContextPersonal เพศหญิง อายุน้อยกว่า 60 ปี Cultural เป็นคนไทย นับถือศาสนาคริสต์Temporal มักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์

EnvironmentsPhysical ห้องพัก ที่บ้านพักคนชรา Social มีผู้ดูแล คอยดูแลเรื่องทั่วไปเช่นทำความสะอาด อาหาร และความปลอดภัย และต้องอยู่ห้องเดียวกับเพื่อนร่วมห้อง

Performance patternHabits ชอบคุยกับผู้คน มักจะยิ้มแย้มเมื่อมีคนมาคุยด้วย และชอบเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มRoutines ผู้รับบริการตื่นนอนประมาณ 9.00 น. ทานอาหารกลางวัน 11.00 น.และในช่วงเวลาว่างมักจะดูโทรทัศน์เสมอ เข้านอนตอน 20.00 น.

Performance patternHabits ชอบคุยกับผู้คน มักจะยิ้มแย้มเมื่อมีคนมาคุยด้วย และชอบเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มRoutines ผู้รับบริการตื่นนอนประมาณ 9.00 น. ทานอาหารกลางวัน 11.00 น.และในช่วงเวลาว่างมักจะดูโทรทัศน์เสมอ เข้านอนตอน 20.00 น.

Interests values and needsInterests ผู้รับบริการมักใช้เวลากับการดูโทรทัศน์เสมอ เมื่อถามถึงกิจกรรมที่สนใจ คุณยายตอบว่า ชอบเข้าร่วมกิจกรรมสนุก ผู้รับบริการชอบพูดคุยสนทนา จึงเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่จัดขึ้นที่บ้านพักเสมอๆ Values ผู้รับบริการ มักพูดถึงโบสถ์คริสต์ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ความดีหรือบุญ และหยิบสร้อยขอรูปไม้กางเขนมาให้ดู เมื่อเห็นดอกบัวผู้รับบริการก็จะพูดถึงโบสถ์ และความดี และขอพับดอกบัวเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่Needs -

Strength ผู้รับบริการอารมณ์ดี และยิ้มเสมอ ให้ความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างตั้งใจและเต็มที่ กระตือรือร้น ทุกกิจกรรม หรือการขอความร่วมมือ ที่สำคัญมักจะพยายามทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองเสมอ

Support and barriers Supportผู้ดูแล คอยดูแลความปลอดภัย และเตรียมอาหารให้รับประทานในแต่ละมื้อ คอยดูแลความปลอดภัย สถานที่แบ่งเป็นสัดส่วนชัดเจน ห้องน้ำอยู่ภายในห้องนอน มีโบสถ์คริสต์ เป็นที่พึ่งพิงทางใจ และประกอบกิจกรรมทางศาสนาBarriers ไม่ค่อยมีกิจกรรมให้ทำ เช่นการจัดกิจกรรมกลุ่ม ทางเดินหน้าห้องแคบ เนื่องจากอาจเบียดกับวีลแชร์ ทำให้ต้องคอยระวังการเดิน หรือล้ม ผู้ดูแลคอยดูแลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้ส่งเสริม หรือคงไว้ซึ่งความสามารถของผู้สูงอายุ และอาจดูแลได้ไม่ทั่วถึง เนื่องจากผู้ดูแลไม่เพียงพอ

Clinical reasoning

(Diagnostic clinical reasoning) Medical - คุณยายมุ้ยเซียง อยู่ที่บ้านพักผู้สูงอายุ คามิลเลี่ยน เป็นโรค Stroke right hemiparesis

Scientific clinical reasoning- คุณยายมุ้ยเซียง เป็นผู้รับบริการเพศหญิง ตัวเล็ก ผมสั้น ผิวขาว แขนซ้ายและมือซ้ายหดเกร็ง ขาข้างซ้าเหยียดเกร็ง และดวงตาข้างขวาเหล่ขึ้นด้านบนผู้รับบริการสามารถสื่อสารได้ ตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันได้บ้าง แต่บางครั้ง พูดเบาไม่เป็นคำศัพท์ เพ้อ พูดไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่นอายุ คุณยายกล่าวว่า อายุ 26 ปี เมื่อถามซ้ำก็เปลี่ยนคำตอบ ไปเรื่อยๆ

Occupational therapy - ผู้รับบริการมี Cognitive impairment ในส่วนของ Orientation Short-term Memory และการสื่อสาร เช่นกการพูดคุยที่จังหวะไม่สม่ำเสมอ พูดในลำคอ ดปลี่ยนประเด็นไปมา ตอบไม่ตรงคำถามบ่อยครั้ง และพูดไม่ตรงกับความเป้นจริงเช่นอายุ- Occupational imbalance มีความไม่สมดุลของกิจกรรมการดำเนินชีวิต ในส่วนของ ADL สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่อาจจะต้องคอยดูเรื่องคุณภาพ เช่นความสะอาดของการแปรงฟัน ไม่มีกิจกรรมทำในแต่ละวัน และมักใช้เวลาดูโทรทัศน์ตลอดวัน

(Interactive clinical reasoning)-สำหรับการพบกันครั้งแรกนั้น ได้เข้าไปพูดคุยกับคุณยาย เป็นการทำความรู้จักกัน ซึ่งเป็นการพูดคุยแนะนำตัว ถามชื่อ และอายุ สิ่งที่ชอบทำ หรือกิจวัตรประจำวันขณะอยู่ที่นี่ ทำอะไรบ้าง -ได้พาคุณยายไปเข้าร่วมกิจกรรมที่นักศึกษาจัดกิจกรรมกลุ่มให้ เป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน เกี่ยวกับการกระตุ้น Cognitive และพาคุณยายไปคุยกันที่หน้าห้อง และได้พูดคุย และพับดอกบัวร่วมกัน -ในการพบกันครั้งที่สอง ได้มีการแนะนำตัวใหม่อีกครั้ง เนื่องจากคุณยายจำไม่ได้ และได้มีการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จะทำ- ในการพูดคุยกันนั้น เป็นการใช้ถาษาพูดและภาษากายด้วย แสดงใบหน้ายิ้มแย้ม น้ำเสียงอ่อนโยน แต่ชัดเจน และแสดงคววามเห็นใจเมื่อคุณยายพูดถึงความเจ็บปวด

(Narrative clinical reasoning) -เมื่อถามถึงสิ่งที่ชอบ คุณยายเล่าว่าชอบดูทีวี และดูตลอดทั้งวันชอบดูรายการวันนี้ที่รอคอยช่องเก้า และบอกว่า “ไม่ชอบคนที่ปิดทีวี อีคนใส่แว่น เกลียดมัน” และบอกว่าตนเองขี้โมโห อารมณ์ร้อน -นอกจากนี้คุณยายเล่าว่าปวดเข่าข้างขวา ตกบันไดหลายชั้น (จากการสอบถามกับผู้ดูแล พบว่าไม่เป็นความจริง)- คุณยายเล่าเกี่ยวกับโบสถ์คริสต์หรือพูดถึงศาสนาคริสต์อยู่บ่อยๆ ว่ามีคุณพ่อคุณแม่ และนำสร้อยคอรูปไม้กางเขนที่ห้อยไว้มาให้ดู พูดว่ามันดี เป็นสิ่งที่ดี พูดถึงการทำความดี และขอดินสอ เพื่อเขียนชื่อคุณพ่อคุณแม่ใส่ในกระดาษ (ผู้รับบริการเขียนไม่เป้นตัวอักษร เป็นขีดโค้งเรียงกัน เหมือนกันทุกตัว)-คุณยายบอกว่า อยากพับดอกบัว เนื่องจากเห็นดอกบัวของเพื่อนที่เตรียมดอกบัวมาให้คุณยายอีกหนึ่งท่าน จึงได้ดอกบัวมาพับสองดอก เมื่อถามว่าพับเป้นหรือไม่ คุณยายกล่าวว่า พับเป้นเคยพับ และสามารถพับได้โดยไม่ต้องสอน (เป็นลักษณะการพับที่เรียบง่าย) จะนำไปให้คุณพ่อคุณแม่ ถัดมาไม่นาน ก็กล่าวว่าจะให้คุณครู

(procedural clinical reasoning)-จากการพูดคุยกันครั้งแรก ทำให้พบว่า คุณยายมุ้ยเซียงนั้น สามารถสื่อสารได้ ตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันได้บ้างเช่นชอบทำสิ่งใด กิจวัตรเป็นอย่างไร ซึ่งในบางครั้งจะพูดเบาไม่เป็นคำศัพท์ หรือพูดไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่นเมื่อถามถึงอายุ คุณยายจะตอบว่า 26 หรือเปลี่ยนไปเรื่อยๆ-เนื่องจากพยาธิสภาพที่มือและขาด้ายซ้ายที่เกร็งจึงให้คุณยายลองลุกและเดินไปนั่งคุยกันที่จุดอื่น เพื่อดูการเคลื่อนไหวของคุณยายและการเดินซึ่งระหว่างนั้นก็จะต้องดูแลความปลอดภัย และสอบถามว่ามองเห็นชัดหรือไม่ มองได้ไกลแค่ไหน โดยการชี้ไปที่วัตถุไกลๆแล้วถามว่าคุณยายเห็นอะไร

การประเมิณครั้งที่หนึ่ง

1.Mental function Memory : ถามถึงกิจกรรมที่ทำก่อนหน้านี้ คือกิจกรรมกลุ่ม สามารถตอบได้ แต่ผู้รับบริการไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ในอดีต ใกล้ๆได้ เช่น 1 วันก่อนperception : ผู้รับบริการสามารถรับรู้การสัมผัสของร่างกาย ทั้งสองข้าง และสามารถรับรู้การทรงตัวได้Experience of self and time : ผู้รับบริการไม่ทราบและไม่เข้าใจในพยาธิสภาพของตนเอง ไม่ทราบอายุOrientation : ผู้รับบริการทราบชื่อตัวเอง แต่ไม่ทราบ วันและเวลา อายุ เรื่องราวในอดีต บ้าน อาชีพ ครอบครัวEnergy and drive : ผู้รับบริการไม่สามารถบอกถึงความต้องการ หรือแรงจูงใจได้ บอกได้เพียง basic need เช่นชอบดูทีวี

2.Sensory function เนื่องจากผู้รับบริการ มีตาข้างขวาเหล่ขึ้นด้านบน Visual : ผู้รับบริการมีการมองเห็นด้วยตาข้างซ้ายเพียงข้างเดียว แต่ยังสามารถดูโทรทัศน์แขวนได้ เมื่อชี้ให้มองระยะไกล ประมาณ 2-3 เมตร สามารถบอกได้ว่าวัตถุคืออะไร

รวมถึง ได้สอบถามข้อมูลของคุณยายจากผู้ดูแล โดยผู้ดูแลบอกว่า คุณยายมีอายุห้าสิบปลายๆ เท่านั้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง (ADL) และชอบดื้อ ต้องดุถึงจะทำ และไม่ระมัดระวังตนเอง เช่น นำยาหม่องป้ายภายในรูจมูกแล้วแสบร้อนมาก

ครั้งที่สอง เป็นการดำเนินการทางกิจกรรมบำบัด 1.กระตุ้น orientation -ด้าน วัน และเวลา โดยให้ดูปฏิทิน และบอกข้อมูลที่ถูกต้องซ้ำๆ ถามถึงวันสำคัญที่ชอบ และถามว่าเดือนนี้มีวันสำคัญอะไร-บอกชื่อเพื่อน และถามถึงชื่อของบุคคลที่รู้จัก ในละแวกใกล้เคียง- ให้ดูนาฬิกา แล้วตอบว่ากี่โมง หากตอบไม่ได้ ผู้บำบัดช่วยบอกข้อมูลที่ถูกต้อง ย้ำๆบ่อยๆ- ให้ผู้รับบริการ ชี้ หรือบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆภายในบ้านพักเช่นห้องนอน ห้องน้ำ โบสถ์

2.กระตุ้นเกี่ยวกับการสื่อสาร พูดหรือถามเป็นประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย เช่นวันนี้อากาศเป็นอย่างไร เมื่อซักครู่ทำอะไร ,รู้สึกอย่างไร โดยกระตุ้นย้ำให้ตอบในข้อมูลที่เป็นความจริง และไม่พูดนอกประเด็น และให้ดูภาพสถานที่และให้เล่าเกี่ยวกับภาพนั้นๆ เช่นประสบการณ์ หรือเห็นอะไร เป็นอย่างไร

3.กระตุ้น Working memory โดยให้ผู้รับบริการเล่นเกมการ์ด โดยจำชุดคำง่ายๆได้ และจับคู่ภาพการ์ดได้จนจบเกม ตามกติกา

4.ตรวจประเมินการทำ ADL โดยให้ทำให้ดูในสถานการณ์จริง การแปรงฟัน และใส่เสื้อผ้า พบว่า Independent สำหรับการใส่เสื้อผ้า ผู้รับบริการใส่ได้เรียบร้อย แน่น ไม่หลุด แต่ในส่วนของการแปรงฟัน อาจมีเรื่องของคุณภาพ หรือความสะอาด ที่ต้องคอยกระตุ้น

(Conditional clinical reasoning) สำหรับการวางแผนในการให้การบำบัดรักษา ได้มีการนำ frame เข้ามาช่วนในการวางแผน

Cognitive rehabilitation FoR- ใช้ Cognitive rehabilitation FoR มาวิเคราะห์ ในการตั้ง Goal สำหรับครั้งที่สอง ในส่วนของการประเมิน และ intervention เป็นการcognitive training- จากการประเมินครั้งแรก ทำให้รู้ว่าต้องเน้นฝึกที่ส่วนไหน (neurocognitive Domains)ซึ่งได้วางแผนว่าทำกิจกรรมในส่วน orientation , learning and memory และ language- นอกจากนี้ ได้จัดกลุ่มให้คุณยายเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มซึ่งส่งเสริม Cognitive โดยนักศึกษากิจกรรมบำบัดช่วยคิดกติกาเกมร่วมกัน ซึ่งเป็นเกม พูดชื่อในหมวดหมู่ที่กำหนดให้ได้มากที่สุด เช่นหมวดสัตว์ หมวดผลไม้ และเกมบิงโก ซึ่งเกมเหล่านี้จะช่วยให้มี attention โดยผู้บำบัดต้องคอยกระตุ้นหากสนใจสิ่งเร้าอื่นๆ

Cognitive disabilities FoR เป็นการให้กิจกรรมการรักษา หรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยผู้รับบริการมี cognitive level (Allen) อยู่ในระดับ 4 Goal-directed action ซึ่งได้มาจากการสังเกตในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งแรก คือสามารถทำตามขั้นตอนได้ แต่ต้องคอยกระตุ้น ทีละขั้นตอน เช่นในกิจกรรมทำอาหาร ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน สามารถห่อได้ แต่คุณภาพอาจไม่ดีนัก ห่อไม่เป็นรูปทรง และในการใส่วัตถุดิบ หรือไส้ หยิบมาใส่เยอะเกินไป และเมื่อห่อเสร็จก็รับประทานทันที แม้จะบอกว่าให้รอก่อน ดั้งนั้นจึงนำจ้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนกิจกรรม ในครั้งหน้า กิจกรรมที่ให้ในครั้งที่สอง เป็นกิจกรรมบิงโก โดยจะต้องเลือกภาพที่สนใจ มาติดในกระดาษ ต้องเลือกเอง ทากาว และแปะลงบนแผ่นตารางที่ให้ ทีละชิ้น หลังจากนั้นก็เล่นเกมบิงโก โดยจะต้องฟังกรรมการว่าเป็นรูปอะไร หากมีภาพที่แปะไว้ ให้กากบาท กิจกรรมนี้ได้การสื่อสาร และการทำทีละขั้นตอน การใช่วัตถุเป็นถาพสองมิติ ที่มีสีสัน

(Pragmatic clinical reasoning)- หลังจากพบกันและประเมินครั้งแรก ก็ทราบปัญหาคือและกลับมาวางแผนและตั้ง goal สำหรับเจอกันครั้งต่อไป ว่าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งได้มีการวางแผนสำหรับครั้งต่อไป ว่าจะทำอะไรบ้าง โดยมีการปรึกษาอาจารย์ o ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับ cognitive เช่นการอ่านปฎิทิน จับคู่การ์ดภาพ หรือจะเกี่ยวกับการสื่อสาร ที่คงประเด็นไว้ได้ ไม่เปลี่ยนบ่อยๆo อาจารย์แนะนำให้ประเมินการทำADL เพิ่มเติม ว่าสามารถทำเองได้จริงหรือไม่ อย่างไร o นอกจากนี้ อาจารย์ยังบอกจุดที่บกพร่องไปในการประเมินเช่น การประเมิน เกี่ยวกับ Muscle strength หรือ Muscle power และ Muscle endurance ว่าควรจะประเมิน

หากมีโอกาส- ประเมินเพิ่มเติมด้วยแบบประเมินมาตรฐาน Thai-CPT - ฝึกกระตุ้นเกี่ยวกับ Memory เช่น Working memory ในการทวนตัวเลขไปมา หรือ Short-term memory ในการทวนกิจกรรมที่ได้ทำ หลัง 15-20 นาที หรือเกม card จับคู่ จำคำศัพท์- ประเมิน ADL ในสถานการณ์จริงให้ครบทุกด้าน และตรวจสอบว่าทำได้เองอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพหรือไม่- หากิจกรรมที่คุณยายอยากทำ มีเป้าหมาย และทำได้จริง เนื่องจาก ปกติแล้วคุณยายจะนั่งดูทีวีทั้งวัน- ตรวจประเมิน กำลังกล้ามเนื้อ และ hand function เนื่องจากมือข้างซ้ายหดเกร็ง และอาจรวมถึง Dynamic sitting balance- การประเมิน เกี่ยวกับ Muscle strength หรือ Muscle power และ Muscle endurance

SOAP Note ครั้งที่ 1

S : ผู้รับบริการเพศหญิง บอกว่า “อายุ 26 ปี” มักพูดเกี่ยวกับโบสถ์ เช่น “จะไปไหว้คุณพ่อ คุณแม่” เมื่อถามสิ่งที่ชอบทำบอกว่าชอบดูทีวี ดูทั้งวัน เกลียดคนปิดทีวี บอกว่าตนใจร้อนขี้โมโห

O : ผู้รับบริการพูดเสียงเบา และจังหวะไม่มั่นคง เช่นเสียงดังเบา พูดเร็วพูดช้า บางครั้งพูดจับใจความไม่ได้ และเปลี่ยนเรื่องที่พูด แขนและมือข้างซ้าย มีลักษณะหดเกร็ง รวมถึงขา แต่ยังสามารถเดินได้ด้วยตนเอง

A : สอบถามการทำ ADL ทั้งผู้รับบริการและผู้ดูแลตอบว่าสามารถทำเองได้ทั้งหมดทดสอบการ transfer โดยให้ลุกจากเก้าอี้ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง พบว่าสามารถทำได้ แต่ช้าเนื่องจากขาข้างซ้ายมีพยาธิสภาพของ stroke มีอาการเกร็งถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนตัว กิจวัตรประจำวัน ผู้รับบริการสามารถบอกตำแหน่งของสถานที่ที่คุ้นเคยได้ บอกเวลาทานข้าวและตื่นนอนได้ แต่เมื่อถามซ้ำๆ ตอบไม่ตรงกัน

P : ประเมินการทำ ADL ในบริบทจริงเช่นการถอดใส่เสื้อผ้า การแปรงฟัน ประเมินการใช้มือทั้งสองข้างในการทำกิจกรรม และประเมิน Orientation (ด้าน บุคคล วัน เวลา สถานที่) จากการพูดคุย รวมถึง สอบถามพูดคุยเกี่ยวกับอดีต หรือสิ่งที่ได้พึงกระทำแล้ว เพื่อวิเคราะห์ memory

SOAP Note ครั้งที่ 2

S : เมื่อผู้รับบริการเห็นดอกบัว จึงบอกว่าอยากพับดอกบัว เคยพับ และกล่าวถึงวันคริสต์มาสว่าอยากไปหาคุณพ่อคุณแม่ เอาดอกบัวไปให้ ชอบวันคริสต์มาส นอกจากนี้ยังพูดว่า เดี๋ยวจะไปทำกิจกรรมอีกมั๊ย อยากไป

O : ผู้รับบริการสามารถพับดอกบัวได้ และในการใช้มือทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน มือข้างขวาช่วยยัดก้านดอกบัวให้มือข้างซ้ายถือไว้ได้ มักจะปรบมือเร็วเพื่อแสดงอาการชอบ หรือดีใจ เช่นเมื่อพูดถึงวันคริสต์มาส หรือจะได้ไปร่วมกิจกรรม ผู้รับบริการไม่สามารถบอกวัน เดือน และเวลาได้ถูกต้อง ดูปฏิทินและนาฬิกาไม่เป็น แต่สามารถบอกสถานที่ที่คุ้นเคยได้ถูกต้อง เมื่อลองให้ผู้รับบริการแปรงฟันในบริบทจริง ผูุ้รับบริการแปรงฟันได้ แต่อาจสะบัดแปรงได้ไม่คล่องแคล่ว

A : -ประเมินการแปรงฟันในบริบทจริง ผู้รับบริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง -การใส่เสื้อและถอดเสื้อมีกระดุม สามารถทำได้ด้วยตนเอง ติดกระดุมด้วยมือข้างเดียว และสามารถบอกวิธีการอาบน้ำ และเข้าห้องน้ำได้ ชี้ตำแหน่งได้ -ในด้าน Orientation ผู้รับบริการ ไม่สามารถบอกวัน เดือน เวลา ได้ แต่สามารถบอกสถานที่ที่คุ้นเคยได้ว่าอยู่ตำแหน่งใด จากการดูรูปภาพตัวอย่าง เมื่อกระตุ้นถามย้ำๆสามารถตอบได้ว่าฤดูอะไร -ผู้รับบริการสามารถ ตอบคำถามตามหมวดหมู่ได้ เช่น หมวดหมู่สัตว์มีตัวอะไรบ้าง แต่ต้องกระตุ้นบ่อยๆ ว่าสัตว์อะไรดี

P : ประเมิน ADL ในบริบทจริง ให้ครบทุกด้าน , ประเมินการลักษณะการเดิน ความปลอดภัย และ Muscle strength Muscle power และ Muscle endurance และหากิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ หากิจกรรมหรือให้ Cues กระตุ้น Orientation บ่อยๆ

Story telling จากการที่ได้ไป บ้านพักผู้สูงอายุคสมมิลเลี่ยนใครครั้งแรก ๆมีความไม่มั่นใจในตัวเอง ว่าจะทำได้หรือไม่ จะประเมินอะไรบ้าง จะทำทันหรือเปล่า และได้พบกับ คุณยายมุ้ยเซียง ซึ่งเป็น case study ที่เราต้องนำมาวิเคราะห์ ก็มีความตื่นเต้น แต่ก็ค่อยๆรวมรวมสติ และประเมินไปทีละหัวข้อ คุณยายมุ้ยเซียงน่ารักมาก เนื่องจาก ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และยิ้มอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะให้ทำกิจกรรมอะไร หรือประเมินอะไร คุณยายก็จะทำอย่างกระตือรือร้น คุณยายมีเรื่องเล่าเยอะมากๆ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ทำให้พบว่าคุณยายมักจะปลี่ยนประเด็นการคุยบ่อยๆ หรือบางครั้งก็พูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับความป็นจริง แต่เราก็พยายามสื่อสารกัน และเน้นย้ำ ให้คุณยาย กลับมาสนใจในเรื่องที่อยู่ในหลักความจริง กระตุ้นบ่อยๆ นอกจากนี้คุณยายยังเอ่ยถึง เรื่องกิจกรรมกลุ่มว่าชอบ อยากทำ อยากร่วมกิจกรรม ซึ่งในการทำกิจกรรมกลุ่มทุกครั้งที่มา บ้านพักคามิลเลี่ยนแห่งนี้ ก็จะเห็นคุณยายนั่งอยู่ที่เก้าอี้ริมห้องเสมอๆ ซึ่งก็ทำให้ดิฉันดีใจมากๆ เนื่องจากการเตรียมกิจกรรมเหนื่อย แต่มีคุณยายชอบก็ปลื้มใจ

ครั้งที่สองที่ได้พบกัน เป็นในส่วนของการบำบัดรักษา ซึ่งคุณยายได้เห็นดอกบัวของเพื่อนนที่เตรียมมาก็อยากพับบ้าง จึงขอเพื่อน ซึ่งก็ได้มีโอกาสได้พับดอกบัว จากการสอบถามคุณยายบอกว่าพับเป็นเคยพับ แล้วก็พับให้ดูเลย เป็นทักษาะที่คุณยายยังทำได้ และยังบอกอีกว่าจะให้อาจารย์เก่ง ซึ่งเดินมาพอดี ส่วนใหญ่กิจกรรมวันนี้ก็จะเกี่ยวกับ Cognitive ซึ่งคุณยายก็ให้ความร่วมมือดีอีกเช่นเคย โดยให้คุณยายเล่นเกมการ์ดจับคู่ และดูนาฬิกา ปฏิทิน ซึ่งคุณยายก็ยังดูไม้เป็น จึงถามถึงวันสำคัญในแต่ละเดือน ให้รู้ว่าคุณยายชอบวันคริสต์มาสต์ เนื่องจากจะได้เข้าโบสถ์ และยังพูดอีกว่าจะนำดอกไม้ไปให้คุณพ่อคุณแม่ ที่โบสถ์

จากที่ได้รู้จักและประเมินคุณยาย คุณยายถือว่าเป็นเคสเดี่ยว เคสแรกที่ต้องรับผิดชอบ คุณยายทำให้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เช่น การเริ่มต้นการประเมิน การพูดคุย การวางแผน การตั้ง goal การได้ทุ่มเทเวลาเพื่อคิดวิเคราะห์ และเป็นแรงบันดาลใจ ที่จะเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีกว่านี้ ตั้งใจกว่านี้ และจะฝึกฝนพัฒนาความรู้ เพื่อที่จะเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีให้ได้ในอนาคต และนอกจากนี้ทำให้รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง รู้ว่าควรจะฝึกเพิ่มเติมตรงไหน ส่วนไหนที่ยังไม่รู้ กรที่ได้รู้จักคุณยายช่วยจุดไฟให้ดิฉันตั้งใจที่จะเป้นนักกิจกรรมบำบัดที่ดี

หมายเลขบันทึก: 675637เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากที่อาจารย์ให้อ่าน Case ตัวอย่างจากรุ่นพี่ของผู้รับบริการจริง จาก Blog ทำให้ได้เรียนรู้ในการที่จะ Brief case สั้นๆสรุปออกมาภายใน 1 นาที โดยพูดออกมาได้ดังนี้ “ผู้รับบริการชื่อคุณยายมุ้ยเซียง อาศัยอยู่ที่บ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลี่ยน ถูกวินิจฉัยเป็นโรค Stroke right hemiparesis ผู้รับบริการตัวเล็ก ผมสั้น ผิวขาว ดวงตาข้างขวาเหล่ขึ้นด้านบน แขนซ้ายและมือซ้ายหดเกร็งอาการแสดง ผู้รับบริการสามารถสื่อสารได้ ตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันได้บ้าง แต่บางครั้งพูดเบาไม่เป็นคำศัพท์ เพ้อ พูดไม่ตรงกับความเป็นจริง ผู้รับริการชอบคุยกับผู้คน มักจะยิ้มแย้มเมื่อมีคนมาคุยด้วย และชอบเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มRoutines และมักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์ ในการประเมินครั้งแรกก็จะประเมินในเรื่อง Mental function Memory, Sensory function, ครั้งที่ 2 จะเป็นการทำกิจกรรมที่กระตุ้น orientation ด้านวันและเวลา โดยให้ดูปฏิทิน และบอกข้อมูลที่ถูกต้องซ้ำๆ ถามถึงวันสำคัญที่ชอบ และถามว่าเดือนนี้มีวันสำคัญอะไร กระตุ้นเกี่ยวกับการสื่อสาร พูดหรือถามเป็นประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย กระตุ้น Working memory โดยให้ผู้รับบริการเล่นเกมการ์ด และตรวจประเมินการทำ ADL โดยให้ทำให้ดูในสถานการณ์จริง เช่น การแปรงฟัน และใส่เสื้อผ้า สำหรับการวางแผนในการให้การบำบัดรักษา ได้มีการนำ frame เข้ามาช่วยในการวางแผน” ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการ Brief case ก็คือพูดสรุปเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญออกมาให้กระชับและผู้ฟังเข้าใจง่าย จะแบ่งการ Brief case ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นประวัติของคนไข้ ส่วนที่สองคือเนื้อหา และส่วนที่สาม10วิสุดท้าย ควรบอกว่า OT ควรทำอะไรต่อ และได้เรียนรู้จากอาจารย์ว่าเราต้องกล้าพูดออกมาก่อน เพราะไม่มีใครที่จะเพอร์เฟกต์ได้ตั้งแต่ครั้งแรก เราจะต้องฝึกฝนแก้ไขข้อผิดพลาดของเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการตั้งคำถามโดยใช้หลัก Three-Track Mind (Why-Because-How to) คือการฝึกตั้งคำถามแบบ Interactive เป็นคำถามที่เราใช้ถามผู้รับบริการหรือผู้ดูแล ซึ่งได้เรียนรู้จาก โดย Case ตัวอย่างจากรุ่นพี่ที่ได้ศึกษานี้ เป็นผู้รับบริการสูงอายุ เราจะเน้นถามผู้รับบริการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากการตั้งคำถามก็ได้ฝึกการใช้ถ้อยคำที่นอบน้อม เรียบเรียงคำถามให้ผู้รับบริการเข้าใจง่าย ซึ่งตอนแรกที่ตั้งคำถามไป อาจารย์ว่ายาวและกว้างไปต้องตั้งคำถามแบบเฉียบคม เจาะจงในสิ่งที่เราอยากจะรู้ เลยได้คำถามว่า “เวลาเดินมีอาการเกร็งมากขึ้นไหมคะ” เพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้น และสุดท้ายได้ฝึกการตั้งคำถามแบบ Procedural ซึ่งคำถามนี้เราสามารถตั้งคำถามเพื่อที่จะถามพี่ CI หรือถามทีมสหวิชาชีพได้ ซึ่งการตั้งคำถามทั้งสองแบบ เราต้องมีคำตอบในใจว่า เราถามไปเพื่ออะไร เราคาดหวังคำตอบอะไร ซึ่งคำตอบนั้นเราสามารถต่อยอดกับข้อมูลที่เรามีได้อย่างไร6323008 นางสาวอัญชลี กุมภาศรี (PTOT)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท