ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

UKM : งานมหกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3 ตอนที่ 1


การเสวนาภาคีเครือข่ายการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย (UKM) ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ เป็นภาคีเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาให้เป็นสถาบันการศึกษาแห่งการเรียนรู้

 สวัสดีครับ พี่น้องชาว GotoKnow            จากผลการดำเนินงานการจัดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ที่ผ่านมานั้น UKM  Forum ก็นับว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ผมในฐานะคุณลิขิตมือใหม่ จึงใคร่นำเสนอเพื่อร่วมเรียนรู้ด้วยกันครับ วันนี้เป็นตอนที่ 1   

        การเสวนา UKMงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3

                              วันที่ 1 ธันวาคม 2549

            ณ ห้อง MR 215 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค 

ผู้ดำเนินรายการ : ดร.วิภาดา     เวทย์ประสิทธิ์   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยากร : 

          1. รศ.วีรพงศ์  ปรัชชญาสิทธิกุล    มหาวิทยาลัยมหิดล                  

          2. ผศ.วิบูลย์   วัฒนาธร              มหาวิทยาลัยนเรศวร   

          3. ผศ.พิศมัย   ศรีอำไพ              มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   

          4. รศ.รังสรรค์  เนียมสนิท      มหาวิทยาลัยขอนแก่น              

          5. อาจารย์พิชิต  เรืองแสงวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์             

          6. คุณชวดี     นพรัตน์          มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

          7. คุณเพ็ญศิริ   ชูส่งแสง      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์         

          8. คุณจุฬาพร  ประสังสิต     มหาวิทยาลัยมหิดล                         

          9. รศ.มาลินี        ธนารุณ     มหาวิทยาลัยนเรศวร                       

          10. รศ.นพ. จิตเจริญ      ไชยาคำ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ผู้ประสานงานหลัก : คุณเมตตา   ชุมอินทร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เริ่มเสวนา : เวลา  11. 00 น.

  1. ความเป็นมาของ UKM

           อาจารย์พิชิต      เรืองแสงวัฒนา   ผู้ประสานงานเครือข่าย UKM และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล่าถึงความเป็นมาของ UKM ในมหาวิทยาลัยว่า ซึ่งเดิมทีเดียวในแต่ละมหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการทำงาน การพัฒนาในหน่วยงานของตนเอง และมีรูปแบบและเทคนิค ที่หลากหลาย และแตกต่างกันไป ในเวลาต่อมา ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ (สคส.) ได้เล็งเห็นว่าในการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้ทำกิจกรรมที่คล้ายกันหลายๆ เรื่องน่าจะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ผู้บริหารให้ความสนใจในการพัฒนาค่อนข้างมาก  อีกทั้งมหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกันอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ ที่ท่าน ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช เคยเป็นคณบดี ท่านค่อนข้างจะรู้รายละเอียดดีเกี่ยวกับองค์กรที่นั่น จึงได้เชิญทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ได้มาประชุมหารือกันที่มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายกัน ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทราบข่าวจึงได้มาร่วมในการเป็นเครือข่าย โดยมีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในเรื่องของการจัดการความรู้ระหว่างสถาบันของสมาชิกเครือข่าย  และแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ และการดำเนินการจัดการความรู้ในสถาบันของตนเอง

          โดยธรรมชาติแล้วมหาวิทยาลัยก็จะมีการดำเนินการที่คล้ายๆ กันอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็จะได้นำเรื่องต่างๆ เหล่านั้นมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จึงได้มีการลงนามร่วมกันจัดตั้งเป็น เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย(UKM) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช เป็น Promoter ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย หาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมได้มีการทำ Work Shop เกี่ยวกับ KM ให้กับตัวแทนของแต่ละมหาวิทยาลัยๆ ละ 4 คน รวมทั้งหมด 50 คน ซึ่งในรุ่นแรกจัดที่บ้านผู้หว่าน จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ 24 - 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งเรียกว่ารุ่น ซึนามิ เพราะวันสุดท้ายของการทำ Work Shop ตรงกับปรากฏการณ์ซึนามิที่เกิดในภาคใต้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานของ UKM หลังจากนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกปี และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา (ช่วงงานลอยกระทง) UKM ได้จัดให้มีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จังหวัดสุโขทัย โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นเจ้าภาพ

       สำหรับในปีหน้าคาดว่าจะไปจัดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และในการประชุมแต่ละครั้ง ก็จะเปลี่ยนหัวข้อไปเรื่อยๆ  โดยจะได้เชิญตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆ ในแต่ละมหาวิทยาลัย (Community of Practice) มาเล่าเรื่องความสำเร็จสู่กันฟังถึง ปัจจุบัน UKM มีสมาชิกเพิ่ม 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมเป็น 7 สถาบัน และหากสถาบันใดสนใจเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายสามารถสมัครเข้ามาร่วมได้นะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

14 ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 67277เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ช่วงบ่ายตกวิทยากรไป 1 คนคะ คุณเพ็ญศิริ ชูส่งแสง ค่ะ...session เดียวกับ คุณชวดีค่ะ ขอบคุณคะ
อยากเห็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยกลับมาร่วมมือร่วมใจกันก่อร่างสร้างมหาวิทยาลัยของเราให้เป็นมหาวิทยาลัยของชุมชนเพื่อชุมชนจริง ๆ  เลย  ครับ

ขอบคุณมากครับพี่เมตตา

หากมีอะไรเพิ่มเติมช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

แต่ฉบับเต็มจะส่ง Mail มาให้พี่อีกครั้งครับ

อย่าลืมเป็นกำลังใจให้น้องๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท