ชีวิตที่พอเพียง 3577. ลอนดอน ๒๕๖๒-๒ : ๔. เรียนรู้ภูมิศาสตร์การเมือง


ชีวิตที่พอเพียง 3577.  ลอนดอน ๒๕๖๒-๒  : ๔. เรียนรู้ภูมิศาสตร์การเมือง

๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒

เอกสาร Concept Note ของ Subtheme 1 : Geopolitical Change and Health Systems    สำหรับใช้เตรียมจัดประชุม PMAC 2021 : The Global Health in the SDG Era – from words to action  เปิดกระโหลกผมมาก    ว่าตัวการความยากลำบากในอนาคตของมนุษยชาติ คือ “พระเจ้า”ยุคใหม่ที่มนุษย์สร้างขึ้น    ที่เรียกว่า “ความเติบโตทางเศรษฐกิจ” (economic growth)   

“พระเจ้า”องค์ใหม่ที่กำลังยกร่างความคิดกัน เรียกว่า “ละเลิกการเติบโต” (de-growth)   หรือ  “เศรษฐกิจวงจร” (circular economy)   หรือ “เศรษฐกิจขนมโดนัท” (doughnut economy)    ยังไม่ชัดเจนว่า พระเจ้าองค์ใหม่ก่อรูปชัดหรือยัง    ผมเดาว่ายัง

ภูมิศาสตร์การเมืองกลายเป็นการต่อสู้ของชุดความคิดในสมองมนุษย์     ที่เป็นสมมติ และผมเรียกว่า “พระเจ้า”

ข้อเสนอพระเจ้าองค์ใหม่มาจากหนังสือ Doughnut Economics : How to Think Like a 21th Century Economist (1)  เขียนโดย Kate Raworth แห่งมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด    โปรดดูรูปโดนัทในลิ้งค์ (1)นะครับ    ในภาพใหญ่พระเจ้าองค์นี้โปรความเท่าเทียมครับ    ในขณะที่พระเจ้าองค์ที่ชื่อว่า ความเติบโตทางเศรษฐกิจ บันดาลให้เกิดความไม่เท่าเทียม เขาเอ่ยว่า มหาเศรษฐีอันดับที่ ๑ ถึง ๘ ของโลกมีทรัพย์สินรวมกันเท่ากับทรัพย์สินของพลโลก ๓,๖๐๐ ล้านคนรวมกัน

ความเท่าเทียมสำคัญคือด้านสุขภาวะ (wellbeing)  กับด้านความมั่งคั่ง (prosperity)    

เพื่อเปลี่ยนพระเจ้า (มายาในสมองมนุษย์)    ผู้ยกร่างเสนอมาตรการหลัก ๖ มาตรการคือ

  1. 1. สร้างตัวละคร (actors) ใหม่
  2. 2. ทบทวน evidence ของ social & environmental determinants of health and health equity
  3. 3. ทบทวนนโยบายระดับชาติและระดับโลก ที่นำไปสู่ผลบวกด้านสุขภาวะ และลดการสร้างผลลบ    ตัวอย่างสำคัญคือเรื่องตลาดแรงงาน
  4. 4. ทบทวนนโยบายระดับชาติและระดับโลก เพื่อลดความกลัวและรังเกียจเพื่อนมนุษย์ในสังคมวัฒนธรรมอื่น (xenophobia)   และการเมืองคลั่งชาติแบบรังเกียจเชื้อชาติอื่น
  5. 5. ทบทวนกลไกขับเคลื่อนทางสังคมระดับโลก ที่นำไปสู่พัฒนาการด้านสุขภาพ
  6. 6. ถกเถียงกันเรื่อง Limitarianism (2) (3)    ผมรู้จักคำนี้เป็นครั้งแรก    อ่านลิ้งค์ (2) (3) คร่าวๆ แล้ว  ผมบอกตัวเองว่า ผมสมาทานลัทธินี้มาตลอดชีวิตโดยไม่รู้ตัว    โดยยึดอุดมการณ์ดำรงชีวิตแบบ “ให้มากกว่าได้” (give > take)

ผมมองว่า “ภูมิศาสตร์การเมือง” เรื่องแย่งทรัพยากร แย่งผลประโยชน์ และแย่งกันเป็นใหญ่    ทั้งในระดับประเทศ (และกลุ่มประเทศ)  และในระดับบุคคล    เมื่อไรที่มัวเมากิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ความขัดแย้งและความรุนแรงก็เกิดขึ้น    โดยที่ความรุนแรงบางส่วนมันรุนแรงแบบนิ่มๆ     อย่างกรณีนายเท็ด แม็คคินนี ผู้ช่วยรัฐมนตรีเกษตรเพื่อการค้าและกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา ผู้ลงนามจดหมายถึงรัฐบาลไทย คัดค้านการห้ามใช้สารเคมีฆ่าหญ้า ไกลโฟเซต  ก็น่าจะถือได้ว่า เป็น political economy determinant ที่ก่อผลลบต่อสุขภาวะอย่างหนึ่ง         

วิจารณ์ พานิช

 ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒    ปรับปรุง ๒๖ ต.ค. บน TG 917 กลับบ้าน

ห้อง ๓๑๘   โรงแรม The Cavendish    ลอนดอน


หมายเลขบันทึก: 673495เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2019 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2019 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท