มนุษยศาสตร์ และธรรมชาติไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน- เราต้องพวกเขาเป็นหนึ่งเดียวในการรักษาวิกฤตการณ์โลกร้อน


จากการขนส่งไปจนถึงการใช้ภายในบ้าน การผลิตอาหารไปจนถึงแฟชั่น อารยธรรมของเรากำลังทำให้เกิดความล่มสลายของนิเวศวิทยาและสภาพอากาศ

มันใช่เรื่องแปลกหรอกที่ว่าเกือบจะทุกส่วนของอุตสาหกรรมนำไปสู่ความล่มสลายของโลก ประเด็นที่ลึกลงกว่านี้จะเน้นว่าในแต่ละส่วนทำลายระบบเชิงนิเวศวิทยาของโลกนี้ทั้งสิ้น และจุดเริ่มต้นของมันไปไกลกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมมากมายนัก ในการนำเราไปเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เราจะต้องหันกลับไปสู่มนุษยศาสตร์อีกครั้ง

แม้ว่าจะมีเรื่องราวที่สลับซับซ้อน และหลากหลายก็ตาม แต่การแยกที่ชัดเจนที่สุดระหว่างการแยกธรรมชาติจากมนุษย์ในวัฒนธรรมตะวันตกอาจพบได้ในการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ 2-3 แห่ง เริ่มต้นที่การแยกระหว่างคุณค่าของชาวคริสต์กับยูดาย เมื่อเกือบ 2 พันปีล่วงมาแล้ว ก่อนหน้าการแยกนั้น ระบบความเชื่อยังประกอบไปด้วยพระเจ้าที่มีหลายพระองค์ และจิตวิญญาณของแผ่นดิน (แม่ธรณี?) เช่น พวกลัทธินอกศาสนายังมีอยู่ พวกนี้จะมองถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่พบในธรรมชาติ และมนุษย์จะต้องเคารพธรรมชาติ

เมื่อลัทธิยูดายและคริสเตียนเริ่มเข้ามาเป็นพลังทางศาสนาหลักในสังคมตะวันตก พระเจ้าองค์เดียวของพวกเขา ซึ่งรวมทั้งความศักดิ์สิทธิ์และการทำให้พ้นจากบาป จะถูกฉายใหม่อีกครั้ง คราวนี้จะไม่พึ่งธรรมชาติอีกแล้ว พันธสัญญาเก่าสอนว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์โดยดูจากรูปของตนเอง และให้การปกครองโลกแก่มนุษย์

ในฐานะนักประวัติศาสตร์ Lynn White แสดงความคิดเห็นว่า คุณค่าดังกล่าววางอยู่บนแนวคิดที่มองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentrism) หรือระบบความเชื่อที่มองมนุษย์ว่าตัดขาดจากสิ่งที่เหนือกว่า หรือโลกธรรมชาติ จริงๆแล้วคนที่เชื่อมั่นไบเบิลอย่างแรงกล้าจะเป็นห่วงการล่มสลายของสภาพแวดล้อมที่ส่งกับมนุษย์มากกว่าสัตว์ทั้งหลาย

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 17 บิดาของปรัชญาสมัยใหม่ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Rene Descartes แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จิต และ กาย ในฐานะที่เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล Descartes มองมนุษย์ว่าแยกขาดจากธรรมชาติที่ทรงคุณมากกว่า และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งสองประการนั้นคือเครื่องจักรที่ไม่มีจิต และต้องถูกควบคุมและใช้ประโยชน์มันอย่างเต็มที่ งานของ Descartes ส่งผลต่อสังกัปสมัยใหม่ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ มนุษย์ และอัตลักษณ์ของสัตว์ ในสังคมตะวันตก

White และนักปรัชญา Val Plumwood น่าจะเป็นคนแรกที่เสนอว่าเจตคติแบบนี้ส่งผลต่อวิกฤตการณ์สภาพแวดล้อม เช่น เมื่อเราพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติ และปริมาณสัตว์น้ำที่คงเหลือ เรากำลังเสนอให้คนทำงานต้องเอาทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ นั่นคือสาเหตุที่เราสะสมทุนแบบต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุด

ตามที่ Plumwood คู่ตรงกันข้ามระหว่างเหตุผลกับธรรมชาติ ยังส่งผลต่อการปราบปรามกลุ่มทางสังคมด้วย กลุ่มพวกนี้จะใกล้เคียงกับธรรมชาติ เช่น ผู้หญิง ชนชั้นแรงงาน พวกผิวสี และกลุ่มชนกลุ่มน้อย

ชีวิตเหมือนสิ่งกีดขวาง

นักวิชาการ เช่น Timothy Morton และ Bruno Latour เตือนเราว่าการมองว่าโลกธรรมชาติแยกขาดจากตัวมนุษย์ไม่เป็นเพียงจะมีปัญหาทางจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังผิดในวิธีวิทยาอีกด้วย จุลินทรีย์ในกระเพราะจะช่วยการช่วยอาหาร ในขณะที่ส่วนอื่นๆจะอยู่ตามเนื้อหนัง การถ่ายละอองไปสู่เกสรตัวเมีย เช่นพวกผึ้ง และแตน ช่วยในการผลิตอาหารที่เราทาน ในขณะที่สิ่งที่สังเคราะห์แสง เช่น ต้นไม้ และ แพลงก์ตอนพืชนำเสนอออกซิเจนให้กับเราในการดำรงอยู่ และดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราคายทิ้ง

ในแนวคิดที่เห็นว่าการดำรงอยู่ของมนุษย์ส่งผลต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม เราจะเห็นมากขึ้นๆว่า ทั้งมนุษย์และสภาพแวดล้อมหรือนิเวศสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง รัฐบาลและบริษัทต่างๆสร้างการบังคับระบบธรรมชาติเอาไว้ ที่เขาจะได้เผาผลาญธรรมชาติจนทำลายระบบอากาศของโลก ผลของการทำสิ่งนั้นก็คือความร้อนที่ร้อนจนตับแล่บ, ทะเลที่บ้าคลั่ง, และสภาพอากาศที่รุนแรงจะทำลายสัตว์และมนุษย์เป็นล้านๆ

การสร้างจุดเชื่อมโยงขึ้นมาอีกครั้ง

ข่าวดีก็คือ การแยกขาดจากธรรมชาตินั้นไม่เป็นสากล ในประชาชนทุกกลุ่มในโลกนี้ ชาวออสเตรเลีย กลุ่มอินเดียนแดงในอเมริกา และระบบความเชื่อที่อยู่ในเผ่านับพันแห่งโดยมากจะฉายให้เห็นถึงสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่เป็นเหมือนญาติเรา ที่เราควรจะเคารพในคุณค่าภายใน มากกว่าสนใจแต่คุณค่าภายนอกที่เราต้องครอบครองหรือเผาผลาญ

นักปรัชญาตะวันออก และศาสนาต่างๆ เช่น พุทธแบบเซน ก็ถือว่ามนุษย์กับธรรมชาติเกี่ยวข้องกัน โดยการเน้นว่าทุกสิ่งเกี่ยวข้องกับตัวตน และสอนว่าสรรพสิ่งต้องขึ้นกับสิ่งอื่นๆเพื่อการอยู่รอด และความผาสุก เช่น การเน้นอย่างเข้มข้นในพุทธมหายาน พวกภูฐานจะถือว่าความยืดหยุ่นของธรรมชาติปรากฏในรัฐธรรมนูญ การบัญญัติว่าพื้นที่ป่าในประเทศต้องมีถึง 60%  การบัญญัติดังกล่าวถือเป็นประเทศที่ 2 ในโลก การมีอยู่ของป่าคือการดูดซึมคาร์บอนแทนที่จะปล่อยมันออกมา ประเทศนี้วัดความก้าวหน้า ที่ไม่ใช่ GDP แต่เป็น ความสุขแห่งชาติโดยรวมมากกว่า (a gross national happiness) ซึ่งเน้นหนักไปในทางมนุษย์กับความอยู่ดีของสภาพแวดล้อมมากกว่าเศรษฐกิจ

แน่นอน สิ่งกีดกันกับธรรมชาติดำรงอยู่ในโลกตะวันตก แต่ระบบสังคมเศรษฐกิจของโลก ที่เกิดขึ้นมาในภูมิภาคนี้ทำให้เกิดการเผาผลาญในโลกธรรมชาติเพื่อผลกำไร การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่จัดระบบมานี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดง่าย

มันจำเป็นต้องใช้เวลา และการศึกษาคือสิ่งสำคัญ หนังสือเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และชั้นเรียนตลอดทุกภาควิชายังคงทำลายความสัมพันธ์กับธรรมชาติ การศึกษาต้องมีการออกแบบใหม่เพื่อถ่วงดุลคนที่เข้ามาในโลกการทำงาน โดยที่ต้องใส่ใจกับสภาวะแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ในการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ขั้นพื้นฐานที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นที่วัยเด็ก การฝึก เช่น การเดินทางไปในธรรมชาติ ในระดับประถม ซึ่งเด็กๆจะต้องบันทึกประสบการณ์ของโลกธรรมชาติ ที่อยู่ในรูปของงานเขียนและลักษณะทางศิลปะ จะทำให้พวกเขารู้สึกอัศจรรย์ใจ และเชื่อมโยงกับธรรมชาติได้ในที่สุด

โรงเรียนจะต้องใช้ทุกโอกาสตลอดหลักสูตร และการเล่นเพื่อบอกเด็กๆของเราถึงเรื่องใหม่ของสถานที่นั้นที่เชื่อมโยงกับโลกธรรมชาติ นักเศรษฐศาสตร์ และนักปรัชญา ชื่อ Charles Eisenstein เสนอให้มีการเล่าเรื่องโลกที่ดำเนินอยู่ ที่มองว่าโลกไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งตายให้มนุษย์เข้าไปเผาผลาญ แต่เป็นระบบที่มีชีวิต ที่สุขภาพของคนดำรงอยู่เมื่อสุขภาพของอวัยวะต่างๆและเนื้อเยื่อสมบูรณ์พร้อมกันไปด้วย อวัยวะและเนื้อเยื่อหมายถึงพื้นที่ป่าชื้น, ป่า, หญ้าทะเล, ไม้โกงกาง, ปลา, ปะการัง, และอื่นๆ

ตามเรื่องที่เล่ามานี้ การตัดสินใจในการทำลายป่าเพื่อวัวกินหญ้าไม่เพียงแต่ทำลายการดูดซับคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังต่อต้านป่าและประชากรที่อยู่ในนั้นด้วย

โลกดังกล่าวอาจไม่สามารถคิดถึงได้ แต่หากเราใช้จินตนาการตอนนี้แล้วหละก็ ภายใน 2-3 ทศวรรษ เราอาจพบลูกหลานเขียนเรื่องราวที่เราต้องการให้พวกเขาเชื่อถือก็ได้

แปลและเรียบเรียงจาก

Misha Ketchell. Humanity and nature are not separate---we must see them as one to fix the climate crisis.

https://theconversation.com/humanity-and-nature-are-not-separate-we-must-see-them-as-one-to-fix-the-climate-crisis-122110

หมายเลขบันทึก: 673538เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2019 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2019 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท