ชีวิตที่พอเพียง 3586a. เรียนมหาวิทยาลัย ๖๐ ปี


มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต เน้นฝึกสมรรถนะ ให้การรับรองสมรรถนะ ว่าทำงานได้จริง

ชีวิตที่พอเพียง 3586a. เรียนมหาวิทยาลัย ๖๐ ปี

นสพ.New York Times ลงบทความ 60 Years of Higher Ed Really?    บอกว่าต่อไปการเรียนมหาวิทยาลัยจะใช้หลักสูตร๖๐ ปี  ไม่ใช่ ๔ ปี    ทำให้ผมคิดถึงตัวเองว่าน่าจะกำลังจะเรียนจบปีหน้า ๒๕๖๓   เพราะผมเข้าเรียนที่จุฬาฯ ปี ๒๕๐๓  

  แต่ผมกลับเถียงว่าอย่างไรเสียการเรียนของผมก็ไม่หยุดหลังเข้ามหาวิทยาลัยมา ๖๐ ปี    เพราะมหาวิทยาลัยช่วยสอนให้ผมเรียนเป็น    และสำหรับผม ไม่มีการจบการเรียน   

อ่านบทความแล้วผมเกิดความคิดว่า   ต่อไปการเรียนมหาวิทยาลัยสำหรับคนส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนสั้นและเรียนยาว เพื่อมีงานทำและมีชีวิตที่ดี   เรียนสั้นหมายความว่าเรียนคอร์สสั้นๆ ๓,๖, หรือ ๙ เดือน ก็มีสมรรถนะที่ต้องการสำหรับการทำงาน    ก็ได้ใบรับรองสมรรถนะ (สมรรถนะบัตร)     ไปทำงานหารายได้เลี้ยงชีพไปเรียนต่อไปด้วย เรียนทีละโมดุลสองโมดุล และเก็บหน่วยกิตไป   จนได้หน่วยกิตครบก็ได้รับปริญญา   จ่ายเงินน้อยกว่าการเรียนปริญญา ๔ ปีรวดแบบสมัยนี้   และมีเวลาทำมาหากินเร็วขึ้นอย่างน้อย ๓ปี    และคนเรียนแล้วตกงานจะมีน้อยมาก   

ได้รับปริญญาเอาไว้โก้ๆ   รวมทั้งได้ใบรับรองสมรรถนะที่เก็บไว้เป็นหลักฐานในระบบopen badge (สมรรถนะบัตรเสมือน) ของมหาวิทยาลัย    ที่ต่อไปในอนาคตทุกมหาวิทยาลัยจะต้องมี    เอาไว้บริการศิษย์ให้ผู้ต้องการจ้างงานมาตรวจสอบสมรรถนะของศิษย์ตลอดชีวิตของตนได้    มหาวิทยาลัยจะต้องแข่งขันกันสร้างความ ศักดิ์สิทธิ์ ของ badge ของตน   ว่าเมื่อมหาวิทยาลัยรับรองแล้วผู้นั้นทำงานเก่งจริงๆ   คนไหนเก่งพิเศษด้านใด มีบอกด้วย    เป็นระบบสมรรถนะบัตรเสมือนที่ไม่ต้องพิมพ์ไม่ต้องทำพิธีแจก แต่ศักดิ์สิทธิ์กว่าปริญญาบัตรจริง 

วิจารณ์พานิช

 ๑๔ ธ.ค. ๖๒ 

หมายเลขบันทึก: 673735เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2019 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2019 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท