Take Home 3 ระบบผสมผสานทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนส่งผลกับคนในชุมชนอย่างไร ในมุมมองของนักกิจกรรมบำบัด จะเชื่อมโยงกับระบบนี้ได้อย่างไร


ระบบผสมผสานทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนส่งผลกับคนในชุมชนอย่างไร 

 การแพทย์ผสมผสาน หรือที่เรียกกันว่า Integrative Medicine เป็นการที่คนไข้คนหนึ่งได้รับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการรักษาจากแพทย์ทางเลือก อย่างที่เรารู้จักกันดีก็จะมีแพทย์แผนจีน และแพทย์แผนไทย เป็นต้น การที่มีระบบผสมผสานทางการแพทย์อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนนั้น ย่อมส่งผลดีกับคนในชุมชนเพราะทำให้มีการรักษาที่หลากหลายแต่ในขณะเดียวกันก็ยังอยู่ในความดูแลของแพทย์ทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแน่นอนว่าต้องดีกว่าการที่ในโรงพยาบาลมีเพียงแพทย์ทางหลัก (แพทย์แผนปัจจุบัน)อย่างเดียวแล้วพอออกจากโรงพยาบาลทั้งที่ยังอาจจะยังไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ คนไข้ต้องไปหาทางเลือกในการรักษาอื่นๆเอง ซึ่งอาจจะเป็นการรักษาที่ไม่ได้คุณภาพตามหลักทางการแพทย์ โดยจะเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน เช่น ความเชื่อเรื่องการใช้น้ำปัสสะวะในการรักษา หรือการหาน้ำมันกัญชามาใช้เองเพราะขาดความรู้ถึงข้อเสียต่างๆที่จะตามมา จนในที่สุด คนไข้อาจมีอาการแย่ลงแล้วต้องกลับเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลเหมือนเดิม และนอกจากนี้ การที่ในโรงพยาบาลชุมชนมีระบบแพทย์ผสมผสาน จะส่งผลดีในแง่ของการใช้เวลารักษาตัวของคนไข้ที่อาจจะใช้เวลาลดลง เนื่องจากได้รับการรักษาที่ครบจากการรักษาในแผนกอื่นๆ เช่น การได้รับการรักษาจากแพทย์ปัจจุบัน ได้รับยาแผนปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็ได้รับการรักษาจากแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนไทย ซึ่งอาจมีการใช้ยาสมุนไพรจีนและสมุนไพรไทยควบคู่ด้วย อีกทั้งยังได้รับการทำกายภาพบำบัด และได้ฝึกกิจกรรมการดำเนินชีวิตพื้นฐานจากนักกิจกรรมบำบัด 

ในมุมมองของนักกิจกรรมบำบัด จะเชื่อมโยงกับระบบนี้ได้อย่างไร


  ในมุมมองของนักกิจกรรมบำบัดที่จะเชื่อมโยงกับระบบแพทย์ผสมผสานนี้คือ อย่างที่ทราบแล้วในข้างต้นว่านักกิจกรรมบำบัดก็เข้าไปอยู่ในระบบการแพทย์ผสมผสานกับแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะโดยปกติ การที่คนไข้ได้รับการรักษาและการบริการจากสหวิชาชีพ ก็จะยิ่งทำให้เป็นผลดีต่อการฟื้นฟูร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งการที่นักกิจกรรมบำบัดได้ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ จะทำให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้โปรแกรมการฝึกกับผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะมีหลายฝ่ายร่วมกันฟื้นฟู ซึ่งนอกจากจะได้ผลดีทางด้านการรักษาคนไข้แล้ว ยังเป็นผลดีต่อทีมหวิชาชีพที่จะได้ทั้งเวลาที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคนไข้ได้มากขึ้น เนื่องจากคนไข้มีแนวโน้มที่จะออกไปใช้ชีวิตที่บ้านได้เร็วขึ้น แลยังได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ที่ร่วมกันรักษาและบำบัดฟื้นฟูอยู่ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องยอมรับข้อมูลซึ่งกันและกัน แล้วร่วมกันหาแนวทางที่จะทำให้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตให้ได้ด้วยตนเองมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 675442เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท