การถอนรากประชาธิปไตย: สงครามแห่งความทรงจำ และมรดกที่หายไปของคณะราษฎร


ข้อขัดแย้งของมนุษย์ต่ออำนาจคือการต่อสู้ของความทรงจำต่อการหลงลืม

เหตุการณ์เกิดขึ้นตอนย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน ปี 1932 (พ.ศ. 2475) ซึ่งสามารถเปลี่ยนยุคประวัติศาสตร์ในเมืองไทยเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคสยามเก่า และยุคสยามใหม่ นั่นคือช่วงอำนาจเด็ดขาดอยู่ที่กษัตริย์และยุคระบอบประชาธิปไตย แต่สิ่งนี้เริ่มเลือนหายจากบันทึกในประวัติศาสตร์ ที่ถูกสอนในรายวิชาสังคมศึกษา พอๆกับมรดกที่สร้างโดยคณะราษฎรที่เริ่มเลือนหายไปเช่นกัน

ธงชัย วินิจจะกุล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสันประเทศสหรัฐ เสนอว่าประวัติศาสตร์ไทยตามกระบวนทัศน์ของประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ซึ่งก็คือการต่อสู้เพื่อเอกราชภายใต้การนำของกษัตริย์ ที่ไม่มีพื้นที่สำหรับเรื่องที่แตกต่างจากประวัติศาสตร์สำนวนนี้ เช่นการเกิดขึ้นของ 6 ตุลาคม และการปฏิวัติปี 1932 (พ.ศ 2475)

ในบทความของหล่อนที่ชื่อ A Dark Spot on a Royal Space: The Art of People’s Party and the Politics of Thai (จุดด่างบนพื้นที่ของกษัตริย์: ศิลปะของพรรคราษฎร และรัฐศาสตร์ของไทย) ของธนาวิ โชติประดิษฐ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เสนอว่ามีการทำลายชื่อเสียงของคณะราษฎร และมรดกเชิงวัฒนธรรม ตั้งแต่การสิ้นสุดของรัฐบาลจากการรัฐประหารปี 1947 (พ.ศ. 2490) โดยการยกตัวอย่างบทความของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ วิพากษ์ว่าคณะราษฎรมีรสนิยมที่ไม่ดี และไม่รักศิลปะไทยและวัฒนธรรม สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์การปฏิวัติว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม (early ripe, early rotten)

คึกฤทธิ์ยังเสนอให้รัฐบาลทำลายตึกที่ไม่สวยและไม่เหมาะสม ในเกาะรัตนโกสินทร์ เช่นการทำลายโรงหนังศาลาเฉลิมไทย และตึกเพื่อการค้าอื่นๆในถนนราชดำเนิน ให้กลายเป็นห้องประชุมนิทรรศการรัตนโกสินทร์ ที่จัดแสดงประวัติรัตนโกสินทร์ภายใต้ราชวงศ์จักกรี

นักประวัติศาสตร์เมินเฉยหรือมองข้ามการปฏิวัติ พวกเขาจะเน้นแต่ศิลปะยุคเก่าและยุคที่แสดงถึงชาตินิยมและกษัตริย์เท่านั้น ศิลปะของคณะราษฎรเป็นแบบศิลปะทันสมัย จึงไม่เหมาะกับความเป็นไทย (Thainess) และไม่เหมาะสมกับสังคมไทย และอาจถือว่าไม่เหมาะสมกับแนวประวัติศาสตร์ที่พวกเขายอมรับ (prototype history)

ข้อเสนอหรือข้อถกเถียงของธนาวิใกล้เคียงกับชาตรี ประกิตนนทการ ที่กล่าวเช่นกันว่ามีกระบวนการลบความทรงจำของคณะราษฎร ที่ “รัฐไทยได้พยายามทำเรื่องนี้มานับทศวรรษแล้ว” โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2007 (พ.ศ. 2550) มีการทุบทำลายตึกศาลฎีกาที่สร้างสมัยคณะราษฏรยังมีอำนาจ และนี่คือตัวอย่างของกระบวนการนั้น

สงครามของความทรงจำเริ่มชัดเจนขึ้นตั้งแต่การเกิดรัฐประหารปี 2006 (พ.ศ. 2549) เช่นการทุบทำลายของอาคารศาลฎีกา การสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ การล้อมรั้วสนามหลวง การอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ และโครงการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการหายไปของหมุดคณะราษฎร และอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ ที่หลักสี่ เป็นต้น

การปลุกฝังประชาธิปไตย

รัฐสยามสมัยประชาธิปไตยไม่ได้ตั้งใจเผยแพร่ประชาธิปไตยผ่านทางภาษาเท่านั้น เช่นการใช้คำในแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะราษฎร “ เวลาที่พวกเจ้าจะทำนาบนหลังคนหมดสิ้นแล้ว สิ่งที่ประชาชนทุกคนปรารถนาคือความสุขและความก้าวหน้า ที่เรียกกันว่าศรีอาริยะ (utopia) จะบังเกิดแก่พลเมืองทุกคน”

ธนาวิยังเสนอว่าการก่อตั้งของรัฐบาลใหม่จะต้อง “แสดงในพื้นที่ด้วย” (performance in space) การที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคำแถลงคณะราษฎรฉบับที่ 1หน้าลานพระบรมรูป (Royal Plaza) ที่ตรงหน้าคือพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ถือว่าเป็นพลังอำนาจของกษัตริย์ จึงถือว่าเป็น “การแสดงในพื้นที่” ด้วย และในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1936 (พ.ศ. 2479) หมุดคณะราษฎรจึงติดตั้งที่พระยาพหลฯอ่านประกาศ

หมุดคณะราษฎรเป็นแผ่นวงกลมทำจากทองเหลือง ฝังอยู่หน้าพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ที่กำลังทรงม้า ในหมุดเขียนว่า “ที่ตรงนี้ ในย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน ปี 1932 (พ.ศ. 2475) คณะราษฎรได้นำรัฐธรรมนูญเพื่อความสวัสดีของชาติ” การติดตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1936 (พ.ศ. 2479) มีพระยาพหลฯเป็นประธานในพิธี

หลังจากการปฏิวัติ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังถูกสร้าง ไม่เพียงแต่กรุงเทพฯเท่านั้น แต่ยังกระจายไปรอบๆจังหวัดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญกระจายไปตามจังหวัดต่างๆอีกด้วย

ศรัญญู เทพสงเคราะห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ และเป็นผู้เขียนเรื่องประชาธิปไตยของราษฎร (People-ocracy) : การเมือง, อำนาจ, และความทรงจำของคณะราษฏร กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เป็นความทรงจำส่วนใหญ่เกิดในภาคอีสาน เพราะผู้แทนของคณะราษฎรแสดงบทบาทอันโดดเด่นของยุคสมัย และพลเมืองมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง

จากบันทึกของสิบโท สุพรรณ อนันตโสภณ บรรยายความรู้สึกของพลเมืองในอุดรธานี ในวันที่ 24-27 มิถุนายน ปี 1932 (พ.ศ. 2475) ว่าประชาชนฟังข่าวทางวิทยุอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่มีความคิดเกี่ยวกับการปกครองระบอบใหม่นี้ก็ตาม พวกเขารู้ว่าตอนนี้กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย พลเมืองมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน เจ้าหน้าที่รัฐก็เหมือนกับลูกจ้างของพลเมือง ที่มีหน้าที่ในการช่วยเหลือบำบัดทุกข์ให้แก่ราษฎร และทำความสุขให้แก่ประชาชน

ในปี 1933 (พ.ศ. 2476) เกิดกบฏเดชขึ้น  คนอีสานมีความกระตือรือร้นทั้งในส่วนของคณะราษฎร และคนที่ต่อต้านมัน ถึงแม้ว่ากองกำลังทหารมีฐานที่มั่นที่ภาคอีสาน เพราะเจ้าชายบวรเดชทำหน้าที่ผู้บัญชาการที่นครราชสีมา แต่ประชาชนทางภาคอีสานกลับช่วยเหลือคณะราษฎรเพื่อต้านพวกกบฏ

ในปี 1934 (พ.ศ. 2477)  หลังจากสิ้นสุดความวุ่นวายที่เกิดจากกบฏบวรเดช และพวกกบฏผีบุญ (Holy Men’s rebellion) หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) ผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม คิดว่าประชาชนในพื้นที่ไม่มีความเข้าใจในระบอบรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะว่าพวกเขายังเชื่อกับคำพยากรณ์หรือคำทำนายจากกบฏผีบุญ ด้วยพวกผีบุญกล่าวอ้างว่าตนคือผู้วิเศษ เป็นพ่อมด ดังนั้นเขาจึงคิดการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญขึ้นมา

ศรัญญู กล่าวว่า “สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างอนุสาวรีย์ก็คือมันไม่ได้เริ่มต้นจากการสั่งการจากกรุงเทพฯ แต่คือเกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการในเมืองนั้น นักธุรกิจและประชาชนต่างลงขันกันเพื่อสร้างที่หมาย (landmark) ขึ้นมา”

หากมองภาพรวมในอนุสาวรีย์เหล่านี้ เราจะเห็นว่าพวกมันจะถูกสร้างตรงศูนย์กลางของเมือง หรือเป็นที่ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่นในจังหวัดมหาสารคาม ครั้งแรกอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด ต่อมาได้ย้ายไปที่เทศบาลเมือง (town municipal office) ในสุรินทร์ ตั้งที่ศาลากลางจังหวัด ในบุรีรัมย์ จะตั้งอยู่ตรงวงเวียนน้ำพุใกล้กับตลาด ก่อนถูกรื้อไป ในร้อยเอ็ด จะอยู่ที่ตรงเกาะของบึง ลาน ชัย (Bueng Lan Chai)

พื้นที่เหล่านี้เคยถูกใช้เป็นที่จัดการรื่นเริง หรือจัดกิจกรรม เช่น การฉลองรัฐธรรมนูญ หรือการฉลองวันชาติ ที่ในสมัยคณะราษฎรอยู่นั้นยิ่งใหญ่มาก ครั้งแรกจัดในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1932 (พ.ศ. 2475) เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเกิดขึ้น เริ่มที่กรุงเทพฯ ต่อมาก็ขยายไปที่จังหวัดต่างๆ

เมื่อคณะราษฎรสูญเสียอำนาจ การฉลองรัฐธรรมนูญเริ่มสูญความสำคัญและหายไปทีละเล็กละน้อย ทุกวันนี้ตรังคือจังหวัดเดียวที่ยังมีการฉลองรัฐธรรมนูญอยู่ ส่วนจังหวัดอื่นๆ มันได้กลายเป็นงานกาชาดหมดแล้ว (Red Cross fairs)

สัญลักษณ์ของระบบใหม่ไม่ได้อยู่ที่อนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังปรากฏบนจั่ววัดปงสนุก (Pong Sanuk) จังหวัดลำปาง, หน้าปกของหนังสือโรงเรียน, ยอดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (crest), ตราสัญลักษณ์ของร้อยเอ็ด (ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นเสาหลักเมืองแทน), และสัญลักษณ์ของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

ประทีป สุธาทองไทย แห่งภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปะและศิลปะประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามอธิบายว่า ภาพลักษณ์ของประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่ตั้งอยู่บนแท่นเป็นปัญหาด้วยตัวของมันเอง เพราะว่าภาพลักษณ์เองไม่เกี่ยวอะไรกับระบอบประชาธิปไตยเลย   

“รัฐธรรมนูญที่อยู่บนพานหรือฐาน ถูกใช้มาตั้งแต่การปฏิวัติ ในฐานะที่มันสัญลักษณ์ ที่คนส่วนใหญ่ยังจำได้ ปัญหาคือเมื่อเรานึกถึงประชาธิปไตย แต่เราเห็นเพียงแค่รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความหมายแค่รัฐธรรมนูญแต่เพียงอย่างเดียว เราไม่รู้ว่าความหมายที่ต่อจากรัฐธรรมนูญคืออะไร และหลักการของประชาธิปไตยคืออะไร สิ่งนี้ไม่ได้มาจากเห็นแค่รัฐธรรมนูญบนพาน ฉันคิดว่านี่คือข้อจำกัดและปัญหา” ประทีปกล่าว

8 ปีหลังการปฏิวัติ ในวันที่ 24 มิถุนายน ปี 1940 (พ.ศ. 2483) จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯในสมัยนั้น ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกที่พูดถึงประชาชนอย่างเป็นทางการ

มาลินี คุ้มสุภากล่าวใน “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและความหมายที่มองไม่เห็น” ว่า มีข้อเสนอของหลวงพิชเยนทร โยธิน ที่เป็นผู้แทนพระองค์ ได้ตั้งคำถามในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 4 ปี 1938 (พ.ศ. 2481) ว่า รัฐบาลมีแนวคิดในการสร้างอนุสาวรีย์ของผู้ก่อการปฏิวัติ และผู้ช่วยหรือไม่? แต่ข้อเสนอทั้งสองข้อถูกปฏิเสธโดยรัฐบาล เพราะหาว่าจะเป็นการไม่เหมาะสมและเห็นแก่ประโยชน์พวกพ้องมากเกินไป ดังนั้นมันจึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะใช้สัญลักษณ์ แทนที่จะเป็นรูปของปัจเจกบุคคล และไม่มีการจารึกคนทั้ง 99 คนในการปฏิวัติด้วย 

ถอนรากประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ยังคงอยู่มาถึง 15 ปี เมื่อคณะราษฎรเริ่มสูญอำนาจ หลังจากมีการสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 และการรัฐประหารในปี 1947 (พ.ศ. 2490) พร้อมๆกับการกลับมาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ต้องการจะให้อำนาจแก่กษัตริย์ ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคม

เมื่ออำนาจเปลี่ยนมือ สุดท้ายก็ส่งผลต่อการสร้างความทรงจำทางประวัติศาสตร์ (historical memorials) มรดกทางวัฒนธรรมของคณะราษฎรเริ่มมีมลทินต่อภูมิศาสตร์ของชาติ และเป็นบางสิ่งที่จะต้องลบทิ้งไป ชาตรีเสนอว่าจริงๆแล้วสังคมไทยมีกฎบัตรรัตนโกสินทร์ หรือ กฎบัตรในการอนุรักษ์สิ่งของทางวัฒนธรรมไทยเอาไว้ ในขณะที่คนในสังคม “ไม่ค่อยตระหนักรู้” เพราะถูกครอบงำไวด้วยหลักการราชาชาตินิยม ในขณะที่ประเด็นหลักก็คืออนุรักษ์เพียงแต่มรดกของชนชั้นนำภายใต้ระบบราชาชาตินิยม ดังนั้นมรดกของคณะราษฎร ซึ่งต่อต้านอำนาจของกษัตริย์ และอำนาจในระบอบเดิม จึงกลายมาเป็นสิ่งที่ต้องถูกทำลายลงไป

ในวันที่ 14 มีนาคม ปี 2017 (พ.ศ. 2560) มีรายงานว่าหมุดคณะราษฎรหายไปจากที่ตั้งเดิม จนถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน และถูกทำลายแล้วหรือยัง มีการคาดเดาว่าหมุดน่าจะถูกถอดไปในวันที่ 1-8 มีนาคม แต่ก็ไม่มีใครรู้จริงๆว่าเป็นวันไหน มันถูกแทนที่ด้วยหมุดไพร่ฟ้าหน้าใส (fresh-faced plaque) ในนั้นจะเขียนว่า “ขอให้สยามดำรงอยู่ตลอดไป พลเมืองหน้าใสและมีความสุข ที่สร้างอำนาจให้กับแผ่นดิน ความจงรักภักดี และความนับถือในพระรัตนตรัยเป็นสิ่งดี ในรัฐของตนก็ดี ต่อวงศ์ตระกูลก็ดี และนับถือกษัตริย์ของตนก็ดี สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ทำให้รัฐเจริญรุ่งเรือง” ซึ่งเป็นสุภาษิตบนตราประทับของรัชกาลที่ 5 เพื่อแสดงความนบนอบต่อรัชกาลที่ 1

สำนักงานเขตดุสิต (Dusit District Official) ยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้เปลี่ยนหมุดแต่อย่างใด กรมศิลปากร (the Fine Arts Department) กล่าวอ้างว่า หมุดไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของตนเอง เพราะไม่ได้เป็นวัตถุโบราณ (historical artefact) ตามกฎหมาย “เนื่องจากหมุดไม่ได้ถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติที่เคลื่อนไหวได้ตามคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หมุดถือเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าได้จุดที่มีการพูดการปฏิวัติเท่านั้น”

ต่อมากลางดึกของวันที่ 28 ธันวาคม ปี 2018 (พ.ศ. 2561) อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือ อนุสาวรีย์ป้องกันรัฐธรรมนูญถูกเคลื่อนย้ายจากวงเรียนรอบหลักสี่ ภายใต้การดูแลของตำรวจและทหาร ระหว่างการเคลื่อนย้าย ประชาชน, นักข่าว, นักกิจกรรม, และนักวิชาการต่างถูกห้ามในการสังเกต ทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยว่าเคลื่อนไปอยู่ที่ไหน และยังดำรงอยู่หรือไม่?

1 วันก่อนการเคลื่อนย้าย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงานว่ามีเจ้าหน้าที่เมืองกรุงเพทฯ (Bangkok Metropolitan Authority) ทำการสักการะอย่างเงียบๆก่อนการเคลื่อนย้ายไปที่ศูนย์การก่อสร้าง BMA ของกรุงเทพฯย่านหนองบอนอย่างถาวร ต่อมาข่าวนี้ถูกลบออกไปจากเว็ปไซต์ ศักดิ์ชัย บุณมา ผอ.สำนักงานการโยธา ยืนยันว่า ไม่มีทางอนุสาวรีย์จะถูกย้ายไปที่หนองบอน และไม่รู้เรื่องการเคลื่อนย้ายแต่อย่างใด

มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการหายไปหรือถูกทำลายของมรดกคณะราษฎร รวมทั้งการทำลายอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบนถนนราชดำเนินด้วย หลากคนอาจหัวเราะ แต่จากหนังสือ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและความหมายที่มองไม่เห็น” ยืนยันว่าในปี 1969 (พ.ศ. 2512) มีข้อเสนอให้แทนที่ใจกลางเมืองด้วยการให้รัชกาลที่ 7 ทำหน้าที่ยื่นรัฐธรรมนูญลงมาให้ประชาชน ต่อมาข้อเสนอนี้ถูกคัดค้าน มีการทำความสะอาดรัฐธรรมนูญเท่านั้น ต่อมาพระรูปรัชกาลที่ 7 ถูกติดตั้งแบบถาวร ที่อาคารรัฐสภา (ตรงกันข้ามกับสวนสัตว์ดุสิต)

ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของธานวิ เรื่อง “การปฏิวัติกับการต่อต้านการปฏิวัติ: คณะราษฎรกับพวกสนับสนุนราชาในทัศนศิลป์” มีข้อความว่าภาพการยื่นรัฐธรรมนูญของรัชกาลที่ 7 อาจถือว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของอิทธิพลของกษัตริย์เหนือการเมืองไทย และภาพปั้นถือว่าเป็นความทรงจำเกี่ยวกับรากเหง้าของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ภาพปูนปั้นอันนี้ก่อให้เกิดวาทกรรม “ชิงสุกก่อนห่าม” โดยที่คณะราษฎรช่วงชิงการเปิดประเทศ ในขณะที่ประชาชนยังไม่พร้อม ต่อมารัชกาลที่ 7 คือบิดาของประชาธิปไตยไทย

อย่างไรก็ตาม การทำลายมรดกของคณะราษฎรมีทั้งมีจิตสำนึก, ทำลายโดยตั้งใจ, และการทำลายไม่ตั้งใจ เพราะว่าประวัติศาสตร์ในยุคนี้สามารถที่จะลบจากความทรงจำของผู้คน ดังนั้นผู้คนเลยเกิดอาการลืมได้ง่าย การทำลายจึงน่าเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด

กรณีของจังหวัดบุรีรัมย์เป็นกรณีตัวอย่าง ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 2014 (พ.ศ. 2547) จังหวัดบุรีรัมย์ได้ย้ายอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ เทศบาลบุรีรัมย์อ้างว่าการเกิดเคลื่อนย้ายเพื่อต้องการแก้ปัญหาจราจร ก่อนหน้านี้เคยย้ายจากวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด ต่อมาจึงถูกย้ายอีกครั้งเนื่องจากมีการสร้างพระเมรุมาศจำลง (a replica royal funeral pyre) ในช่วงการถวายพระเพลิงรัชกาลที่ 9 ในที่สุดเดือนตุลาคม ปี 2019 (พ.ศ. 2562) เพจ Phalo พบว่าส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ถูกทิ้งเป็นกองขยะอยู่ที่ที่ทำงานของกรมการก่อสร้างจังหวัด (Public Works Department of the municipality)

เมื่อไม่มีการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่งานรื่นเริงที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยก็ค่อยๆหมดไป ดังนั้นผู้คนในท้องถิ่นจึงลืมว่าอนุสาวรีย์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรกับพวกเขา และลืมไปว่าพวกเขาเคยดำรงอยู่ ดังนั้นอนุสาวรีย์เหล่านี้จึงถูกแทนที่, ปรับเปลี่ยน, และทำลายไปโดยง่าย ในปัจจุบันยังคงมีอนุสาวรีย์อยู่เพียง 5 จังหวัดในภาคอีศานก็คือ มหาสารคาม, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, และชัยภูมิ

ในขณะที่มรดกของคณะราษฎรถูกทำให้หายไปทีละชิ้นทีละชิ้น ในวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2019 (พ.ศ. 2562) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นประธานในการเปิดห้องศรีสิทธิสงคราม และห้องบวรเดช ในพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ห้องทั้งสองนั้นตั้งขึ้นมาจากพระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าการกบฏบวชเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ตาของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นองคมนตรีในตอนนี้

อย่างไรก็ตาม หลังจากการรัฐประหารปี 2006 (พ.ศ. 2549) เรื่องราวของคณะราษฎรได้รับการพูดถึงในฐานะที่เป็นวีรบุรุษ และสัญลักษณ์ของการต่อสู้ต่อต้านอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับกษัตริย์ ที่ครอบงำสังคมไทยทุกวันนี้ ชาตรีเสนอว่านี่คือ “ครั้งที่ 2” ของการเกิดใหม่ของคณะราษฎร ดังนั้นการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎร และการย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฏ จึงถือว่าเป็น “การฆ่าครั้งที่ 2 ของคณะราษฎร” เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ เนื่องมาจากว่าความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งเรื่องราวของคณะราษฎรก็ยังมีอยู่

ในเดือนมีนาคม ปี 2019 (พ.ศ. 2562) คณะบดีวิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เสนอการฝังหมุดคณะราษฎรในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้กับนักศึกษา แต่มหาวิทยาลัยปฏิเสธ เนื่องมาจากกว่านี้เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และไม่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษา นอกจากนี้ยังกลัวกันว่าจะเกิดการแบ่งแยกในมหาวิทยาลัย ในที่สุดก็เกิดการประนีประนอมขึ้น หมุดหมายที่ทำสำเร็จแล้วจะอยู่บนหิ้งเพื่อการจัดแสดง นอกจากนี้หมุดคณะราษฎรยังสามารถเห็นได้ในสวนประติมากรรม ข้างหอประชุมใหญ่ และห้องปรีดี พนมยงค์ในตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

แปลและเรียบเรียงจาก

Anna Lawattanatrakul. Uprooting Democracy: The War of Memory and the Lost Legacy of the People’s Party.

https://prachatai.com/english/node/8312

หมายเลขบันทึก: 675415เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ ที่เขียนบทความนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท