กิจวัตรประจำวัน "ฝึก" สุขภาพจิตอย่างไร


ขอบพระคุณงานวิจัยดีงามอ้างอิงจาก Holmqvist KL, Holmefur M. The ADL taxonomy for persons with mental disorders – adaptation and evaluation, Scan J Occup Ther 2019;26(7):524-34. DOI: 10.1080/11038128.2018.1469667. และอ้างอิงภาษาไทยจากองค์การอนามัยโลก. บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงานความพิการและสุขภาพ: ICF อนุสัญญาลิขสิทธิ์สากลปี 2001 (ฉบับภาษาไทย). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์; 2547.

รายวิชากิจวัตรประจำวัน (Activities of Daily Living) สำหรับนักกิจกรรมบำบัด นี่สำคัญมาก หากแต่เราทั้งหลายลืมมอง "ความเชื่อมโยงจิตกายใจสังคมขณะตนกำลังรับรู้สึกนึกคิด รู้เท่าทันอารมณ์ และรู้จริง รับฟัง คิดบวก ถามชัด เขียนตรง ขณะสื่อสารเรากำลังทำอะไร ทำไปทำไม ทำอย่างไร และทำไปเพื่ออะไร" ผมเองเคยถ่ายทอดทักษะอ่อนโยน หรือ Soft Skills ว่ามีความสำคัญมากในการสื่อสารขณะประเมินและฝึกฝนผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิตสังคมให้พัฒนาความสุขความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน คลิกเรียนรู้ที่คลิปนี้ รวมทั้งในหลายเคสที่มีความบกพร่องทางการรู้คิดหรือความรู้ความเข้าใจ จึงจำเป็นที่ต้องฝึกฝนทักษะอ่อนโยนร่วมกับ Cognitive Behavioral Techniques หรือเทคนิคการปรับพฤติกรรมด้านการเข้าใจความคิด อารมณ์ และการสื่อสาร ยกตัวอย่างการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษากิจกรรมบำบัดในคลิปนี้  ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลักฐานเชิงประจักษ์ในเคสฝ่ายกายก็ยังขาดการประเมินความพึงพอใจและกระบวนการสื่อสารทางจิตสังคมดังจะเห็นได้งานหนึ่งจากลิงค์ Cochrane Library ภาษาไทย

ในวันนี้นักกิจกรรมบำบัดสวีเดนได้สนับสนุนประเด็นทักษะอ่อนโยน หรือเรียกเป็นทางการว่า "ทักษะเมตตาปัญญา" ทำให้เกิด ADL Taxonomy (อนุกรมวิธานหรือการจัดหมวดหมู่ของกิจวัตรประจำวัน) ที่เพิ่มการวิเคราะห์สเกล "ต้องการทำ/ไม่ต้องการทำ กับ สามารถทำได้/ไม่สามารถทำได้" ขณะสังเกตเคสที่กำลังแสดงการกระทำ (Actions) ในกิจวัตรประจำวันตามระดับความง่ายถึงยาก ไม่แนะนำให้สัมภาษณ์เพราะเคสอาจพูดไม่จริงก็ได้ ดังต่อไปนี้

  1. กิจกรรมการกินและการดื่ม  นิยาม การกินและการดื่มตามลำพัง หรือกับผู้อื่น บนโต๊ะตามมารยาทที่ยอมรับได้ 

ระดับการกระทำ (1) การดื่มตามลำพัง (2) การกินและการดื่มกับผู้อื่น (3) การกินตามลำพัง

2. กิจกรรมการรับรู้วันเวลาสถานที่บุคคลและการเคลื่อนที่ นิยาม การรับรู้วันเวลาสถานที่บุคคลอย่างมีเป้าหมาย และการเคลื่อนที่จากสถานที่หนึ่งไปที่อื่น

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกินกว่าหรือภายใต้การใช้งาน (1) ในสิ่งแวดล้อมในร่มที่รู้จัก (2) ในสิ่งแวดล้อมกลางแจ้งที่รู้จัก (3) ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่รู้จัก

3. กิจกรรมการแต่งตัว นิยาม การสวมใส่และการถอดเสื้อผ้า การเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วนำมาซักทั่วไป การเลือกเสื้อผ้าเหมาะสมตามสภาพอากาศและกิจกรรม การจัดการเปลี่ยนเสื้อผ้าในที่สาธารณะ (เช่น ห้องลองเสื้อผ้า ห้องยิม ห้องอาบน้ำ) 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกินกว่าหรือภายใต้การใช้งาน (1) การถอดเสื้อผ้า (2) การสวมใส่เสื้อผ้า (3) การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม (4) การเปลี่ยนเสื้อผ้าไปซัก (5) การเปลี่ยนเสื้อผ้าในที่สาธารณะ 

4. กิจกรรมไปเข้าห้องสุขา นิยาม การไปเข้าห้องสุขาได้ทันเวลา การชำระล้างที่จำเป็น การจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย และสุขอนามัยหลังการขับถ่าย 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การทำความสะอาดส่วนตัวหลังการขับถ่าย (2) การขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ (3) การจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย (4) การล้างมือสองข้าง 

5.  กิจกรรมสุขอนามันส่วนบุคคล นิยาม การชำระล้างร่างกายและผม ใช้สบู่/แชมพู และเช็ดตัวให้แห้งอย่างเหมาะสม

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การชำระล้างตัวเอง (2) การอาบน้ำ/การใช้ฝักบัว (3) การสระผม

6. การแต่งกาย นิยาม การจัดการดูแลภาพลักษณ์ภายนอกของตัวเองและการใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยที่จำเป็น (ได้แก่ ยาสีฟัน) 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การโกนหนวด/การแต่งหน้า (2) การตัดเล็บ (3) การแปรงฟัน (4) การหวีผม/การปรับแต่งผม (5) การทำสีเล็บ

7. การอ่านและการเขียน นิยาม การอ่านสิ่งพิมพ์/หนังสือ จดหมายและบันทึก และการเขียนลงบนวัสดุของตัวเอง รวมถึงอินเตอร์เน็ต 

 ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การเซ็นลายมือชื่อ (2) การเขียนข้อความ (3) การอ่านจดหมาย/ข้อความ (4) การใช้โน้ตของตัวเอง (5) การอ่านสื่อพิมพ์/หนังสือ (6) การกรอกแบบฟอร์ม 

8. กิจกรรมใช้เครื่องมือสื่อสาร นิยาม การสื่อสารผ่านเครื่องมือช่วยต่างๆ การซึมซับข้อมูล การจัดการเครื่องมือการสื่อสารและซอฟต์แวร์ (โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์/แท๊ปเล็ต) และการเรียกสาย (รวมถึงการค้นหาเบอร์โทรศัพท์แท้จริง)

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การจัดการคอมพิวเตอร์/แท๊ปเล็ต (2) ากรจัดการโทรศัพท์/มือถือ (3) การจัดการโทรทัศน์/วิทยุ (4) การตอบรับโทรศัพท์ (5) การเรียกสายโทรศัพท์ 

9. กิจกรรมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นิยาม การทำตามค่านิยมด้วยการทำความดีทางกายวาจาใจต่อตัวเองและผู้อื่น  การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนอย่างน้อย 2-3 คนขึ้นไป การติดต่อเป็นทางการ การสร้างและคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์สนิทสนม และการแสดงความสัมพันธ์เมื่อจำเป็นที่จะหยุดการติดต่อ

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การมีปฏิสัมพันธ์กับ 2-3 คน (2) ทำการติดต่ออย่างเป็นทางการ (3) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากมาย (4) การยุติการติดต่อ/ความสัมพันธ์ (5) การสร้างและคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์แบบสนิทสนทใกล้ชิด

10. กิจกรรมการจัดการเศรษฐานะ นิยาม การวางแผนเศรษฐกิจของตนเอง การถอนเงิน การจ่ายบิลและการควบคุมเศรษฐกิจของตนเอง (วางแผนและติดตามให้มีเงินเพียงพอ) 
ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การถอนเงิน (2) การจ่ายบิล (3) การควบคุมเศรษฐกิจของตนเอง 

11. กิจกรรมการซื้อของ นิยาม การวางแผนซื้อของ (ได้แก่ การเขียนรายการซื้อของ) การไปร้านค้า การไปร้านสะดวกซื้อ การซื้อและนำของเข้าบ้าน การซื้อของออนไลน์เป็นทางเลือก

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) ซื้อของปริมาณน้อยๆ เป็นประจำวันที่ร้านใกล้บ้าน (2) วางแผนซื้อของ (3) ซื้อของปริมาณมากต่อสัปดาห์ (4) การซื้อของออนไลน์

12. กิจกรรมทำครัว นิยาม การวางแผน การนำของใช้มารวมกัน การเตรียม การทำครัว การจัดโต๊ะ การล้างจาน การเก็บทำให้เรียบร้อยหลังทานอาหาร

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การต้มน้ำ หรือ การเตรียมอาหาร (2) การเตรียมเนื้อสัตว์แช่เย็น (3) การล้างและจัดจานให้เรียบร้อย (4) การทำอาหารให้สุกร้อน 

13. กิจกรรมทำความสะอาด นิยาม การทำความสะอาดเบาๆ (ได้แก่ การจัดเตียง การจัดออก/วางให้เรียบร้อย การถู การปัดฝุ่น) และการทำความสะอาดหนัก (ได้แก่ การดูดฝุ่น/การล้างพื้น การล้างสุขาและห้องน้ำ การเปลี่ยนผ้าปู) รวมทั้งการแยกแยะความต้องการจุดทำความสะอาด การนำสิ่งของที่ไม่ใช้ออกไปและการคัดแยกขยะ 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การแยกแยะจุดทำความสะอาด (2) การคัดแยกขยะ (3) การทำความสะอาดเบาๆเป็นประจำวัน (4) การทำความสะอาดหนักทุกสัปดาห์ (5) การนำของออกไป 

14. กิจกรรมซักล้าง นิยาม การวางแผนซักล้าง (แยกแยะความจำเป็น การลงเวลาซักผ้า การจดจำเวลาได้) การซักผ้า การตากผ้า การพับผ้า หรือ การรีดผ้า/การใช้ของร้อนกลิ้งบนผ้า และการคัดแยกผ้าส่งร้านซักอบรีดผ้า การนำผ้าไป/การไปรับผ้าจากร้านซักอบรีด รวมถึง สถานที่ซักผ้า 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การซักล้าง (2) การวางแผนซักล้าง (3) การดูแลซักอบรีดผ้าให้สะอาด

15. กิจกรรมการเดินทาง นิยาม การไปถึงและจากมา ทั้งในและนอก การเดินทางยานพาหนะสาธารณะหรือส่วนตัว 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) การใช้รถยนต์ (2) การใช้รถเมล์/รถราง/รถตู้ (3) การใช้รถไฟ/เรือ/เครื่องบิน (4) การขี่จักรยาน/จักรยานติดเครื่องยนต์ (5) การขับรถยนต์/มอเตอร์ไซด์ 

16. กิจกรรมการจัดการวัน/เวลา นิยาม การวางแผน/โครงร่างหนึ่งวันให้แสดงการทำกิจกรรมประจำวันที่ต้องการหรือคาดหวังที่จะทำได้ 

ระดับการกระทำผ่านการสังเกตเหตุการณ์ที่มีความไวต่อวัสดุต่างๆ (1) ตื่นนอนทันเวลา (2) ทำสิ่่งต่างๆ ทันเวลา/กำลังทำตรงเวลา (3) เข้านอนทันเวลา (4) ประมาณการใช้เวลาได้ 




  





  




 

หมายเลขบันทึก: 673393เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท