ชีวิตที่พอเพียง 3627. การเล่นเป็นธรรมชาติเบื้องลึกของมนุษย์


บทความเรื่อง Play May Be a Deeper Part of Human Nature Than We Thought  ลงพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American Mind  ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๖๓    บอกว่าการเล่นต้องไม่ใช้กติกาแบบในชีวิตจริง ต้องทำเพราะอยากทำเอง อย่างอิสระ   และไม่มีสิ่งตอบแทนเป็นเงินทองของรางวัล   และที่สำคัญที่สุด สนุก   

นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ภายใต้นิยามนี้ ในระหว่างการเล่น เครือข่ายใยสมองที่ทำหน้าที่ด้านแรงจูงใจและรางวัลต้องทำหน้าที่   

ไม่เฉพาะมนุษย์ที่เล่น    สัตว์ก็เล่น    ที่ใกล้ชิดเราก็สุนัขและแมว    เห็นได้ชัดว่า การเล่นทำให้มีทักษะทางสังคม เกมเล่นซ่อนหา ไม่เฉพาะคนที่เล่น  หนูก็เล่น   

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาประสาทวิทยาศาสตร์ของการเล่นโดยทดลองในหนู     โดยให้หนูเล่นซ่อนหากับคน (ผู้ทำการทดลอง)     โดยมีทั้งช่วงที่หนูเป็นฝ่ายซ่อน    กับช่วงที่หนูเป็นฝ่ายหา     เขาแสดงพฤติกรรมต่างกันในช่วงเป็นฝ่ายซ่อน กับช่วงเป็นฝ่ายหา     คือตอนเป็นฝ่ายซ่อนจะเงียบไม่ส่งเสียง    แต่ตอนเป็นฝ่ายหาจะส่งเสียง    และเมื่อวัดการทำงานของสมองหนูในช่วงต่างๆ  ก็พบว่าในสมองส่วน prefrontal cortex มีส่วนทำหน้าที่รับรู้รางวัล  แรงจูงใจ  และกติกา      สะท้อนว่าพฤติกรรมการเล่นซ่อนหา หรือเกมเล่นซ่อนหาเป็นของเก่ามาก    ไม่ใช่มนุษย์คิดขึ้น      

ผลงานวิจัยนี้ลงพิมพ์ในวารสาร Science เชียวนะครับ เรื่อง Behavioral and neural correlates of hide-and-seek in rats    เขาสรุปว่าเกมเล่นซ่อนหาเป็นเกมเก่า มีมาก่อนมีมนุษย์        

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.ค. ๖๓

หมายเลขบันทึก: 675500เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท